ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

บทนำ

ไอบูโพรเฟน คือ ยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านยาทั่วไป ซึ่งเป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) สามารถรักษาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลางได้ดี เช่น อาการปวดฟัน ปวดศีรษะไมเกรน เป็นต้น และสามารถลดไข้ ลดอาการอักเสบ บวม แดง เช่น อาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ข้อเท้าพลิก หรืออาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาต่างๆได้ดี

รูปแบบของยาไอบูโพรเฟน

ผู้ใช้สามารถซื้อยาไอบูโพรเฟนรูปแบบต่างๆได้เองจากร้านยาทั่วไป ซึ่งมีหลายรูปแบบ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • รูปแบบเม็ด
  • รูปแบบเม็ดแคปซูล
  • รูปแบบยาน้ำ
  • รูปแบบยาทาชนิดเจล หรือ ครีม
  • รูปแบบสเปรย์

ในบางรูปแบบอาจมีการนำยาไอบูโพรเฟนมาผสมกับตัวยาสำคัญชนิดอื่น เช่น อาจนำมาผสมกับยาลดอาการคัดจมูก และนำมาจำหน่ายเป็นยารักษาอาการไข้หวัดและคัดจมูกได้

ยาไอบูโพรเฟนเหมาะกับใคร

ในบางรายอาจจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยาไอบูโพรเฟนหรืออาจต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ซึ่งผู้ที่ต้องระวังในการใช้ยาไอบูโพรเฟนมีดังนี้

  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยากลุ่มยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือ non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs)
  • มีภาวะกระเพาะอาหารเป็นแผล หรือมีประวัติการเป็นมาก่อน
  • เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มีอาการรุนแรง
  • เป็นโรคตับรุนแรง
  • ใช้ยาแอสไพรินขนาดต่ำอยู่เป็นประจำในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • อายุเกิน 65 ปี
  • ให้นมบุตร
  • เป็นโรคหอบหืด
  • มีปัญหาเกี่ยวกับโรคตับหรือไต
  • มีประวัติเลือดออกในทางเดินอาหาร
  • มีภาวะความดันโลหิตสูง
  • มีประวัติหลอดเลือดในสมองแตก

การใช้ยาไอบูโพรเฟนในหญิงตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟนอยู่แล้ว ยกเว้นกรณีมีการสั่งใช้ยาโดยแพทย์ประจำตัว และยาไอบูโพรเฟนสามารถส่งต่อสู่น้ำนมแม่ได้ในปริมาณน้อยอาจไม่ส่งผลอันตรายถึงบุตรที่ต้องกินนมแม่ ทั้งนี้จะแนะนำให้ใช้ยาพาราเซตามอลก่อนใช้ยาไอบูโพรเฟนเพื่อใช้ในการแก้ปวดและลดไข้ โดยให้ใช้ในระยะสั้นที่สุด

การใช้ยาไอบูโพรเฟนในเด็ก

ยาไอบูโพรเฟนสามารถใช้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป หรือเริ่มใช้ได้ในเด็กที่มีน้ำหนักอย่างน้อย 5 กิโลกรัม โดยใช้ในการรักษาอาการปวดหรือลดไข้

หากบุตรหลานของท่านมีอาการปวดหรือไข้สูงควรเริ่มใช้พาราเซตามอลก่อน หากยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์

วิธีการใช้ยาไอบูโพรเฟน

การใช้ยาไอบูโพรเฟนรูปแบบต่างๆ ควรใช้ตามขนาดที่กำหนดไว้ในฉลากยาของยาแต่ละชนิด หรือใช้ตามแพทย์หรือเภสัชกรสั่งเท่านั้น โดยขนาดของยานั้นจะขึ้นอยู่กับอายุ น้ำหนัก และรูปแบบของยาที่ใช้ เช่น ในผู้ใหญ่โดยปกติสามารถใช้ยาได้ในขนาดเม็ดละ 200 มิลลิกรัม 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ 1 วันไม่ควรใช้ยาเกิน 1,200 มิลลิกรัม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี อาจต้องปรับขนาดยาให้ต่ำลงโดยขึ้นอยู่กับอายุและน้ำหนักตัวของเด็ก ซึ่งควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา หากใช้ยาไป 3-4 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์

ปฏิกิริยาของยาไอบูโพรเฟนต่อยาชนิดอื่น อาหาร และแอลกอฮอล์

ยาไอบูโพรเฟนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นได้ โดยอาจไปเพิ่มหรือลดการออกฤทธิ์ของยาอื่นได้ หรืออาจเพิ่มผลข้างเคียงของยาได้

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับไอบูโพรเฟนได้มีดังนี้

ผลข้างเคียงของยาไอบูโพรเฟน

อาการข้างเคียงทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

อาการข้างเคียงที่อาจเกิด แต่พบได้น้อย ได้แก่

  • ปวดศีรษะหรือวิงเวียน
  • ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • กระเพาะอาหารมีการอักเสบ
  • มีอาการแพ้ เช่น มีผื่นแดง
  • อาการหอบหืดรุนแรงขึ้น
  • ไตวาย
  • อุจจาระมีสีดำหรืออาเจียนมีเลือดปน

หากมีการใช้ยาไอบูโพรเฟนในปริมาณสูง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการดังนี้

  • เส้นเลือดในสมองแตก
  • อาการหัวใจวาย
  • ในเพศหญิงที่ใช้ไอบูโพรเฟนเป็นเวลานานอาจทำให้มีบุตรยากขึ้น แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดยา

การใช้ยาไอบูโพรเฟนเกินขนาด

การใช้ยาเกินขนาดที่กำหนดไว้นั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายได้มาก ควรนำส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดและให้นำตัวยาที่ผู้ใช้เกินขนาดนำไปโรงพยาบาลด้วย ในบางรายจะมีอาการอาเจียน ปวดท้องมาก และได้ยินเสียงกริ่งในหูหลังจากใช้ยาปริมาณสูงเกินไปหรืออาจไม่มีอาการใดในช่วงแรก แต่ควรนำส่งโรงพยาบาลทันทีถึงแม้จะยังไม่มีอาการ

           

 


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ibuprofen: Uses, interactions, and side effects. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/161071)
Ibuprofen for adults: painkiller. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/medicines/ibuprofen-for-adults/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)