กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ไส้เลื่อน (Hernia)

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 19 ก.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ความหมายของภาวะไส้เลื่อน 

ไส้เลื่อน (Hernia) เป็นภาวะที่อวัยวะภายในเคลื่อนออกมาอยู่ผิดที่ไปจากตำแหน่งเดิม ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดกับลำไส้เคลื่อนมาจากช่องท้อง ได้แก่ 

  • ไส้เลื่อนผ่านออกมาทางช่องขาหนีบ (Inguinal hernia) พบมากในผู้ชาย 
  • ลำไส้เลื่อนออกมาบริเวณขาหนีบ (Femoral hernia) พบมากในผู้หญิงสูงอายุ โดยจะพบก้อนตุงบริเวณขาหนีบ 
  • ลำไส้เคลื่อนออกมาบริเวณสะดือ (Umbilical hernia) พบมากในเด็ก
  • ลำไส้เคลื่อนออกมาบริเวณหน้าท้องที่แผลผ่าตัดเก่าแยก (Incisional hernia)
  • กระเพาะอาหารเคลื่อนออกมาในช่องปอดผ่านกะบังลม (Hiatal hernia)

สาเหตุของภาวะไส้เลื่อน 

ภาวะไส้เลื่อนเกิดจากการอ่อนแอของผนังหน้าท้อง ซึ่งอาจเป็นแต่กำเนิด ภายหลังการผ่าตัด หรืออาจเกิดจากปัจจัยที่มีผลให้ความดันภายในช่องท้องเพิ่มขึ้น เช่น 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ผ่าตัดไส้เลื่อน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 57,000 บาท ลดสูงสุด 6,550 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ท้องอืด 
  • มีน้ำในช่องท้อง 
  • มีรูปร่างอ้วนมากหรือผอมมาก 
  • การตั้งครรภ์ 
  • การเบ่งถ่ายอุจาระ 
  • อาการไอเรื้อรัง 
  • การเล่นกีฬาหนักๆ 

พยาธิสภาพของภาวะไส้เลื่อน

พยาธิสภาพของภาวะไส้เลื่อน คือ ลักษณะความผิดปกติของร่างกายเมื่อเกิดภาวะไส้เลื่อน จะเป็นไปตามความรุนแรงของการอุดตัน สำหรับผู้ป่วยรายที่สามารถดันไส้เลื่อนกลับเข้าที่เดิมได้ จะไม่มีพยาธิสภาพมากนัก แต่ในผู้ป่วยรายที่ไส้เลื่อนอยู่ผิดที่และมีการอุดกั้น จะรู้สึกจุก อืด อาหารไม่ย่อย 

หากผู้ป่วยไม่สามารถดันไส้เลื่อนกลับเข้าไปได้ จะทำให้การย่อยและการดูดซึมสารอาหารผิดปกติไปในระยะแรก ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องแบบปวดบิดเกร็งอย่างรุนแรงจนอาเจียน ไม่มีการผายลมหรือถ่ายอุจจาระ จากนั้นลำไส้ส่วนที่ถูกอุดกั้นจะเน่าตายเนื่องจากขาดเลือดมาเลี้ยง และหากเยื่อบุช่องท้องอักเสบและติดเชื้อรุนแรงด้วย ผู้ป่วยก็อาจเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้ในที่สุด 

ชนิดของไส้เลื่อนที่พบได้บ่อยคือ ไส้เลื่อนขาหนีบ โดยลำไส้จะไหลลงไปกองในถุงอัณฑะ แต่สามารถใช้นิ้วดันกลับขึ้นไปได้

อาการของผู้ป่วยภาวะไส้เลื่อน 

ผู้ป่วยบางรายอาจมีเพียงความรู้สึกไม่สบายตัวเท่านั้น แต่บางรายจะมีอาการปวดรุนแรง ปวดเกร็งภายในท้อง อาเจียน ท้องอืด ท้องผูก รู้สึกกดเจ็บและผิวหนังอักเสบแดงบริเวณที่ไส้เลื่อน 

การวินิจฉัยภาวะไส้เลื่อน

การวินิจฉัยภาวะไส้เลื่อนจะวินิจฉัยผ่านการสอบถามประวัติ อาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น และจะมีการตรวจร่างกาย ดังต่อไปนี้

  • สอบถามว่าผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรง มีอาการปวดเกร็งภายในท้อง และมีอาการท้องอืดบ้างหรือไม่ 
  • แพทย์ตรวจพบก้อนตามตำแหน่งของไส้เลื่อน เช่น บริเวณสะดือ หน้าท้อง ขาหนีบ หรือมีก้อนไส้เลื่อนเคลื่อนที่ลงไปในถุงอัณฑะ และสามารถสังเกตก้อนที่บริเวณตำแหน่งดังกล่าวได้อย่างชัดเจน 

ปกติแล้ว ไส้เลื่อนขาหนีบจะโป่งนูนเวลาผู้ป่วยยืน หรือออกแรงเบ่ง เนื่องจากแรงดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้น หากปล่อยไว้นานก้อนจะโตขึ้นและมีภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ 

  • สำไส้กลับเข้าที่เดิมไม่ได้ 
  • ลำไส้ถูกบีบรัดหรือขาดเลือด 
  • ลำไส้ถูกอุดกั้น 
  • ปวดท้องมาก 
  • ท้องแข็ง 
  • ไม่ผายลม 
  • ไม่ถ่ายอุจจาระ 
  • มีอาการเจ็บ เมื่อกดลงไปบริเวณที่ไส้เลื่อน

การรักษาภาวะไส้เลื่อน

แพทย์จะรักษาภาวะไส้เลื่อนโดยการผ่าตัดนำลำไส้กลับเข้าไปในช่องท้อง และเย็บซ่อมรูหรือตำแหน่งที่ลำไส้ออกมา โดยการผ่าตัดที่มักจะได้ผลดี คือการผ่าตัดแก้ไขพื้นที่หรืออวัยวะส่วนที่ออกแรงมาก เช่น 

  • การผ่าตัดให้ผนังหน้าท้องกระชับตึงขึ้น (Herniorrhaphy)
  • การผ่าตัดบริเวณไส้เลื่อน โดยนำไส้กลับเข้าไปในช่องท้องแล้วเย็บซ่อมรูหรือจุดอ่อนให้เรียบร้อย (Herniotomy) 
  • การผ่าตัดโดยใช้แผ่นสารสังเคราะห์เย็บปิดรูหรือจุดอ่อน (Hernioplasty)

การพยาบาล

หลังจากผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว การพยาบาลผู้ป่วยสามารถทำได้โดยปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  1. ดูแลให้กระเพาะอาหารและลำไส้ได้รับเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ โดยผ่านการฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้ 
  2. ประเมินอาการปวดท้อง ท้องอืด อาการคลื่นไส้ อาเจียน หน้าท้องแข็งเกร็งของผู้ป่วยว่ามีความรุนแรงแค่ไหน
  3. ให้ผู้ป่วยงดอาหารและน้ำทางปาก เพื่อป้องกันการอักเสบและติดเชื้อในช่องท้อง
  4. ใส่สายสวนจากจมูกลงสู่กระเพาะอาหาร เพื่อระบายสิ่งที่คั่งค้างในกระเพาะอาหารออกให้มากที่สุด 
  5. วัดสัญญาณชีพทุก 2-4 ชั่วโมง 
  6. ติดตามผลการตรวจเม็ดเลือดขาวในเลือด และให้ยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง 
  7. สังเกตอาการอ่อนเพลีย ซึม ไม่มีแรง สับสน ผิวหนังแห้ง และกระหายน้ำของผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่
  8. บันทึกปริมาณน้ำที่เข้าออกจากร่างกาย และดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างเพียงพอ เพื่อทดแทนการงดอาหารและน้ำหลังการผ่าตัด
  9. ติดตามผลการตรวจเกลือแร่ในเลือดว่ามีระดับสมดุลดีหรือไม่
  10. หากผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากได้แล้ว แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอุ่นๆ หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีแก๊ส รวมทั้งให้ผู้ป่วยพยายามเรอหรือผายลม  
  11. ดูแลให้ผู้ป่วยทุเลาจากอาการปวดท้องและท้องอืด โดยเปลี่ยนท่าให้ผู้ป่วยอยู่บ่อยๆ พยายามให้ผู้ป่วยลุกนั่งและเดินทันทีที่ทำได้ 
  12. หลีกเลี่ยงอย่าให้ผู้ป่วยไอ และยกของหนัก  
  13. ฟังเสียงลำไส้บีบตัว เพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของลำไส้ว่าทำงานเป็นอย่างไร
  14. ให้ยาระบายกับผู้ป่วย เพื่อป้องกันอาการท้องผูก

จากวิธีการดูแลที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะไส้เลื่อนค่อนข้างมีความซับซ้อน และต้องมีการสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไส้เลื่อนขึ้นกับตนเอง คุณควรหลีกเลี่ยงการทำให้ช่องท้องเกิดความดัน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะไส้เลื่อนขึ้น เช่น การยกของหนัก การเบ่งอุจจาระแรงๆ การไอโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อยากทราบ ผู้สูงอายุเคยรับการผ่าตัดไส้เลื่อน3ครั้งแล้ว จะมีวิธีป้องกันได้ไหมค่ะ และถ้ามีอารการอีกจะผ่าได้อีกไหมค่ะอันตรายไหม เพราะท่านมีโรคแระจำตัวค่ะ ความดันสูง ไขมันในเลือด และมีกล้ามเนื้อกัวใจตาย2จุดค่ะ ( ขอขอบคุณค่ะ)
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เด็กที่เคยผ่าตัดไส้เลื่อนสามารถเล่นกีฬาชนิดใดได้บ้าง และจะมีผลทำให้กลับมาเป็นไส้เลื่อนอีกหรือไมา
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สาเหตุของการเป็นไส้เลื่อนคืออะไรคะ มีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ลูกชาย3เดือน ตรวจพบเป็นไส้เลื่อนแบบถุงน้ำ นอกจากการผ่าตัดมีวิธีรักษาอย่างอื่นไหมคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดท้องบ่อยๆค่ะ บางทีก็เจ็บบริเวณขาหนีบค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ลูกชายวัย 1 ขวบ 15 วัน มีลักษณะเป็นก้อนโตๆบริเวณหัวเหน่า จะเป็นไส้เลื่อนมั้ยคะ กังวลมากค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)