เบกกิ้งโซดาสามารถลดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้หรือไม่

มาทำความเข้าใจว่า เบกกิ้งโซดา สามารถช่วยลดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เบกกิ้งโซดาสามารถลดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้หรือไม่

เบกกิ้งโซดาสามารถช่วยลดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้แต่เพียงชั่วคราว ควรหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ และดูว่าเบกกิ้งโซดาสามารถช่วยได้อย่างไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอก

อาการแสบร้อนกลางหน้าอกโดยทั่วไปมักเป็นอาการแสบร้อนที่เริ่มขึ้นในท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือตรงกลางอก อาการแสบร้อนอาจร้าวขึ้นอาจกระบังลมไปสู่คอหอย และอาจมีรู้สึกเปรี้ยวในคอหรือมีอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาร่วมด้วยได้ อาการนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจแต่อย่างใด อาการนี้เป็นปัญหาทางระบบทางเดินอาหารที่เกิดจากการมีกรดไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคือง ซึ่งจะเกิดเมื่อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายที่อยู่ระหว่างหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารมีการอ่อนแรง หรือคลายตัวลง ทำให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ โดยแทนที่จะเปิดให้อาหารลงไปสู่กระเพาะอาหาร แต่กลับเปิดค้างไว้ทำให้กรดจากกระเพาะท้นขึ้นมาในหลอดอาหารได้ อาการแสบร้อนกลางหน้าอกมักเกิดหลังจากการรับประทานอาหารเป็นบางครั้ง แต่พบว่าผู้ป่วยหลายคนมีอาการแสบร้อนกลางหน้าอกที่เบากว่า หรือรุนแรงกว่าได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การใช้เบกกิ้งโซดาเพื่อช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางหน้าอก

หนึ่งในวิธีที่จะช่วยรักษาภาวะกรดไหลย้อนคือการใช้ยาลดกรด ซึ่งเบกกิ้งโซดา หรือก็คือสารโซเดียมไบคาร์บอเนต เป็นยาลดกรดโดยธรรมชาติ หากคุณนำเบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชามาละลายในน้ำ 8 ออนซ์และรับประทาน จะสามารถช่วยลดความเป็นกรด และบรรเทาอาการแสบร้อนกลางหน้าอกที่เกิดจากกรดไหลย้อนได้ อย่างไรก็ตามวิธ๊นี้ก็มีข้อเสียเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อละลายเบกกิ้งโซดาลงในน้ำ จะทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ซึ่งจะทำให้เกิดฟอง และฟองเหล่านี้จะทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนปลายมีการเปิดออกทำให้มีอาการเรอ และช่วยลดอาการท้องอืด แต่การเปิดหูรูดก็ทำให้สารต่างๆ จากกระเพาะสามารถไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหารเพิ่มขึ้นได้ แม้ว่าจะมีผู้ป่วยหลายคนที่ใช้เบกกิ้งโซดาในการรักษาอาการแสบร้อนกลางหน้าอก แต่ในปัจจุบันยังคงไม่มีการทดลองหรืองานวิจัยที่สนับสนุนผลของเบกกิ้งโซดาต่อการรักษาอาการนี้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนการทดลองใช้เบกกิ้งโซดาหรือวิธีการรักษาใดๆ ก็ตามในการรักษาอาการแสบร้อนกลางหน้าอก

วิธีอื่นที่สามารถใช้รักษาอาการแสบร้อนกลางหน้าอก

คุณสามารถบรรเทาอาการดังกล่าวได้โดยการหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการ และปรับวิธีการใช้ชีวิตเพื่อลดการเกิดอาการ

  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้หูรูดหลอดอาหารส่วนปลายอ่อนแรง เช่นอาหารที่มีชอกโกแลต เปปเปอร์มิ้นท์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ อาหารมัน หรือของทอด
  • หลีกเลี่ยงอาหาร หรือเครื่องดื่มที่ระคายเคืองหลอดอาหาร ตัวอย่างอาหารเช่นผลไม้และน้ำผลไม้ตระกูลส้ม มะเขือเทศ หรือผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ พริก และพริกไทยดำ
  • รับประทานทีละน้อย แต่ถี่มากขึ้น การรับประทานอาหารมื้อใหญ่จะเพิ่มความดันในกระเพาะอาหาร และหูรูดหลอดอาหารส่วนปลาย การแบ่งรับประทานอาหารมื้อเล็กประมาณ 5-6 มื้อแทนการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อจะดีกว่า แต่ควรระมัดระวังไม่ให้รับประทานเร็วเกินไป การวางส้อม หรือช้อนระหว่างการรับประทานแต่ละคำจะช่วยชะลอความเร็วในการกินได้
  • ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานแอลกอฮอล์ก่อน ระหว่าง หรือหลังอาหารอาจทำให้อาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดอ่อนแรงลง

16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Baking Soda: What It Does and Doesn’t Do for Your Health. WebMD. (https://www.webmd.com/a-to-z-guides/baking-soda-do-dont#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป