กระบวนการคลอดปกติ

เผยแพร่ครั้งแรก 17 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
กระบวนการคลอดปกติ

หลังจากเดือนที่รอคอยมาถึง แน่นอนว่าวันครบกำหนดคลอดเริ่มใกล้เข้ามาเรื่อยๆ ในบทความนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่คุณจะต้องพบเจอตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการคลอดไปจนถึงวันแรกและสัปดาห์แรกของลูกน้อยที่น่ารักของคุณ

สัญญาณของการคลอด

ไม่มีใครสามารถคาดการณ์ได้อย่างแน่นอนว่าการคลอดจะเกิดขึ้นเมื่อ แต่แพทย์จะคำนวณวันครบกำหนดคลอดให้คุณไว้เพื่อเป็นวันอ้างอิงเท่านั้น โดยปกติแล้ววันคลอดจริงสามารถเกิดขึ้นก่อนวันที่คำนวณไว้ได้ถึง 3 สัปดาห์ หรือเกิดหลังวันที่คำนวณไว้ 2 สัปดาห์ ต่อไปนี้คือสัญญาณที่เตือนให้รู้ว่าการคลอดใกล้เข้ามาแล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ท้องลดต่ำลง: เกิดขึ้นเนื่องจากศีรษะของทารกจะเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ท้องของคุณแม่จะดูลดต่ำลง และจะรู้สึกอึดอัดน้อยลง หายใจสะดวกขึ้น เพราะว่าตัวทารกจะไม่เบียดปอดของคุณแล้ว แต่คุณจะรู้สึกต้องการปัสสาวะมากขึ้น เพราะว่าทารกจะไปเบียดที่กระเพาะปัสสาวะแทน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงประมาณ 2-3 สัปดาห์ จนถึง ไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอด
  • มีมูกไหลมาจากช่องคลอด: ปกติแล้วปากมดลูกจะมีมูกอุดปิดที่ปากมดลูกเพื่อป้องกันการติดเชื้อเข้าไปในมดลูก เมื่อใกล้คลอด ปากมดลูกจะเปิด และมูกนี้จะหลุดออกมา โดยจะไหลออกมาทางช่องคลอดมีลักษณะเป็นสีน้ำตาล หรือมีเลือดปน เหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นในวันก่อนการคลอดหรือในวันที่มีการคลอด
  • ท้องเสีย: อุจจาระเหลวบ่อยครั้ง อาจหมายถึงการคลอดใกล้เข้ามาแล้ว
  • ถุงน้ำคร่ำแตก: จะพบน้ำเดิน หรือน้ำคร่ำพุ่งไหลพรวดออกมาทางช่องคลอด หรือค่อยๆ ไหลออกมาทางช่องคลอดก็ได้ ซึ่งหมายความว่าถุงน้ำที่เต็มไปด้วยน้ำคร่ำที่ล้อมรอบและคอยปกป้องตัวทารกนั้นฉีกขาดแล้ว อาการน้ำเดินจะเกิดขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงก่อนคลอดหรือเกิดขึ้นระหว่างการคลอดก็ได้ ส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงจะคลอดภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการน้ำเดิน ถ้าการคลอดไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในช่วงเวลานี้ แพทย์อาจเหนี่ยวนำให้เกิดการคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
  • เจ็บท้อง มดลูกหดตัว: ในช่วงใกล้คลอด มดลูกจะหดตัวถี่เป็นจังหวะ แต่ละครั้งจะห่างกันน้อยกว่า 10 นาที นั่นหมายความว่าการคลอดได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ระยะของการคลอด

โดยทั่วไปสามารถแบ่งระยะของการคลอดได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้:

ระยะที่ 1

ในระยะที่ 1 ของการคลอด ยังแบ่งเป็นระยะย่อยๆ ได้อีก 3 ระยะย่อยด้วยกัน คือ latent, active และ transition

  • ระยะย่อยแรกคือ latent phase ซึ่งจะกินระยะเวลายาวนานที่สุดและมดลูกจะหดตัวไม่รุนแรง ในระยะนี้มดลูกจะมีการหดถัวเพื่อช่วยให้ปากมดลูกเปิดออกสำหรับให้ทารกคลอดออกมาทางช่องคลอดได้ มารดาจะรู้สึกไม่สบายตัวเพียงเล็กน้อย ในระยะนี้ปากมดลูกจะเริ่มเปิดออกและมีการบางตัวของปากดมลูก หากการหดตัวเป็นจังหวะอย่างต่อเนื่อง คุณจะต้องไปพบแพทย์เพื่อนอนโรงพยาบาล และแพทย์จะตรวจอุ้งเชิงกรานบ่อยครั้งเพื่อวัดว่าปากมดลูกขยายตัวมากแค่ไหนแล้ว
  • ระยะย่อยที่สองคือ active phase ช่วงนี้ปากมดลูกจะเปิดเร็วมากขึ้นกว่าระยะ latent phase คุณอาจรู้สึกปวดมากขึ้น หรือ รู้สึกถึงแรงกดที่หลังหรือช่องท้องเมื่อมีการหดตัวแต่ละครั้ง คุณจะรู้สึกเหมือนมีอะไรดันพร้อมจะหลุดออกมาเต็มที่ แต่แพทย์จะขอให้คุณรอจนกว่าปากมดลูกจะเปิดเต็มที่ก่อน
  • ระยะย่อยที่สามคือ transition phase ช่วงนี้ปากมดลูกจะเปิดเต็มที่ อยู่ที่ 10 เซนติเมตร มดลูกจะหดตัวรุนแรง มีอาการปวดและบ่อยครั้งมาก ซึ่งจะหดตัวทุกๆ 3 ชั่วโมง จนถึง 4 นาที โดยจะหดตัวครั้งละ 60 – 90 วินาที

ระยะที่ 2

ระยะที่สองจะเริ่มนับจากปากมดลูกเปิดตัวเต็มที่ เมื่อถึงจุดนี้ แพทย์จะแจ้งคุณว่าพร้อมแล้วที่จะให้เบ่ง  การเบ่งพร้อมกับแรงการหดตัวของมดลูกจะช่วยให้ทารกคลอดผ่านช่องคลอดได้ โดยกระหม่อมของศีรษะทารกจะเคลื่อนผ่านช่องคลอดที่แคบ

เมื่อศีรษะโผล่พ้นช่องคลอดออกมาแล้ว แพทย์จะดูดเอาน้ำคร่ำ เลือด และมูกต่างๆ ที่อยู่ในจมูกและปากของทารกออก คุณยังต้องเบ่งต่อเพื่อช่วยในการคลอดส่วนหัวไหล่และส่วนลำตัวของทารก

เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว แพทย์จะทำการหนีบและตัดสายสะดือของทารก (หรืออาจจะเป็นฝ่ายชาย ถ้าร้องขอ และโรงพยาบาลอนุญาตให้ทำได้)

ระยะที่ 3

ภายหลังจากคลอดทารกออกมาแล้ว คุณจะเข้าสู่ระยะสุดท้ายของการคลอด ในระยะนี้คุณจะคลอดรกออกมา ซึ่งเป็นอวัยวะในมดลูกที่ให้เป็นช่องทางให้สารอาหารกับทารกของคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โปรดจำไว้ว่าผู้หญิงแต่ละราย และการคลอดแต่ละครั้งแตกต่างกัน ระยะเวลาของระยะต่างๆ ของการคลอดจะแตกต่างกัน ถ้าเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก โดยทั่วไปกระบวนการคลอดจะใช้เวลาประมาณ 12-14 ชั่วโมง แต่ในการตั้งครรภ์ครั้งถัดๆ ไป กระบวนการคลอดจะใช้เวลาสั้นลง

การรักษาอาการปวด

ไม่เพียงแต่ระยะเวลาในการคลอดที่แตกต่างกันเท่านั้น แต่อาการปวดที่มารดาจะรู้สึกขณะคลอดก็แตกต่างกันด้วยเช่นกัน

ท่าทางและขนาดของทารก และความแรงของการบีบตัวของมดลูกล้วนส่งผลต่ออาการปวด อย่างไรก็ตามหญิงตั้งครรภ์บางรายจะจัดการกับอาการปวดที่เกิดขึ้นโดยการใช้เทคนิคฝึกลมหายใจและเทคนิคการผ่อนคลายซึ่งได้เรียนและเตรียมพร้อมมาตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์แล้ว ส่วนหญิงตั้งครรภ์รายอื่นจะต้องใช้วิธีอื่นในการควบคุมอาการปวดที่เกิดขึ้น

วิธีบรรเทาอาการปวดที่ใช้บ่อยมีหลายวิธี ได้แก่:

  • การใช้ยา: มียาหลายชนิดที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวดขณะคลอดลูกได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยาแก้ปวดที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่และลูกน้อย ก็สามารถมีผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกับยาอื่นๆ เช่นกัน
  • ปวดบริเวณตำแหน่งที่ตัดฝีเย็บ หรือปวดแผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บที่เกิดจากการคลอด: การตัดนี้คือการตัดบริเวณฝีเย็บเพื่อขยายปากช่องคลอด (เป็นบริเวณที่อยู่ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก) เพื่อช่วยให้ทารกคลอดง่ายขึ้นและป้องกันการฉีดขาดที่บริเวณนั้น หากมีการตัดฝีเย็บหรือบริเวณนี้เกิดการฉีดขาดระหว่างการคลอด เมื่อเย็บแผลแล้วอาจทำให้เดินลำบากหรือนั่งลำบาก นอกจากนี้คุณจะมีอาการปวดเมื่อไอหรือจามระหว่างที่รอแผลหายดีด้วย
  • เจ็บเต้านม: เต้านมคุณจะบวม แข็ง และมีอาการปวดเป็นเวลาหลายวัน เนื่องจากกำลังมีการผลิตน้ำนม และหัวนมก็อาจมีอาการเจ็บด้วย
  • ริดสีดวงทวารหนัก: ริดสีดวงทวารหนัก (การบวมของเส้นเลือดดำที่บริเวณทวารหนัก) เป็นอาการที่พบได้บ่อยหลังตั้งครรภ์และคลอดลูก
  • ท้องผูก: ลำไส้จะเคลื่อนไหวลำบากเป็นเวลาไม่กี่วันหลังจากคลอดลูกแล้ว ริดสีดวงทวารหนัก การตัดฝีเย็บ และกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ สามารถทำให้มีอาการปวดขณะลำไส้เคลื่อนไหวได้
  • ร้อนๆ หนาวๆ: ร่างกายจะมีการปรับตัวกับระดับฮอร์โมนและการไหลเวียนเลือดที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้มีอาการร้อนๆ หนาวๆ คือ มีเหงื่อออก 1 นาที จากนั้นก็จะรู้สึกหนาวจนต้องห่มผ้าห่ม
  • กลั้นปัสสาวะ, อุจจาระไม่อยู่: กล้ามเนื้อที่ยืดออกระหว่างการคลอด โดยเฉพาะภายหลังการคลอดที่กินระยะเวลานาน อาจทำให้ปัสสาวะเล็ดขณะหัวเราะ หรือจามได้ หรือทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวของลำไส้ลำบาก ส่งผลให้กลั้นอุจจาระไม่อยู่ได้
  • ปวดหลังคลอด: เมื่อคลอดลูกแล้ว มดลูกจะยังหดตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2-3 วัน ก่อนที่มดลูกจะกลับไปมีขนาดเท่ากับตอนก่อนตั้งครรภ์ คุณอาจรู้สึกถึงอาการปวดนี้ได้มากกว่าปกติขณะที่ทารกดูดนม
  • น้ำคาวปลา: ภายหลังการคลอดคุณจะพบว่าร่างกายจะขับน้ำคาวปลาออกทางช่องคลอด เป็นเลือดในปริมาณมากกว่าประจำเดือนปกติ เมื่อเวลาผ่านไป สีจะจางลงเป็นสีขาวหรือสีเหลือง และจะหยุดไหลภายในระยะเวลา 2 เดือน
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง: ภายหลังการคลอดอาจรู้สึกอารมณ์แปรปรวน, รู้สึกเศร้า, หรือร้องไห้ ซึ่งจะมีอาการเกิดขึ้นเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์หลังการคลอด อาการนี้จะพบได้มากถึง 80% ของคุณแม่มือใหม่ และอาจสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย (รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และ ความอ่อนเพลีย) และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์เนื่องจากกังวลเรื่องการเลี้ยงลูก

ยาบรรเทาอาการปวด ยังสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ยาแก้ปวด และยาระงับความรู้สึก

ยาแก้ปวดจะบรรเทาอาการปวดโดยไม่ทำให้สูญเสียความรู้สึกหรือสูญเสียการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อไป ระหว่างการคลอด แพทย์อาจให้ยาเข้าสู่ร่างกายโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือให้เฉพาะที่โดยการฉีดเข้าบริเวณหลังส่วนล่างเพื่อทำให้ส่วนล่างของร่างกายรู้สึกชา การฉีดยาเข้าน้ำไขสันหลังจะบรรเทาอาการปวดได้อย่างรวดเร็ว เราเรียกว่า spinal block ส่วนอีกวิธีเรียกว่า epidural block จะเป็นการให้ยาอย่างต่อเนื่องเข้าที่บริเวณรอบๆ ไขสันหลังและเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งจะมีการใส่เข็มเข้าไปที่บริเวณช่องเหนือไขสันหลัง (Epidural block) สำหรับทั้งสองวิธีนี้จะมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ ความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะทำให้หัวใจทารกเต้นช้าลงและปวดศีรษะได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สำหรับยาระงับความรู้สึก ถ้าเป็นการให้ยานี้ คุณจะสูญเสียการรับความรู้สึกทุกอย่าง รวมถึงอาการปวดด้วย โดยจะยาจะยับยั้งการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อด้วย ซึ่งจะทำให้คุณสลบ ถ้าคุณต้องทำการผ่าตัดคลอดคุณจะได้รับยาระงับความรู้สึกชนิดนี้ร่วมกับยาฉีดเฉพาะที่ไปพร้อมกัน การพิจารณาเลือกว่าคุณควรได้รับยาระงับความรู้สึกชนิดใดจะขึ้นกับสุขภาพของคุณและทารก และสภาวะทางการแพทย์ที่มีในช่วงระยะเวลาของการคลอด

·    วิธีไม่ใช้ยา: สำหรับการบรรเทาอาการปวดโดยการไม่ใช้ยา ได้แก่ การฝังเข็ม, การสะกดจิต, การใช้เทคนิคผ่อนคลาย, การเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ ระหว่างการคลอด แม้ว่าคุณจะเลือกใช้วิธีบรรเทาปวดโดยการไม่ใช้ยาแล้ว แต่คุณก็ยังสามารถขอยาแก้ปวดจากแพทย์ได้ตลอดเวลาระหว่างการคลอด

ภายหลังการคลอดแล้วจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ไม่เพียงแต่การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณระหว่างการตั้งครรภ์เท่านั้น เมื่อคลอดลูกและเข้าสู่ระยะฟื้นตัวแล้ว ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เกิดขึ้นกับร่างกายคุณเช่นกัน

การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นภายหลังการคลอด มีดังนี้:

หากปัญหาเรื่องอารมณ์ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ให้แจ้งให้แพทย์ทราบ เพราะอาจถือว่าเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอดได้ ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงกว่าปกติ โดยพบได้ประมาณ 10-25% ของคุณแม่มือใหม่

https://www.webmd.com/baby/guide/normal-labor-and-delivery-process#1


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Types of Delivery for Pregnancy. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/9675-pregnancy-types-of-delivery)
Normal Birth. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3108427/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)