ภาวะกล้ามเนื้อหดรัด เกิดจากการแข็งตัวหรือการบีบรัดตัวภายในเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกันของร่างกาย บางคนอาจรู้สึกถึงการหดรัดภายในเอ็นหุ้มข้อ (Joint Capsules) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเชื่อมต่อที่มีความหนาแน่นและมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของข้อต่อ รวมถึงเชื่อมกระดูกสองท่อนเข้าด้วยกัน
ภาวะกล้ามเนื้อหดรัด จะทำให้การเคลื่อนไหวถูกจำกัดลง เช่น เคลื่อนไหวมือลำบาก ขายืด หรือนิ้วตึง ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายส่วนของร่างกาย ได้แก่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อรัดตัวและสั้นขึ้น
- ข้อต่อ หากเกิดการหดรัดที่เอ็นหุ้มข้อจะทำให้ขอบเขตการเคลื่อนไหวของอวัยวะส่วนนั้นๆ น้อยลง
- ผิวหนัง อาจเกิดจากการบาดเจ็บ บาดแผล หรือตำแหน่งที่เคยได้รับการผ่าตัดในอดีต ส่งผลให้เกิดจำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนนั้นๆ ได้เช่นกัน
อาการของภาวะกล้ามเนื้อหดรัด
อาการหลักๆ จากภาวะกล้ามเนื้อหดรัด คือความสามารถในการขยับบริเวณที่เกิดภาวะลดน้อยลง ซึ่งอาจทำให้เกิดการเจ็บปวดร่วมอยู่ด้วย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและต้นตอของปัญหา
สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหดรัด
สาเหตุทั่วไปของภาวะกล้ามเนื้อหดรัด คือการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้มากเพราะอาการปวด รวมถึงผู้ที่นอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน และการเกิดบาดแผล โดยเฉพาะแผลไฟไหม้ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหดรัด ได้แก่
- โรคกล้ามเนื้อเสื่อม (Muscular Dystrophy) ผู้ป่วยมักจะประสบอาการกล้ามเนื้อรัดตัวเพราะกล้ามเนื้อของร่างกายมีความเสื่อมสภาพจนลดความสามารถในการขยับร่างกายลง
- โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) ทำให้กล้ามเนื้อรัดตัวและขอบเขตการเคลื่อนไหวลดน้อยลง
- โรคระบบประสาทส่วนกลาง เช่น โปลิโอ (Polio) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis (MS)) หรือโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease)
- โรคอักเสบต่าง ๆ
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์?
หากความสามารถในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายเริ่มลดน้อยลงอย่างกะทันหัน ให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะโรคบางโรค เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ มักเิดจากภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
กาวินิจฉัยและรักษาอาการกล้ามเนื้อหดรัด
แพทย์จะตรวจร่างกายและสอบถามประวัติสุขภาพ เพื่อให้ทราบถึงตำแหน่งที่มีปัญหา ความรุนแรงของอาการ ขอบเขตการเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ยังเหลือ และหลังจากนั้นแพทย์อาจพิจารณาให้มีการเอกซเรย์หรือตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ตามความจำเป็นต่อไป
ส่วนตัวเลือกในการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดรัด มีดังต่อไปนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- กายภาพบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด ทั้ง 2 วิธีนี้เป็นการรักษาภาวะกล้ามเนื้อหดรัดที่นิยมดำเนินการกันมากที่สุด เพราะช่วยเพิ่มขอบเขตการเคลื่อนไหวและเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อได้ แต่การเข้ารับบำบัดทั้ง 2 วิธีนี้จะต้องปฏิบัติร่วมกับคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัดจึงจะเห็นผลดีที่สุด
- อุปกรณ์ช่วยเหลือ ผู้ป่วยบางรายอาจต้องสวมเฝือกหรือใช้อุปกรณ์ดามในการยืดเนื้อเยื่อใกล้เคียงบริเวณที่เป็นปัญหา หรืออาจจะใช้เครื่องช่วยการเคลื่อนไหวข้อเข่าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Passive Motion (CPM)) เพื่อทำให้ส่วนที่มีปัญหาของร่างกายขยับอยู่ตลอดเวลาก็ได้
- การใช้ยา แพทย์อาจจ่ายยาลดการอักเสบและความเจ็บปวดให้ ในกรณีผู้ป่วยมีอาการจากโรคสมองพิการอาจเป็นการใช้สารพิษโบทูลินัม (Botulinum Toxin (Botox)) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อลดความตึงและลดการกระตุกแทน
- การผ่าตัด อาจจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อยืดกล้ามเนื้อหรือซ่อมแซมเอ็นยึด เอ็นกล้ามเนื้อ หรือกระดูกที่เสียหายจากอุบัติเหตุ เพื่อช่วยคงขอบเขตการเคลื่อนไหวในระยะยาว
หากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาช้าหรือดำเนินการรักษานานเกินไป จะทำให้การแก้ไขขอบเขตการเคลื่อนไหวเป็นเรื่องยากขึ้นหรืออาจจะเป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งจะส่งผลต่อการใช้ชีวิตและทำงานอย่างเห็นได้ชัด
การป้องกันภาวะกล้ามเนื้อหดรัด
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และใช้ชีวิตอย่างกระตือรือร้น ถือเป็นการป้องกันการแข็งตึงของกล้ามเนื้อและข้อต่อที่ดีมาก แต่ทุกครั้งที่เล่นกีฬาหรือยกของหนัก ควรใช้ความระมัดระวังให้มากเพื่อป้องกันการบาดเจ็บต่างๆ ที่ไม่คาดคิด
หากคุณได้รับบาดเจ็บให้รีบเข้าพบแพทย์อย่างเร่งด่วน และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการหดรัดของกล้ามเนื้อ โดยใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือ การทำกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัดเพื่อให้มีการเคลื่อนไหวข้อต่ออย่างต่อเนื่อง จะช่วยป้องกันการแข็งตึงของร่างกายส่วนที่บาดเจ็บได้
ที่มาของข้อมูล
Chitra Bahdi, muscle contracture (https://www.healthline.com/symptom/muscle-contracture), 20 มีนาคม 2018
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ