กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตนั้นดีหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตนั้นดีหรือไม่?

ในช่วงที่ผ่านมา มีหลายคนที่สอบถามเกี่ยวกับการรับประทานอาหารสูตร ketogenic ว่าปลอดภัยหรือไม่และแนะนำให้รับประทานหรือไม่ ถึงแม้ว่ามันเพิ่งเป็นกระแสในช่วงนี้แต่ในทางการแพทย์แล้วมีการใช้สูตรอาหารนี้มานานเกือบ 100 ปีในการรักษาโรคลมชักที่ดื้อยาโดยเฉพาะในเด็ก ในช่วงปี 1970 ได้มีนักวิทยาศาสตร์ที่นำสูตรอาหารนี้มาใช้เพื่อลดน้ำหนักและหลังจากนั้นก็มีการใช้สูตรอาหารนี้ร่วมในการลดน้ำหนักหลายสูตร

การทานอาหารแบบ ketogenic คืออะไร?

โดยสรุป มันคืออาหารที่ทำให้ร่างกายนั้นปล่อยคีโตนเข้าสู่กระแสเลือด เซลล์ส่วนใหญ่มักจะใช้น้ำตาลกลูโคสซึ่งมาจากคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย ในเวลาที่ไม่มีน้ำตาลกลูโคสจากอาหาร ร่างกายก็จะเริ่มนำไขมันมาสลายเป็นโมเลกุลที่เรียกว่าคีโตน เมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะนี้ เซลล์ส่วนใหญ่จะนำคีโตนไปใช้เป็นพลังงานจนกว่าเราจะเริ่มกลับไปรับประทานคาร์โบไฮเดรตอีกครั้ง การเปลี่ยนจากการใช้น้ำตาลกลูโคสมาเป็นการใช้ไขมันเป็นพลังงานนั้นมักจะเกิดภายใน 2-4 วันหลังจากการรับประทานคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่า 20-50 กรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามกระบวนการเหล่านี้มักจะขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนและบางคนอาจจะต้องอดอาหารนานขึ้นก่อนที่ร่างกายจะผลิตคีโตนได้มากพอ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เนื่องจากอาหารสูตรนี้นั้นไม่มีคาร์โบไฮเดรต ทำให้มันเน้นโปรตีนและไขมัน โดยมักเน้นที่การทานเนื้อ ไข่ เนื้อแปรรูป ไส้กรอก ชีส ปลา ถั่ว เนย น้ำมัน เมล็ดต่างๆ และผักที่มีเส้นใยอาหาร และเนื่องจากมันเป็นการจำกัดอาหารที่เข้มงวดทำให้มักจะสามารถทำตามได้ในระยะสั้นเท่านั้น โดยปกติคาร์โบไฮเดรตนั้นคิดเป็นครึ่งหนึ่งของอาหารที่รับประทาน มีการถกเถียงเกี่ยวกับสูตรอาหารนี้ที่ว่าทำให้รับประทานโปรตีนและไขมันชนิดที่ไม่ดีจากอาหารแปรรูปมากเกินไปในขณะที่ทานผักและผลไม้เพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตควรต้องระมัดระวังเนื่องจากสูตรอาหารนี้อาจทำให้โรคไตแย่ลงได้ นอกจากนั้นผู้ป่วยหลายคนอาจจะรู้สึกอ่อนเพลียในช่วงแรก ในขณะที่หลายคนอาจมีกลิ่นปาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูกและมีปัญหาในการนอนหลับได้

การทานอาหารสูตรนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เรามีหลักฐานแน่นอนที่ยืนยันว่าการทานอาหารสูตรนี้นั้นช่วยลดการเกิดอาการชักในเด็ก และในบางครั้งได้ผลเทียบเท่าการใช้ยา และเนื่องจากฤทธิ์ในการป้องกันระบบประสาท ทำให้มีคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ต่อโรคเกี่ยวกับสมองอื่นๆ เช่นพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ multiple sclerosis การนอนไม่หลับ ออทิสติกหรือแม้แต่มะเร็งสมอง อย่างไรก็ตามยังไม่มีงานวิจัยในมนุษย์ที่สนับสนุนการใช้สูตรอาหารนี้ในการรักษาโรคเหล่านี้

ส่วนมากผู้ป่วยมักเลือกรับประทานอาหารสูตรนี้เพื่อลดน้ำหนัก งานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าผู้ป่วยที่รับประทานอาหารสูตรนี้นั้นสามารถลดน้ำหนักได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำหรืออาหารสูตรเมดิเตอร์เรเนียน อย่างไรก็ตามเมื่อเวลาผ่านไปก็ไม่พบความแตกต่าง

การทานอาหารสูตรนี้พบว่าช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างน้อยก็ในระยะสั้น เมื่อพิจารณาถึงระดับ cholesterol ผลที่ได้นั้นยังค่อนข้างขัดแย้งกัน งานวิจัยบางส่วนพบว่าผู้ป่วยบางคนมีระดับ cholesterol สูงขึ้นในช่วงแรกก่อนที่จะลดลงเมื่อผ่านไปหลายเดือน อย่างไรก็ตามไม่มีการวิเคราะห์ผลระยะยาวของการรับประทานอาหารสูตรนี้ต่อการคุมโรคเบาหวานและระดับ cholesterol

ข้อสรุปคืออะไร?

อาหารสูตรนี้อาจจะเป็นทางเลือกในการรักษาโรคบางโรคและอาจจะช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ก็ปฏิบัติตามได้ยากและเน้นการรับประทานเนื้อแดงและอาหารแปรรูปที่มีไขมันและเกลือสูงซึ่งทราบว่าไม่ดีต่อสุขภาพ เรายังไม่รู้ถึงผลระยะยาวของการรับประทานอาหารสูตรนี้เนื่องจากมันปฏิบัติตามได้ยาก สิ่งที่สำคัญก็คืออาหารสูตรนี้อาจทำให้เกิดการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วก่อนที่น้ำหนักนั้นจะแกว่งอย่างรวดเร็วซึ่งอาจเพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้ ดังนั้นแทนที่จะใช้สูตรอาหารที่ทำได้เพียงไม่กี่สัปดาห์หรือเดือน ควรลองเปลี่ยนมาทานอาหารที่ทำตามได้นานกว่าในระยะยาว โดยเน้นการทานอาหารที่สมดุล ไม่มีอาหารแปรรูป เน้นผักหรือผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลา ธัญพืช ถั่ว น้ำมันมะกอก และดื่มน้ำมากๆ ซึ่งเป็นอาหารที่มีหลักฐานมากกว่าว่าจะทำให้มีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืน


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Starchy foods and carbohydrates. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/starchy-foods-and-carbohydrates/)
The Difference Between Good and Bad Carbohydrates. Verywell Fit. (https://www.verywellfit.com/good-and-bad-carbohydrates-3121405)
15 healthy high-carb foods. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323110)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป