กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล

อาหารทั่วไปในโรงพยาบาล (General Diet)

หลักการและตัวอย่างอาหารในโรงพยาบาล ทั้งอาหารธรรมดา อาหารอ่อน อาหารน้ำใส และอาหารน้ำข้น แต่ละอย่างคืออะไร ดีต่อผู้ป่วยอย่างไรบ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาหารทั่วไปในโรงพยาบาล (General Diet)

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาหารทั่วไปในโรงพยาบาลมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะของอาหาร ได้แก่ อาหารธรรมดา (Regular Diet) อาหารอ่อน (Soft Diet) อาหารน้ำใส (Clear Liquid Diet) และอาหารน้ำข้น (Full Liquid Diet)
  • อาหารอ่อนมีลักษณะเปื่อย นุ่ม รับประทานง่าย และย่อยง่าย มาจากการนำอาหารที่แข็งและย่อยยากมาดัดแปลงให้นุ่ม ไม่ระคายเคืองระบบย่อยอาหาร จะจัดให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคี้ยว หรืออยู่ในระหว่างการพักฟื้น 
  • อาหารน้ำใสมีลักษณะเป็นน้ำเหลวใส ไม่มีเนื้อสัตว์ หรือผัก ไม่มีตะกอน หรือใยอาหารเหลืออยู่ ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร อาหารลักษณะนี้มีสารอาหารน้อยจึงมักให้ผู้ป่วยรับประทานเพียง 1-2 มื้อเท่านั้น 
  • อาหารน้ำข้นมีลักษณะข้นกว่าอาหารน้ำใส สามารถผสมนม ธัญพืช เนื้อสัตว์ขูด ไข่ หรือผัก ผสมลงในอาหารได้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายอยู่ดี แพทย์จึงมักให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารนี้เพียงระยะสั้นๆ เช่นเดียวกับอาหารน้ำใส
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

อาหารที่โรงพยาบาลจัดให้แก่ผู้ป่วยนั้น จะมีการกำหนดมาตรฐานและคุณค่าทางโภชนาการไว้ โดยคำนึงถึงพลังงานและสารอาหารที่ร่างกายผู้ป่วยควรได้รับใน 1 วัน รวมถึงโรคภัยที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ 

ลักษณะของอาหารในโรงพยาบาล

อาหารทั่วไปในโรงพยาบาลมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะของอาหาร  ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. อาหารธรรมดา (Regular Diet)
  2. อาหารอ่อน (Soft Diet)
  3. อาหารน้ำใส (Clear Liquid Diet)
  4. อาหารน้ำข้น (Full Liquid Diet)

อาหารธรรมดา (Regular Diet) 

มีลักษณะคล้ายกับอาหารที่คนไม่ได้เจ็บป่วยรับประทานกันทั่วไป เพียงแต่งดอาหารที่ย่อยยาก อาหารหมักดอง อาหารรสจัด อาหารทอดที่อมน้ำมัน อาหารที่มีใยแข็ง 

อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับอาหารดัดแปลงเพื่อการรักษาโรค หรืออาหารเฉพาะโรค (Therapeutic diet)
 

มาตรฐานอาหารธรรมดา

พลังงาน (kcal)

โปรตีน (g)

ไขมัน (g)

คาร์โบไฮเดรต (g)

1,500

55

60

189

2,000

70

80

250

2,500

95

100

305

สารอาหารคิดเป็นร้อยละ

15

30-35

50-55

ตัวอย่างอาหารธรรมดา

มื้อเช้า: ข้าวต้มปลา ไข่ลวก นมถั่วเหลือง

มื้อเที่ยง: ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าหมู กล้วยบวดชี

มื้อเย็น: ข้าวสวย แกงจืดเต้าหู้ ผัดพริกขิงหมู ผลไม้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อาหารอ่อน (Soft Diet) 

มีลักษณะเปื่อย นุ่ม รับประทานง่าย และย่อยง่าย มาจากการนำอาหารที่แข็งและย่อยยากมาดัดแปลงให้นุ่ม เช่น สับละเอียด ต้ม หรือตุ๋นจนเปื่อยนุ่ม ไม่ระคายเคืองระบบย่อยอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารทอด เหนียว ไขมันสูง

อาหารลักษณะนี้มักถูกจัดให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคี้ยว หรืออยู่ในระหว่างการพักฟื้น มีคุณค่าอาหารไม่แตกต่างจากอาหารธรรมดา แต่ในทางปฏิบัติ 

เมื่อจัดอาหารอ่อนให้ผู้ป่วยโดยกำหนดให้ได้พลังงานเท่ากันจะออกมาได้ปริมาณมากกว่าอาหารธรรมดา มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ป่วยควรได้รับอาหารอ่อนในพลังงาน 1,500-1,800 kcal/วัน

มาตรฐานอาหารอ่อน

พลังงาน (kcal)

โปรตีน (g)

ไขมัน (g)

คาร์โบไฮเดรต (g)

1,800

90

60

225

สารอาหารคิดเป็นร้อยละ

10-15

30

55-60

ตัวอย่างอาหารอ่อน

มื้อเช้า: โจ๊กหมู ไข่ลวก นมสด

มื้อเที่ยง: ก๋วยเตี๋ยวน้ำหมูสับ น้ำผลไม้ไม่มีเส้นใย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

มื้อเย็น: ข้าวต้ม ปลานึ่ง ผัดฟักทองใส่ไข่ ผลไม้

อาหารน้ำใส (Clear Liquid Diet) 

มีลักษณะเป็นน้ำเหลวใส ไม่มีเนื้อสัตว์หรือผัก จึงประกอบด้วยน้ำและคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีตะกอน หรือใยอาหารเหลืออยู่ ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร 

อาหารลักษณะนี้มีสารอาหารน้อย ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงมักให้ผู้ป่วยรับประทานเพียง 1-2 มื้อเท่านั้น หากเกินกว่านั้นอาจทำให้เกิดปัญหาขาดพลังงานและสารอาหารได้

มาตรฐานอาหารน้ำใส

พลังงาน (kcal)

โปรตีน (g)

ไขมัน (g)

คาร์โบไฮเดรต (g)

800

สารอาหารคิดเป็นร้อยละ

2

1

  •  

น้อยมาก

198

99

ตัวอย่างอาหารน้ำใส

มื้อเช้า: น้ำข้าวกรอง น้ำหวาน

มื้อเที่ยง: น้ำซุปใส (ไก่) น้ำขิง

มื้อเย็น: น้ำซุปใส (ผัก) น้ำผลไม้กรอง 

อาหารน้ำข้น (Full Liquid Diet) 

มีลักษณะข้นกว่าอาหารน้ำใส สามารถผสมนม ธัญพืช เนื้อสัตว์ขูด ไข่ หรือผัก ผสมลงในอาหาร เพื่อเพิ่มสารอาหารให้สูงขึ้นได้ แต่สารอาหารและพลังงานก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายอยู่ดี 

แพทย์จึงมักให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารนี้เพียงระยะสั้นๆ เช่นเดียวกับอาหารน้ำใส

มาตรฐานอาหารน้ำข้น

พลังงาน (kcal)

โปรตีน (g)

ไขมัน (g)

คาร์โบไฮเดรต (g)

600-1,000

สารอาหารคิดเป็นร้อยละ

15-25

10

7-17

10-15

113-200

75-80

ตัวอย่างอาหารน้ำข้น

มื้อเช้า: น้ำข้าวข้น นมถั่วเหลือง

มื้อเที่ยง: ครีมซุปไก่ ไอศกรีม

มื้อเย็น: ครีมซุปมันฝรั่ง นมสด

หากตัวคุณเอง หรือคนใกล้ชิด จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ก็ขอให้วางใจในอาหารที่ทางโรงพยาบาลจัดให้มีคุณค่าทางโภชนาการและมีลักษณะเหมาะสมกับผู้ป่วยทุกคนอย่างแน่นอน 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cleaveland Clinic, Gastroinestinal Soft Diet Overview (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/15637-gastrointestinal-soft-diet-overview ) (Last reviewed 1 Septermber 2017), 3 May 2020.
Healthline, The GM Diet Plan: Lose Fat in Just 7 Days? (https://www.healthline.com/nutrition/gm-diet), 2 May 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)
การให้อาหารทางสายยาง (Tube Feeding)

แนะนำ 3 สูตรอาหารสำหรับการให้อาหารทางสายยางที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม