สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เมื่อคุณกำลังป่วยเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือติดเชื้อ ก็จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้นได้ อีกทั้งอาการเจ็บป่วยยังสามารถเพิ่มความเครียดให้กับร่างกายของคุณอีก ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนออกมาเพื่อต่อสู้กับความเครียด และความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น
เมื่อระดับฮอร์โมนสูงขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้นตามไปด้วย คุณจึงควรวางแผนการจัดการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวานในขณะที่คุณเจ็บป่วย ขั้นตอนแรกก็คือการพูดคุยกับทีมแพทย์ที่ดูแลคุณ และทำการจดบันทึกไว้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ความถี่ในการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด
- ควรตรวจเช็คระดับคีโตนในเลือดหรือในปัสสาวะหรือไม่
- ควรเปลี่ยนขนาดยารักษาโรคเบาหวานหรือไม่
- อะไรที่ควรรับประทานหรือดื่มในช่วงนี้
- เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์
วิธีการใช้ยาให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวันของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
หากคุณใช้ยาฉีดอินซูลิน
- ใช้ยาฉีดอินซูลินโดยไม่ต้องหยุดยา แม้ว่าคุณจะมีอาการป่วย หรือคลื่นไส้ อาเจียน ก็ตาม
- สอบถามแพทย์ผู้ดูแลรักษาถึงวิธีในการปรับขนาดยาอินซูลินโดยการอ้างอิงจากระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดที่ตรวจวัดได้
หากคุณไม่ได้ใช้ยาฉีดอินซูลิน
- รับประทานยารักษาโรคเบาหวานโดยไม่ต้องหยุดยา แม้ว่าคุณจะมีอาการป่วย หรือคลื่นไส้ อาเจียน ก็ตาม
ผู้ที่มีอาการป่วยบางครั้งจะรู้สึกไม่อยากอาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดต่ำได้ การรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น น้ำหวาน ขนม ของว่าง จะช่วยป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
ถ้าคุณกำลังป่วย ทีมแพทย์ที่ดูแลอาจแนะนำให้คุณปฏิบัติดังนี้:
- ตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง และให้จดบันทึกผลการตรวจทุกครั้ง ซึ่งคุณสามารถนำผลระดับน้ำตาลในเลือดนี้ให้ทีมแพทย์ที่รักษาคุณดูได้
- รับประทานยารักษาโรคเบาหวานโดยไม่ต้องหยุดยา แม้ว่าจะไม่สามารถรับประทานอาหารได้ก็ตาม
- ดื่มน้ำเปล่า หรือน้ำที่ไม่มีพลังงาน หรือน้ำที่ปราศจากคาเฟอีน อย่างน้อย 1 แก้ว หรือประมาณ 240 มิลลิลิตร ทุกๆ ชั่วโมงในขณะที่คุณตื่น
- ถ้าคุณไม่สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แนะนำให้ลองรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มต่อไปนี้เพื่อป้องกันภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
แพทย์อาจแนะนำให้คุณโทรหาแพทย์/ไปพบแพทย์ทันที ถ้า
- ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงกว่า 240 แม้ว่าคุณจะรับประทานยารักษาโรคเบาหวานอยู่แล้วก็ตาม
- ระดับคีโตนในปัสสาวะหรือในเลือดของคุณสูงกว่าปกติ
- อาเจียนมากกว่า 1 ครั้ง
- ท้องเสียมากกว่า 6 ชั่วโมง
- หายใจผิดปกติ
- มีไข้สูง
- ไม่สามารถใช้ความคิดได้เหมือนปกติ หรือรู้สึกง่วงมากกว่าปกติ
คุณควรสอบถามแพทย์เพิ่มเติม หากคุณยังมีข้อสังสัยเกี่ยวกับการดูแลตนเองอยู่
วิธีดูแลตนเองเมื่ออยู่ที่โรงเรียน หรือที่ทำงาน
วิธีในการดูแลตนเองเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เมื่อคุณอยู่ที่โรงเรียน หรือที่ทำงาน
- ปฏิบัติตามแผนรับประทานอาหารที่กำหนด
- รับประทานยา หรือฉีดยา และตรวจวัดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดตามที่แพทย์สั่ง
- แจ้งให้ครู เพื่อน หรือเพื่อนร่วมงานที่สนิทด้วยทราบว่าคุณกำลังเป็นโรคเบาหวาน และสอนให้พวกเขารู้ว่าอาการของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำจะมีอาการอย่างไรบ้าง เพราะคุณอาจจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากพวกเขาเมื่อคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป
- แนะนำให้พกขนม หรือลูกอม ไว้ติดตัวเสมอเพื่อรักษาภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- หากที่ทำงานหรือโรงเรียนของคุณมีบุคลากรที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับโรคเบาหวานมาแล้ว แนะนำให้คุณแจ้งให้เขาทราบว่า คุณกำลังเป็นโรคเบาหวานอยู่
- เก็บบัตรประจำตัวผู้ป่วยที่บ่งบอกว่าคุณเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานไว้กับตัวเสมอ
วิธีดูแลตนเองเมื่อต้องออกจากบ้าน
คำแนะนำต่อไปนี้สามารถช่วยคุณได้เมื่อคุณต้องออกจากบ้าน:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- ฉีดวัคซีนให้เรียบร้อยก่อนการท่องเที่ยว โดยจะต้องมั่นใจว่าจำนวนเข็มที่ได้รับการฉีดถูกต้องเหมาะสมสำหรับโรคที่เกิดในสถานที่ที่คุณกำลังไปท่องเที่ยว และต้องมั่นใจว่าได้รับการฉีดตามเวลาที่กำหนดแล้ว
- ปฏิบัติตามแผนการรับประทานอาหารที่กำหนดไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่าลืมที่จะพกขนมหรือลูกอมไว้ติดตัวเสมอเพื่อรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยตนเองได้ทันท่วงที
- จำกัดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และให้สอบถามทีมแพทย์ของคุณว่าปริมาณแอลกอฮอล์เท่าใดที่จะปลอดภัยสำหรับคุณ อย่าลืมที่จะรับประทานในขณะที่คุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- หากคุณท่องเที่ยวครั้งนี้ด้วยรถยนต์ ซึ่งใช้เวลานาน แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนขับรถ จากนั้นทุก 2 ชั่วโมงให้หยุดขับรถ และทำการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
- พกยารักษาโรคเบาหวานติดตัวเสมอ และมีสำรองไว้ในรถด้วย
- ในกรณีที่คุณอาจไม่สามารถกลับบ้านได้ตามกำหนดเวลา แนะนำให้พกยาสำรองไว้ 2 เท่าของปริมาณปกติที่ต้องใช้
- สวมใส่รองเท้าที่สบาย พอดีกับเท้า คุณสามารถเดินได้มากกว่าปกติที่เคยเดิน อย่าลืมที่จะพบบัตรประกันสุขภาพต่างๆ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน และลูกอม สำหรับปฐมพยาบาลเบื้องต้นขณะที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- พบบัตรประจำตัวผู้ป่วยโรคเบาหวานติดตัวไว้เสมอ
- หากคุณวางแผนที่จะออกจากบ้านเป็นระยะเวลานาน ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อเขียนใบสั่งยารักษาโรคเบาหวานเพื่อให้คุณไปรับยาที่โรงพยาบาลอื่น หรือซื้อตามร้านขายยา
- ไม่ควรซื้อยาเพิ่มเติมในขณะที่ไปเที่ยว โดยเฉพาะเมื่อไปเที่ยวต่างประเทศ เพราะต่างประเทศกันจะมียารักษาโรคเบาหวานแตกต่างกันได้ จึงแนะนำให้พกยาติดตัวไปให้เพียงพอสำหรับวันท่องเที่ยวที่คุณต้องออกจากบ้าน
วิธีดูแลตนเองเมื่อต้องโดยสารเครื่องบิน
เคล็ดลับต่อไปนี้จะช่วยคุณได้เมื่อคุณต้องโดยสารเครื่องบิน
- ปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับวิธีในการปรับขนาดยา โดยเฉพาะถ้าเป็นยาฉีดอินซูลิน เมื่อคุณต้องเดินทางข้ามเขตเวลา (time zones)
- ขอจดหมายรับรองจากแพทย์ว่าคุณเป็นโรคเบาหวาน โดยในจดหมายควรมีการระบุถึงยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นสำหรับคุณเมื่ออยู่บนเครื่องบิน ซึ่งรวมถึงรายชื่ออุปกรณ์บางชนิดที่ไม่สามารถผ่านเครื่องเอ็กซ์เรย์ได้
- พกยารักษาโรคเบาหวาน และอุปกรณ์ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดไว้กับตัวเสมอขณะโดยสารเครื่องบิน อย่านำไปเก็บไว้ในสัมภาระโหลดใต้ท้องเครื่อง
- รับประทานอาหารและของว่างตามเวลาเมื่ออยู่เมื่อเครื่องบิน
- ขณะโดยสารเครื่องบิน ให้ลุกจากที่นั่งและเดินไปมาบ้าง หากสามารถทำได้
วิธีดูแลตนเองขณะท่องเที่ยวของผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน
เมื่อคุณเดินทางท่องเที่ยว
- พกยาอินซูลินใส่ถุงที่มีฉนวนกันความร้อนเพื่อเก็บรักษาอุณหภูมิของอินซูลินไม่ให้อยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนจัดจนเกินไป
- พบพายาฉีดอินซูลิน และอุปกรณ์ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ในปริมาณสำรองมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการสูญหายหรือแตกหักระหว่างเดินทาง
- ขอจดหมายรับรองจากแพทย์ว่า คุณเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน และจำเป็นต้องมีการพกอุปกรณ์สำหรับฉีดยาอินซูลิน และอุปกรณ์ในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดติดตัวเสมอ
วิธีดูแลตนเองขณะท่องเที่ยวของผู้ป่วยไม่ได้ใช้ยาฉีดอินซูลิน
เมื่อคุณเดินทางท่องเที่ยว
- ให้สอบถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีในการปรับขนาดยา ถ้าคุณต้องเดินทางท่องเที่ยวข้ามเขตเวลา
- พกยารักษาโรคเบาหวาน และอุปกรณ์ในการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดติดตัวเสมอขณะโดยสารเครื่องบิน
- ขอจดหมายรับรองจากแพทย์ว่า คุณเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน และจำเป็นต้องมีการพกอุปกรณ์สำหรับฉีดยาอินซูลินและอุปกรณ์ในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดติดตัวเสมอ
วิธีดูแลตนเองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติธรรมชาติ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนควรเตรียมตัวให้พร้อม หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้น เช่น ไฟฟ้าดับ หรือเกิดพายุ น้ำท่วม โดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษาโรคเบาหวานเตรียมพร้อมไว้เสมอ เช่น
- เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เข็มเจาะเลือดชนิดปากกา และแผ่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- ยารักษาโรคเบาหวานของคุณ
- ยาฉีดอินซูลิน เข็มฉีดยา และถุงชนิดมีฉนวนกันความร้อนเพื่อเก็บรักษาให้อินซูลินเย็นอยู่ตลอดเวลา (หากคุณต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน)
- ยาฉีดกลูคากอน (หากแพทย์แนะนำให้มีไว้)
- ลูกอม น้ำ หรืออาหาร ที่จะช่วยรักษาภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ชนิดครีมหรือชนิดขี้ผึ้ง
- เอกสารระบุข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่คุณเป็น ยาที่คุณใช้ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการล่าสุดของคุณ
- เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินต่างๆ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติ
นอกจากนี้ คุณอาจจำเป็นต้องมีอาหารที่เก็บรักษาได้นาน เช่น อาหารกระป๋อง อาหารแห้ง และน้ำดื่มบรรจุขวดสำรองไว้ด้วย
วิธีดูแลตนเองหากเป็นผู้หญิงที่กำลังวางแผนจะตั้งครรภ์
การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติก่อนตั้งครรภ์ และตลอดช่วงเวลาของการตั้งครรภ์จะช่วยปกป้องคุณและลูกของคุณ ดังนั้นก่อนการตั้งครรภ์ ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดควรมีค่าใกล้เคียงกับค่าปกติมากที่สุด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลรักษาคุณจะวางแผนร่วมกับคุณในการรักษาโรคเบาหวาน และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสมก่อนที่คุณจะตั้งครรภ์
หากคุณกำลังตั้งครรภ์อยู่แล้ว และเป็นโรคเบาหวาน แนะนำให้ไปพบแพทย์ทันทีเพื่อขอคำปรึกษา คุณสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสให้ใกล้เคียงค่าปกติมากที่สุด
หากคุณใช้ยาฉีดอินซูลินอยู่ อาจจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลงขนาดยาที่ใช้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ยาฉีดอินซูลินในปริมาณที่มากขึ้น และตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองบ่อยขึ้น
ถ้าคุณวางแผนจะมีลูก
- ให้วางแผนการรักษาโรคเบาหวานร่วมกับทีมแพทย์ที่ดูแลคุณเพื่อให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงค่าปกติมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- พบแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ตั้งครรภ์
- งดสูบบุหรี่ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ใช้ยาที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
- ปฏิบัติตามแผนการรับประทานอาหารที่วางแผนไว้
อย่าลืมว่าจะต้องตรวจสุขภาพตา หัวใจ หลอดเลือด ความดันโลหิต และไต ก่อนการตั้งครรภ์ แพทย์ของคุณจะมีการตรวจเช็คปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบประสาทก่อนการตั้งครรภ์ด้วย เพราะการตั้งครรภ์อาจส่งผลให้ปัญหาสุขภาพบางอย่างที่เป็นแย่ลงได้
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจโรคเบาหวาน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android