การติดเชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial infections)

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การติดเชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial infections)

ความหมายการติดเชื้อในโรงพยาบาล

เป็นการติดเชื้อเนื่องจากผู้ป่วยได้รับเชื้อจุลชีพขณะเข้ารักษาในโรงพยาบาล เชื้อจุลชีพนี้อาจเป็นเชื้อที่มีอยู่ในตัวผู้ป่วยเอง หรืออาจเป็นเชื้อจากภายนอกร่างกายผู้ป่วย โดยขณะที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลผู้ป่วยไม่มีอาการของการติดเชื้อ

สาเหตุการติดเชื้อในโรงพยาบาล

เกิดจาก 3 องค์ประกอบ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. เชื้อโรค ผู้ป่วยหรือบุคลากร และสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล จากเชื้อโรคซึ่งมักจะเป็นเชื้อที่มีการปรับตัวและดื้อต่อยาปฏิชีวนะ เชื่อส่วนใหญ่จะอยู่ในร่างกาย การติดเชื้อจะเกิดขึ้นง่ายในผู้ป่วยที่เป็นเด็กและผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ
  2. ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจการรักษาต่าง ๆ เช่น การใส่ท่อระบายหรือสายสวน การปลูกถ่ายอวัยวะ การได้รับเคมีบำบัด ยาด้านไทรอยด์ ฮอร์โมนและรังสีรักษา อาจเกิดจากการสัมผัสบริเวณผิวหนังที่มีรอยโรคหรือบาดแผลที่มีเลือดหรือน้ำเหลืองที่มีเชื้อโรค
  3. การสัมผัสโดยตรงกับเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ หรือปัสสาวะของผู้ป่วย จากผู้ป่วยไอ จาม พูดคุย หรือหัวเราะ อาจเกิดจากการถูกเข็มตำโดยที่เข็มปนเปื้อนเชื้อโรค (Hepatitis B virus; HBV, Human immunodeficiency virus; HIV)

พยาธิสรีรภาพ

เมื่อเชื้อโรคสัมผัสกับผิวหนังหรือเยื่อบุในร่างกายในภาวะปกติร่างกายจะสร้างอิมมูน แต่ในภาวะผิดปกติ เช่น อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง มีภาวะขาดสารน้ำสารอาหาร มีภาวะบวมหรือบาดเจ็บ เป็นต้น จะทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอิมมูนได้จึงทำให้เกิดการติดเชื้อและจะส่งผลให้ไฮโปทาลามัสปรับอุณหภูมิให้สูงขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างอิมมูนและเพิ่มการจับกินเชื้อโรค เพิ่มการสร้างแอนติบอดีและเพิ่มการสร้างอินเตอเฟอรอน

ในภาวะปกติ

ร่างกายจะสร้างอิมมูนโดยเกิดปฏิกิริยาการอักเสบ (Inflammation) เช่น ปวด บวม แดง ร้อน เป็นต้น และมีการรวมตัวของเม็ดเลือดขาวในบริเวณนั้นทำให้เกิดหนอง มี C-reactive protein (CRP) เพิ่มขึ้น แต่อัลบูมิน (Albumin) จะลดลง

ในภาวะผิดปกติ

ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างอิมมูนได้เกิดการติดเชื้อขึ้น จะพบอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (Erythrocyte sedimentation: FSR) ใน 1 ชั่วโมงสูงกว่าปกติ (ค่าปกติ ESR น้อยกว่า 20 มิลลิเมตร/ชั่วโมง) หากมีการติดเชื้อที่ผิวหนังอาจพบผื่นซึ่งมีลักษณะเฉพาะในแต่ละโรค การติดเชื้อที่พบบ่อยในโรงพยาบาล ได้แก่

อาการของการติดเชื้อในโรงพยาบาล

อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว มีไข้ มีอาการเฉพาะที่และอาการตามระบบต่าง ๆ เช่น ผื่นคัน คอแดง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ปัสสาวะบ่อย ปวดศีรษะ เป็นต้น

การวินิจฉัย

ตรวจร่างกายจะพบรอยแดง บวม และร้อน บริเวณที่มีการอักเสบ มีอาการปวดหรือกดเจ็บ มีแผลมีหนอง มีผื่นตามร่างกาย มีไข้ อาจมีอาการหนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมน้ำเหลืองโต ตรวจดูจำนวนเม็ดเลือดขาว White blood count; WBC, ตรวจ Erythrocyte sedimentation rate (ESR) พบว่ามีระดับสูงกว่าปกติทำ Hemoculture, Midstream urine culture (MUC) จะพบเชื้อ

การรักษาการติดเชื้อในโรงพยาบาล

ให้ยาปฏิชีวนะ รักษาตามอาการและแก้ไขภาวะขาดสารอาหารและน้ำ

การพยาบาล

ป้องกันการติดเชื้อ ป้องกันภาวะทุพโภชนาการ ลดไข้จากการติดเชื้อ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการติดเชื้อ และการแพร่กระจายเชื้อ

 


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prevention of hospital-acquired infections: A practical guide. 2nd edition. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/csr/resources/publications/drugresist/WHO_CDS_CSR_EPH_2002_12/en/)
Healthcare-associated infections | HAI. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/hai/index.html)
Guidelines for prevention of hospital acquired infections. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3963198/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)