อาหารบางชนิดสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้ ดังนั้น เมื่อวางแผนรายการอาหาร จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มในกลุ่มนี้ นอกจากนั้นมีอาหารบางประเภทที่สามารถรับประทานได้ แต่ในปริมาณน้อย จึงจัดเป็นอาหารที่คุณสามารถรับประทานอาหารได้ในบางครั้ง
รายการอาหารที่อยู่ในตารางด้านล่างแสดงอาหารที่คุณสามารถรับประทานได้ในบางครั้ง สำหรับรายการอาหารที่มักไม่ทำให้เกิดอาการหรือเกิดอาการเพียงลดน้อย สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากตารางแสดงรายการอาหารที่ทำให้เกิดอาการน้อย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สำหรับรายการอาหารที่ไม่ควรรับประทานเนื่องจากมักทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกนั้น สามารถอ่านได้ในบทความ อาหารที่ควรจำกัด
รายการอาหารเหล่านี้เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น และขึ้นกับสถานการณ์ของแต่ละบุคคล บางคนอาจพบว่าตนเองสามารถรับประทานอาหารจากกลุ่มรายการที่ต้องหลีกเลี่ยงได้ หรือมีปัญหากับอาหารที่ไม่ได้อยู่ในรายการเหล่านี้ ดังนั้นการเริ่มจดบันทึกอาหารประจำวันติดต่อกันประมาณ 2 อาทิตย์รวมถึงอาการที่เกิดขึ้นจะช่วยให้คุณและแพทย์สามารถวางแผนรายการอาหารและพฤติกรรมการกินที่ควรปรับเปลี่ยนได้
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
- คำแนะนำง่าย ๆ ในการวางแผนอาหารเพื่อป้องกันการเกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอก
- คำแนะนำในการป้องกันการเกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกเมื่อรับประทานอาหารนอกบ้าน
อาหารที่สามารถรับประทานได้ในปริมาณปานกลางสำหรับผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน
กลุ่มอาหาร |
อาหารที่ควรรับประทานในปริมาณจำกัด |
• น้ำส้มชนิดกรดน้อย |
|
ผัก |
• กระเทียม |
เนื้อสัตว์ |
• เนื้อไม่ติดมัน |
ผลิตภัณฑ์จากนม |
• โยเกิร์ต • นม 2% หรือนมพร่องมันเนย |
• ขนมปังกระเทียม |
|
เครื่องดื่ม |
• ไวน์ชนิดไม่มีแอลกอฮอล์ |
ไขมัน/น้ำมัน |
• ซอสมะเขือเทศ |
ขนม/ของหวาน |
• คุกกี้ไขมันต่ำ |
การจัดการกับอาการแสบร้อนกลางหน้าอก
มีหลายวิธีที่สามารถใช้บรรเทาอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้ด้วยตนเอง ซึ่งเริ่มจากการเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหาร
ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- กินอาหารมื้อเล็กลงแต่บ่อยขึ้นแทนการกินมื้อใหญ่ 3 มื้อ จะช่วยป้องกันการหลั่งกรดที่มากเกินไปในกระเพาะอาหาร
- รับประทานอาหารให้ช้าลง หนึ่งในวิธีที่ช่วยให้รับประทานอาหารได้ช้าลงคือการวางช้อนและส้อมระหว่างคำ
- อย่าเข้านอนทันทีหลังกินเสร็จ ควรเข้านอนหลังจากรับประทานอาหารมื้อสุดท้ายหรือขนมครั้งสุดท้ายของวันเสร็จอย่างน้อย 3 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ระดับของกรดในกระเพาะลดลงก่อนการนอนซึ่งเป็นท่าที่มักเกิดอาการมากที่สุด
- นอนยกหัวสูง เมื่อมีการยกหัวสูง จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดกรดไหลย้อนระหว่างคืน
- หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการต่างๆ ตัวอย่างอาหารและเครื่องดื่มที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการได้ เช่น กาแฟ (ซึ่งรวมถึงกาแฟ decaf) แอลกอฮอล์ อาหารมัน เครื่องดื่มและอาหารที่มีคาเฟอีน หัวหอม เปปเปอร์มิ้นท์ ชอกโกแลต ผลไม้หรือน้ำผลไม้ตระกูลส้ม หรือมะเขือเทศ หากคุณไม่แน่ใจว่าอาหารประเภทใดทำให้เกิดอาการ อาจลองจดบันทึกอาหารที่รับประทานในแต่ละวันประมาณ 1-2 สัปดาห์
- เลิกบุหรี่ นิโคตินสามารถทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายอ่อนแอลง ซึ่งกล้ามเนื้อดังกล่าวทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เกิดกรดไหลย้อนจากกระเพาะเข้าสู่หลอดอาหาร
- ใส่เสื้อผ้าสบายๆ เสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไปอาจบีบร่างกายส่วนกลางทำให้สารต่าง ๆ ในกระเพาะอาหารไหลย้อนได้
- ลดน้ำหนัก หากคุณมีน้ำหนักเกิน การลดน้ำหนักจะช่วยลดอาการได้
- เคี้ยวหมากฝรั่ง การเคี้ยวหมากฝรั่งจะช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้ชั่วคราว เนื่องจากกระตุ้นการสร้างน้ำลายซึ่งจะมาเจือจางและลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร
- ดื่มน้ำอุ่น การดื่มน้ำอุ่น หรือชาสมุนไพรหลังมื้ออาหารสามารถช่วยเจือจางกรดในกระเพาะอาหารได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท