กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Osimertinib (โอซิเมอร์ตินิบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ยาโอซิเมอร์ตินิบ (Osimertinib) จัดเป็นยารักษาโรคมะเร็งในกลุ่มรักษาแบบมุ่งเป้าชนิดยับยั้งการทำงานของเอ็มไซด์ไทโรซีน (Targeted therapy: Tyrosine kinase inhibitors) เริ่มมีใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายโรงพยาบาลในปัจจุบัน ในปัจจุบันการศึกษาเซลล์มะเร็งเพื่อจะหาตัวรับที่พบที่มีความจำเพาะกับเซลล์มะเร็งชนิดต่าง เพื่อจะพัฒนาหาตัวยาที่มีความจำเพาะในการยับยั้งตัวรับนั้น เพิ่มประสิทธิภาพของยาในการรักษาโรคมะเร็ง และลดผลข้างเคียงจากการักษา

Epidermal growth factor receptor (EGFR) เป็นหนึ่งในตัวรับที่พบได้ว่ามีการกลายพันธุ์ได้เยอะในคนไข้มะเร็งปอด ซึ่งจะเป็นตัวการหลักที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่เร็วผิดปรกติและ ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ยาโอซิเมอร์ตินิบถูกออกแบบมาให้จับกับ EGFR ซึ่งจะนำไปสู่การยับยั้งการแบ่งเซลล์ และ ตายของเซลล์มะเร็ง ยาโอซิเมอร์ตินิบมีข้อดีอย่างหนึ่งที่สามารถยับยั้งการกลายพันธุ์ชนิด T790M ของ EGFR ที่จะดื้อกับยาเออร์โลทินิบ และ ยาเจฟิทินิบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยาโอซิเมอร์ตินิบมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

  • มะเร็งปอดชนิดขนาดเซลล์เล็ก (Non-small cell lung cancer) ระยะลุกลาม ที่มีการย้อมติดการกลายพันธุ์ชนิด T790M ของ Epidermal growth factor receptor (EGFR)  สูตรสองหลังจากการรักษาล้มเหลวด้วยการรักษาโดยยาที่ยับยั้งการทำงานของเอ็มไซด์ไทโรซีนของ EGFR ในบางรายอาจใช้เป็นสูตรแรกหลักจากการตรวจพบการย้อมติดการกลายพันธุ์ชนิด T790M ของ EGFR

ยาโอซิเมอร์ตินิบ  มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาโอซิเมอร์ตินิบยับยั้งการส่งสัญญานของโปรตีนในเซลล์มะเร็งผ่านการยับยั้งการทำงานของเอ็มไซด์ไทโรซีนไคเนส โดยสามารถออกฤทธิ์ยังยั้งทั้งชนิดการกลายพันธุ์ชนิด T790M และธรรมดาของ EGFR  ลงสู่นิวเคียส มีผลให้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

ยาโอซิเมอร์ตินิบ  มีสูตรการรักษาอย่างไร?

ข้อบ่งใช้

  • มะเร็งปอดชนิดขนาดเซลล์เล็ก (Non-small cell lung cancer) ระยะลุกลาม ที่มีการย้อมติดการกลายพันธุ์ชนิด T790M ของ Epidermal growth factor receptor รับประทานครั้งละ 80 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง รับประทานตอนก่อนหรือหลังอาหารก็ได้

สิ่งที่ควรแจ้งแพทย์ พยาบาลและเภสัชกรเมื่อได้รับยาโอซิเมอร์ตินิบ

เมื่อมีการสั่งยาโอซิเมอร์ตินิบ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้

  • ประวัติแพ้ยา และ อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น
  • โรคประจำตัว และ ยา อาหารเสริมที่กินเป็นประจำ ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้ยาออกฤทธิ์มากขึ้น หรือ ลดลง
  • สุภาพสตรีต้องแจ้งบุคลลากรทางการแพทย์ทุกครั้งว่ากำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ยาอาจจะมีผลต่อทารกในครรภ์ หรือ ขับออกผ่านน้ำนม ทำให้มีผลต่อทารกได้

ทำอย่างไรเมื่อลืมกินยาโอซิเมอร์ตินิบ

หากลืมรับประทานยา หากนึกได้ก่อน 12 ชั่วโมงก่อนรับประทานยาครั้งถัดไป สามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากเลย 12 ชั่วโมงก่อนรับประทานยาครั้งถัดไป ไม่ต้องรับประทานยาในมื้อนั้น ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาดปกติโดยห้ามเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

ผลข้างเคียงของยาโอซิเมอร์ตินิบ ที่พบบ่อย?

สำหรับผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยคือ ผื่นคล้ายสิว แนะนำให้ทานครีม โลชั่น ในความชุ่มชื้น ที่ไม่มีน้ำหอม หรือ ส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ และ ทาครีมกันแดด SPF มากกว่า 15 ไม่ควรออกแดดจัดเป็นระยะเวลานาน

ผลข้างเคียงของยาโอซิเมอร์ตินิบ ที่พบบ่อย?

  • อาการแพ้ยา เช่น หากรับประทานแล้วมีอาการ ผื่นคัน แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ให้รีบหยุดยาแล้วรีบกลับมาพบแพทย์
  • หากต้องการรับประทานยา หรือ อาหารเสริม ระหว่างรับประทานยาโอซิเมอร์ตินิบ ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบทุกครั้ง 

ยาโอซิเมอร์ตินิบ  มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาโอซิเมอร์ตินิบ มีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นได้มาก จึงต้องระวังอย่างมากในการรับประทานยาโอซิเมอร์ตินิบ ซึ่งจะทำให้ขนาดยาของยาโอซิเมอร์ตินิบ ในร่างการเพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้มากขึ้น หรือ ทำให้ขนาดยาโอซิเมอร์ตินิบ ในร่างการลดลง จะทำให้ได้ผลการรักษาที่ลดลง  ยาที่อันตรายเช่น กลุ่มยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย หรือ รา กลุ่มยาปรับการเต้นของหัวใจ ยาต้านไวรัส AIDS กลุ่มยาป้องกันหลอดเลือดอุดตัน หรือ กลุ่มยากันชัก เป็นต้น จึงแนะนำให้แจ้งรายการยา หรือ อาหารเสริม ที่กินเป็นประจำต่อแพทย์ พยาบาล หรือ เภสัชกรให้ทราบทุกครั้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การเก็บรักษายาโอซิเมอร์ตินิบ

การเก็บรักษายาโอซิเมอร์ตินิบ  คือ เก็บยาในที่แห้ง ไม่มีแสงแดดส่องถึง และในอุณหภูมิไม่ควรเกิน 25 องศาเซลเซียส และต้องเก็บยาให้มิดชิดพ้นมือเด็ก

ชื่อการค้า ขนาด รูปแบบ บริษัทผู้ผลิต หรือ ตัวแทนจำหน่ายยาโอซิเมอร์ตินิบ ในประเทศไทย

ยาโอซิเมอร์ตินิบ มีชื่อทางการค้าอื่นๆและบริษัทผู้ผลิตขายในประเทศไทย ตลอดจนขนาด และรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
medlineplus, Osimertinib (https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a616005.html), 15 July 2018.
University of California, San Francisco, Osimertinib in Treating Participants With Stage I-IIIA EGFR-mutant Non-small Cell Lung Cancer Before Surgery (https://www.clinicaltrials.gov/ct2/show/NCT03433469), 28 August 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)