วิงเวียนศีรษะ (Lightheadedness)

อาการวิงเวียนศีรษะ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่รุนแรงสุด คือโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด และการเสียเลือดในปริมาณมาก
เผยแพร่ครั้งแรก 26 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิงเวียนศีรษะ (Lightheadedness)


อาการวิงเวียนศีรษะ คือ อาการรู้สึกวิงเวียนคล้ายจะเป็นลม รู้สึกว่าร่างกายหนักกว่าปกติ มึนงง ทรงตัวไม่อยู่ มีอาการตาพร่ามัว แม้อาการนี้จะไม่ได้มีความรุนแรงมาก แต่ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม และอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่างได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการวิงเวียนศีรษะมักเกิดได้บ่อยเมื่อมีการเปลี่ยนอิริยาบถจากท่านั่งมาเป็นท่ายืนเร็วเกินไป ทำให้เลือดไหลเวียนไปที่สมองลดลง แต่ถ้านั่งลงหรือนอนราบลงนิ่งๆ ประมาณ 5-10 นาที อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง  

อีกหนึ่งอาการวิงเวียนที่พบได้บ่อย คือ อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมภายนอกกำลังหมุนอยู่ หลายคนรู้สึกว่าตนเองกำลังลอย เอียง โยก หรือหมุนวน ผู้ที่มีอาการนี้มักมีสาเหตุมาจากโรคของหูชั้นใน (Inner Ear Disorders) ที่ส่งสัญญาณไปยังสมองไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ตามองเห็นและการรับความรู้สึกของเส้นประสาท

สาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะ

นอกจากอาการขาดน้ำและการเปลี่ยนอิริยาบถร่างกายที่เร็วเกินไป ยังมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ได้แก่

  • โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด หรือ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • เลือดออกภายในร่างกาย (Internal Bleeding)
  • ภาวะช็อก (Shock) ทำให้ความดันโลหิตต่ำลงอย่างรวดเร็ว
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • อาการแพ้ (Allergy)
  • การเมาความสูง (Altitude Sickness)
  • เป็นไข้หวัด (Fever)
  • เป็นไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาเสพติด
  • ร่างกายขาดน้ำจากอาการอาเจียน ท้องเสีย เป็นไข้ และจากโรคอื่นๆ
  • หายใจลึก หรือ หายใจเร็ว (Hyperventilation)
  • วิตกกังวลและความเครียด

เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์

หากพบอาการต่อไปนี้ร่วมกับการวิงเวียนศีรษะ ให้รีบโทรสายด่วน 1669 ทันที เพราะอาจเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมอง

  • ใบหน้าหย่อนลงมาข้างใดข้างหนึ่ง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • รู้สึกแน่นหน้าอก หรือเจ็บหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • เหงื่อออกแบบไม่ทราบสาเหตุ

การรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ

อาการวิงเวียนศีรษะที่ไม่ได้เกิดจากภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ มักจะมีอาการดีขึ้นเองในเวลาไม่นาน ซึ่งผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ ด้วยการดื่มน้ำให้มากขึ้น รับประทานหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ และนอนราบหรือนั่งลงเพื่อให้ศีรษะต่ำลง

สำหรับผู้ที่มีอาการวิงเวียนศีรษะรุนแรง หรือดูแลตัวเองที่บ้านแล้ว แต่อาการยังไม่หายไป ก็อาจต้องรักษาด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่มีปริมาณเกลือต่ำ
  • การให้ยาต้านอาเจียน
  • การให้ยาคลายกังวล เช่น Diazepam หรือ Alprazolam
  • การให้ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน
  • การฝึกการทรงตัว การบริหารและฝึกระบบประสาททรงตัว (Vestibular Rehabilitation)
  • การให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดในกรณีที่อาการวิงเวียนศีรษะเกิดจากการติดเชื้อที่หู

การป้องกันอาการวิงเวียนศีรษะ

ควรลุกขึ้นยืนช้าๆ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว ดื่มน้ำให้เพียงพอเมื่อเจ็บป่วยหรือกำลังออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดจ้า หลีกเลี่ยงการได้รับสารใดๆ ที่ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เช่น แอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ จะช่วยป้องกันอาการวิงเวียนศีรษะได้


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Rachel Nall, Lightheadedness (https://www.healthline.com/health/lightheadedness), July 18, 2016.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)