ยาถ่ายพยาธิ ยี่ห้อไหนดี? รวมรายชื่อ ยาถ่ายพยาธิ ที่ปลอดภัย

รวมชื่อยาถ่ายพยาธิ ข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง และตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ยาถ่ายพยาธิ ยี่ห้อไหนดี? รวมรายชื่อ ยาถ่ายพยาธิ ที่ปลอดภัย

พยาธิ เป็นปรสิตที่สามารถอาศัยในร่างกายมนุษย์ นอกจากจะคอยแย่งอาหารแล้ว ยังทำให้เกิดการติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ได้ ซึ่งหากไม่ได้กำจัดพยาธิออกไปอย่างทันท่วงทีอาจเกิดอันตรายร้ายแรงถึงชีวิต วิธีหนึ่งที่ใช้กำจัดพยาธิได้ไม่ยาก และไม่เสียค่าใช้จ่ายมากนัก ได้แก่ การรับประทานยาถ่ายพยาธิหรือฆ่าเชื้อพยาธิ ยาถ่ายพยาธิแบ่งกลุ่มตามชนิดของพยาธิ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจะเลือกว่ากินยาถ่ายพยาธิ ยี่ห้อไหนดีให้เหมาะสม ดังนี้

  1. กลุ่มยาถ่ายพยาธิตัวกลม (Nematode) ที่นิยมใช้ในการรักษา ได้แก่ ไอเวอร์เมกติน (Ivermectin) และ มีเบนดาโซล (Mebendazole)
  2. กลุ่มยาถ่ายพยาธิใบไม้ (Trematode) ได้แก่ พราซิเควนเทล (Praziquantel)
  3. กลุ่มยาถ่ายพยาธิตัวตืด (Cestode) ได้แก่ อัลเบนดาโซล (Albendazole)

ข้อควรระวังที่สำคัญสำหรับสตรีมีครรรภ์ คือ ไม่แนะนำให้ใช้ยาถ่ายพยาธิเหล่านี้ในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ Albendazole, Ivermectin และ Mebendazole

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อมูลยาถ่ายพยาธิแต่ละชนิด

ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อยา ข้อบ่งใช้ กลไกการออกฤทธิ์ ขนาดใช้ยา ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์และข้อควรระวัง รวมถึงตัวอย่างยี่ห้อยาที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย ดูรายละเอียดได้ดังตาราง

กลุ่มยาถ่ายพยาธิตัวกลม 

ใช้สำหรับรักษาอาการติดเชื้อพยาธิตัวกลม เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้

1. ไอเวอร์เมกติน (Ivermectin)

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

Vermectin® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 6 มิลลิกรัม

ข้อบ่งใช้

สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ Strongyloidiasis

กลไกการออกฤทธิ์

ไอเวอร์เมกตินออกฤทธิ์ที่ตัวรับ Glutamate-Gated Chloride Channel ทำให้เกิดการไหลเข้าของคลอไรด์ไอออน ที่นำไปสู่การเกิดไฮเปอร์โพลาร์ไรเซชัน เป็นผลให้พยาธิเป็นอัมพาตและตาย

ขนาดการใช้ยา

ควรรับประทานยาไอเวอร์เมกตินก่อนอาหาร เนื่องจากอาหารอาจเพิ่มปริมาณการดูดซึมยาได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ Strongyloidiasis ในผู้ใหญ่ ขนาด 200 ไมโครกรัม / น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม เป็นเวลา 1-2 วัน (ผู้ใหญ่น้ำหนัก 51-65 กิโลกรัม รับประทานขนาด 6 มิลลิกรัม 2 เม็ด)

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์/ข้อควรระวังในการใช้ยา

ไอเวอร์เมกตินอาจก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ มึนงง ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ท้องเสียได้ ไม่แนะนำให้ใช้ยาไอเวอร์เมกตินในตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

2. มีเบนดาโซล (Mebendazole)

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย
  • Fugacar ® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 500 มิลลิกรัม
  • Meben ® ในรูปแบบยาเม็ดขนาด 100 มิลลิกรัม
  • Phiha Benzar-500 ® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 500 มิลลิกรัม
  • Benda ® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 500 มิลลิกรัม
ข้อบ่งใช้
  • สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ Toxocariasis ซึ่งเป็นพยาธิที่พบในสุนัขและแมว และสามารถติดเชื้อมายังคนได้
  • พยาธิแส้ม้า พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ และพยาธิตัวกลม
กลไกการออกฤทธิ์

มีเบนดาโซลออกฤทธิ์โดยยับยั้งการรวมตัวของไมโครทูบูลของพยาธิ และยับยั้งการดูดซึมของกลูโคสและและสารอาหารอื่นไปใช้ พยาธิที่ถูกฤทธิ์ของยาจะถูกขับออกผ่านอุจจาระ

ขนาดการใช้ยา

มีเบนดาโซลบริหารในรูปแบบของยารับประทาน ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ ในผู้ใหญ่ ขนาด 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน หรือขนาด 500 มิลลิกรัม รับประทานครั้งเดียว วันเดียว

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์/ข้อควรระวังในการใช้ยา

มีเบนดาโซล อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ปวดศีรษะ มึนงง ง่วงซึมได้

กลุ่มยาถ่ายพยาธิใบไม้


ใช้ำสำหรับรักษาอาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งพบได้มากในปลาน้ำจืด ผู้ที่กำลังให้นมบุตร หรือมีปัญหาดวงตา เกี่ยวกับการเกิดเม็ดสาคูที่นัยน์ตาควรหลีกเลี่ยงยากลุ่มนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

พราซิเควนเทล (Praziquantel)

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย
  • Prasikon ® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 600 มิลลิกรัม
  • Praquantel ® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 600 มิลลิกรัม
ข้อบ่งใช้

สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchiasis) ซึ่งพบมากในปลาน้ำจืด การรับประทานปลาน้ำจืดดิบ หรือปรุงไม่สุกเป็นสาเหตุหลักของการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้

กลไกการออกฤทธิ์

พราซิเควนเทลเพิ่มการไหลเข้าของแคลเซียมเข้าสู่พยาธิ ทำให้เกิดการหดตัวอย่างรุนแรงของพยาธิ นำไปสู่การเกิดอัมพาต ทำให้ชิ้นส่วนของพยาธิที่เกาะติดกับหลอดเลือดหลุดออก

ขนาดการใช้ยา
  • พราซิเควนเทลบริหารในรูปแบบของยารับประทาน ควรรับประทานพร้อมอาหาร โดยรับประทานทั้งเม็ด ไม่เคี้ยวหรือทำให้ยาแตก เนื่องจากยามีรสขม
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับ ในผู้ใหญ่ ขนาด 25 มิลลิกรัม / น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม วันละสามครั้ง ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง เป็นเวลา 1-2 วัน หรือขนาด 40 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม ครั้งเดียว วันเดียว
ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์/ข้อควรระวังในการใช้ยา
  • พราซิเควนเทลอาจก่อให้เกิดอาการมึนงง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ท้องไส้แปรปรวน
  • ไม่แนะนำให้ใช้ยาในสตรีให้นมบุตร และผู้ที่มีภาวะซิสติกเซอโคซิสของนัยน์ตา (หรือภาวะที่เกิดตัวอ่อนเม็ดสาคูที่นัยน์ตา) เนื่องจากยาอาจทำให้เกิดการทำลายของดวงตาอย่างถาวร และนำไปสู่ตาบอดถาวรได้

กลุ่มยาถ่ายพยาธิตัวตืด


ใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิตัวตืดหมู ซึ่งมักเกิดจากการรับประทานเนื้อหมูดิบ รวมถึงรักษาพยาธิใบไม้ในดับได้ด้วย ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียง โดยเฉพาะในสตรีมีครรภ์ และผู้มีรอยแผลบริเวณนัยน์ตา

อัลเบนดาโซล (Albendazole)

ตัวอย่างยี่ห้อที่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย
  • Albatel ® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม
  • Alben ® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม
  • Falben ® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม
  • Zeben ® ในรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน ความแรง 200 มิลลิกรัม ต่อ 5 มิลลิลิตร
  • Mesin ® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม
  • CB-400 ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 400 มิลลิกรัม
  • Zenzera ® ในรูปแบบยาเม็ด ขนาด 200 มิลลิกรัม
ข้อบ่งใช้
  • สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ Echinococcosis ซึ่งพบในแกะ
  • รักษาการติดเชื้อ Cysticercosis เช่น พยาธิตืดหมู ซึ่งก่อให้เกิดพิษต่อระบบประสาทซึ่งเป็นอันตราย สามารถติดเชื้อได้จากการรับประทานเนื้อหมูดิบ หรือปรุงไม่สุก รักษาร่วมกับการใช้พราซิเควนเทล
  • ใช้รักษาพยาธิ Strongyloidiasis และพยาธิใบไม้ในตับได้ด้วยเช่นกัน
กลไกการออกฤทธิ์

อัลเบนดาโซลยับยั้งการสังเคราะห์ไมโครทูบูลในทางเดินอาหารของพยาธิและตัวอ่อนพยาธิ ทำให้พยาธิอยู่ในสภาวะขาดไกลโคเจน รบกวนการดูดกลูโคสและการหลั่งของโคลีนเอสเตอรเรส (cholinesterase) นำไปสู่การลดการสร้าง ATP ซึ่งเป็นแหล่งพลังงาน ท้ายสุดทำให้พยาธิตาย

ขนาดการใช้ยา

อัลเบนดาโซลบริหารในรูปแบบของยารับประทาน ควรรับประทานพร้อมอาหาร

  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ ในผู้ใหญ่ ขนาด 400 มิลลิกรัม ครั้งเดียว วันเดียว
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ Strongyloidiasis ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 3 วัน
  • ข้อบ่งใช้สำหรับรักษาการติดเชื้อพยาธิ ใบไม้ในตับ ขนาด 400 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง เป็นเวลา 3 วัน
ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์/ข้อควรระวังในการใช้ยา
  • อัลเบนดาโซล อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้อง ปวดศีรษะ มึนงง ท้องไส้แปรปรวน
  • ควรรับประทานพร้อมอาหาร เพื่อลดผลข้างเคียงของยา
  • ห้ามใช้ในผู้มีอาการแพ้ เพราะหากแพ้ยานี้มักมีอาการรุนแรงมาก

จะเห็นว่ายาถ่ายพยาธิมีหลายยี่ห้อ หลายตัวยา จะใช้ชนิดไหนขึ้นอยู่กับว่าจะใช้กำจัดพยาธิชนิดใด ทั้งยังมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้อีกด้วย ดังนั้นทางที่ดีควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
WHO, Intestinal Worms, https://www.who.int/intestinal_worms/disease/en/, 4 March 2019.
Karen Whalen, Lippincott Illustrated Reviews: Pharmacology 6th edition, 2015.
Cotaand Anandan, Pharmacotherapy: A Pathophysiologic approach 10th edition, 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)
การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)

แนะนำ 3 สูตรอาหารสำหรับการให้อาหารทางสายยางที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม
อาหารทั่วไปในโรงพยาบาล (General Diet)
อาหารทั่วไปในโรงพยาบาล (General Diet)

หลักการและตัวอย่างอาหารในโรงพยาบาล ทั้งอาหารธรรมดา อาหารอ่อน อาหารน้ำใส และอาหารน้ำข้น แต่ละอย่างคืออะไร ดีต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่ม