กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. ธนู โกมลไสย แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. ธนู โกมลไสย แพทย์ทั่วไป

การรับวัคซีนก่อนการเดินทางไปต่างประเทศ

แค่ภูมิอากาศเปลี่ยน ความชุกของโรคก็เปลี่ยนตาม ป้องกันโรคไว้ก่อนด้วยการฉีดวัคซีนก่อนเดินทางไปต่างประเทศ
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 1 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
การรับวัคซีนก่อนการเดินทางไปต่างประเทศ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การฉีดวัคซีน เป็นวิธีป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ ทำได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก และปลอดภัย เช่น วัคซีนอหิวาตกโรค วัคซีนคอตีบ หรือวัคซีนโรคไข้สมองอักเสบ
  • คุณควรศึกษาหาข้อมูลและขอรับคำแนะนำจากแพทย์อย่างน้อย 8 สัปดาห์ก่อนออกเดินทาง เนื่องจากวัคซีนบางชนิดอาจต้องรับก่อนล่วงหน้าเพื่อรอให้ออกฤทธิ์
  • ข้อควรพิจารณาในการรับวัคซีนก่อนเดินทางไปต่างประเทศ ประกอบด้วย ประเทศและช่วงเวลาที่จะไป ที่พัก ระยะเวลาเข้าพัก อายุและภาวะสุขภาพ และกิจกรรมที่จะทำในช่วงเดินทาง
  • สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอาจไม่แนะนำให้รับวัคซีนเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่รับยาเคมีบำบัด และผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไขกระดูก หรืออวัยวะ
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภูมิประเทศและภูมิอากาศมีผลต่อความชุกและการระบาดของโรคแตกต่างกัน 

ประเทศในเขตร้อนชื้นอาจมีโรคระบาดแบบหนึ่ง ประเทศในเขตหนาวอาจมีโรคระบาดอีกแบบหนึ่ง หรือประเทศในเขตอบอุ่นก็อาจมีโรคระบาดในอีกแบบหนึ่ง 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังตัดสินใจเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยการท่องเที่ยว การทำงาน หรือการเรียนก็ตาม การศึกษาข้อควรระวังเกี่ยวกับโรคระบาดในพื้นที่นั้นๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเตรียมตัวป้องกันไม่ให้ติดเชื้อและเจ็บป่วยตามมา

ในปัจจุบัน วิธีป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ ทำได้ง่าย รวดเร็ว สะดวก และปลอดภัย คือ การฉีดวัคซีน  

แต่อย่างไรก็ตาม คุณควรศึกษาหาข้อมูลและขอรับคำแนะนำจากแพทย์อย่างน้อย 8 สัปดาห์ก่อนออกเดินทาง เนื่องจากวัคซีนบางชนิดอาจต้องรับก่อนล่วงหน้าเพื่อรอให้ออกฤทธิ์ 

โดยแพทย์สามารถให้คำปรึกษาในเรื่องการรับวัคซีนทั่วไปได้ เช่น วัคซีนเพื่อป้องกันมาลาเรีย หรือบางรายอาจต้องได้รับการฉีดกระตุ้นซ้ำเป็นกรณีไป

ข้อควรพิจารณาในการรับวัคซีนก่อนเดินทางไปต่างประเทศ

  • ประเทศที่จะไป ประเทศที่แตกต่างกันจะมีโรคระบาดที่แตกต่างกันไป ดังนั้นต้องพิจารณาถึงวัคซีนที่จะต้องได้รับให้เหมาะสมกับประเทศที่จะไป
  • ช่วงเวลาที่จะไป ช่วงฤดูที่แตกต่างกันทำให้เจอโรคที่แตกต่างกัน เช่น บางโรคจะพบได้เฉพาะช่วงเวลาฝนตก เป็นต้น
  • ที่พัก หากต้องพักในบริเวณนอกเมืองมีจะความเสี่ยงมากกว่าเขตในเมือง หากต้องตั้งแคมป์ในป่าก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าพักในโรงแรม
  • ระยะเวลาที่เข้าพัก ยิ่งเข้าพักนานเท่าไร ความเสี่ยงที่จะสัมผัสต่อโรคก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
  • อายุและภาวะสุขภาพ บางรายอาจติดโรคง่ายกว่าคนปกติ หรือวัคซีนบางชนิดอาจจะเหมาะกับเฉพาะบางภาวะสุขภาพเท่านั้น
  • กิจกรรมที่จะทำในช่วงการเดินทาง เช่น การทำกิจกรรมกลางแจ้งมากก็อาจเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคมาก หากต้องสัมผัสกับสัตว์ก็จะมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะสัมผัสกับโรคที่มาจากสัตว์ เช่น พิษสุนัขบ้า 

การรับวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์และอยู่ระหว่างให้นมบุตร

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะรับวัคซีนถ้าหาก ตั้งครรภ์ หรือมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร โดยมากหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรได้รับวัคซีนบางชนิด เนื่องจากจะส่งผลต่อบุตรในครรภ์ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ 

การรับวัคซีนในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำอาจไม่แนะนำให้รับวัคซีนเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ ได้แก่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (ผู้ป่วยเอชไอวี หรือผู้ป่วยเอดส์) 
  • ผู้ที่รับยากดภูมิคุ้มกัน 
  • ผู้ที่รับยาเคมีบำบัด 
  • ผู้ป่วยที่เคยรับการผ่าตัดเปลี่ยนไขกระดูก หรืออวัยวะ 

วัคซีนสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ

วัคซีนสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ มีดังนี้

การรับวัคซีนอหิวาตกโรค (Cholera)

การให้วัคซีนอหิวาตกโรคเป็นวัคซีนที่ผู้ที่ต้องเดินทางส่วนใหญ๋ควรได้รับ ส่วนมากโรคนี้จะระบาดในพื้นที่ที่ไม่สะอาดและไม่ถูกสุขลักษณะ มีน้ำที่ไม่สะอาด เช่น เขตแอฟริกา เอเชียใต้ หรือตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง และเขตแคริบเบียน

วัคซีนชนิดนี้จะเป็นวัคซีนชนิดรับประทานแบ่งให้ 2 ครั้ง โดยให้ห่างกันในระยะเวลา 1-6 สัปดาห์ เด็กอายุ 2-6 ปี ควรได้รับ 3 ครั้ง โดยระยะห่าง 1-6 สัปดาห์เช่นกัน ผู้รับวัคซีนต้องมั่นใจว่า ได้รับวัคซ๊นครบถ้วนก่อนจะออกเดินทางอย่างน้อย 1 สัปดาห์

การรับวัคซีนคอตีบ (Diphtheria)

วัคซีนคอตีบเป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนจะต้องได้รับ เป็นวัคซีนผสมระหว่างโรคคอตีบ โปลิโอ และบาดทะยัก ผู้เดินทางอาจต้องรับวัคซีนกระตุ้นหากต้องไปประเทศที่โรคคอตีบกำลังระบาด เช่น ประเทศแถบแอฟริกา เอเชียใต้ โซเวียต เป็นต้น 

หากเคยได้รับวัคซีนนี้มาแล้วมากกว่า 10 ปี จะต้องได้รับการกระตุ้นใหม่ 

การรับวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A)

การรับวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปสู่ประเทศที่โรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ระบาด โดยเฉพาะหากต้องอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานาน หรือต้องเดินทางไปยังสถานที่ซึ่งมีสุขอนามัย ต่ำ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 386 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ได้แก่ อเมริกาเหนือ อินเดีย บังคลาเทศ เนปาล ปากีสถาน ฝั่งตะวันออกไกล ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้

การรับวัคซีนโดยมากจะรับเริ่มต้น 1 ครั้ง และกระตุ้นซ้ำอีกครั้งหลังจาก 6-12 เดือน ก็ได้ วัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกันการติดโรคได้ยาวนานถึง 20 ปี ทั้งนี้ควรได้รับวัคซีนครั้งแรกอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนออกเดินทาง

การรับวัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B)

โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีพบได้บ่อย ติดต่อได้ผ่านเลือด หรือสารคัดหลั่ง โดยเฉพาะหากต้องทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น กิจกรรมทางเพศ การฉีดยา หรือสัมผัสร่างกาย เล่นกีฬา จะส่งเสริมการติดเชื้อได้มากขึ้น 

พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี ได้แก่ แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรปใต้ และตะวันออก เป็นต้น

วัคซีนโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี ต้องรับวัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง อาจจะใช้ระยะเวลาทั้งหมด 3 สัปดาห์ถึง 6 เดือน ขึ้นกับความเร่งด่วนในการเดินทาง ทั้งยังมีแบบผสมระหว่างไวรัสตับอักเสบชนิด เอ และ บี ร่วมกันด้วย

การรับวัคซีนโรคไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis)

วัคซีนป้องกันโรคไข้สมองอักเสบมักจะแนะนำให้ฉีดในผู้ที่ต้องเดินทางไปยังประเทศที่ระบาดเป็นเวลานานอย่างน้อย 1 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเดินทางในช่วงฤดูฝน ต้องเดินทางไปในทุ่งข้าวหรือที่ราบลุ่ม หรือต้องเข้าร่วมกิจกรรมที่เพิ่มความเสี่ยง เช่น ตั้งแคมป์ เป็นต้น

โรคไข้สมองอักเสบสามารถพบได้ในทวีปเอเชีย เกาะในฝั่งแปซิฟิกตะวันตก เช่น ฟิจิ ปากีสถาน ยังพบได้ในเกาหลีเหนือ และตอนเหนือของออสเตรเลีย แต่ไม่พบในญี่ปุ่นอีกต่อไปเนื่องจากระบบวัคซีนที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง

วัคซีนไข้สมองอักเสบนั้นประกอบด้วยการฉีด 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 2 จะต้องฉีดหลังจากฉีดครั้งแรก 28 วัน และควรได้รับวัคซีนครบทั้ง 2 เข็มก่อนออกเดินทาง 1 เดือน

การรับวัคซีนโรคไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal Meningitis)

ควรรับวัคซีนหากต้องอาศัยอยู่กับประชากรของประเทศซึ่งมีการระบาดเป็นเวลานาน เช่น แอฟริกาและซาอุดิอาระเบีย เป็นต้น โดยผู้ที่ต้องเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ ประเทศซาอุดิอาระเบียจะต้องรับวัคซีนนี้ก่อนทุกคน

วัคซีนโรคไข้สมองอักเสบจะเป็นการฉีดครั้งเดียว ก่อนออกเดินทางประมาณ 2-3 สัปดาห์

การรับวัคซีนหัด คางทูม หัดเยอรมัน (Measles, Mumps, Rubella)

วัคซีนนี้จะได้รับในเด็กทุกคนตั้งแต่เกิด หากยังไม่ได้รับวัคซีนนี้ตั้งแต่ยังเด็กและต้องเดินทางไปยังประเทศที่โรคกำลังแพร่ระบาด ควรจะรับวัคซีนก่อนออกเดินทาง 

วัคซีนจะแบ่งเป็น 2 เข็ม โดยทั่วไปจะได้รับในเด็กอายุ 12-13 เดือน และการเริ่มเข้าโรงเรียน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ใหญ๋สามารถรับได้ 2 เข็ม เช่นกัน โดยเว้นระยะห่างระหว่างเข็มเป็นเวลา 1 เดือน โดยควรจะได้รับเข็มที่ 2 ก่อนออกเดินทางประมาณ 2 สัปดาห์

การรับวัคซีนโรคโปลิโอ (polio)

วัคซีนโปลิโอเป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับ ผู้ปกครองทุกคนควรแน่ใจว่า บุตรหลานของตนได้รับวัคซีนอย่างถูกต้องและครบถ้วนก่อนที่จะออกเดินทางไปยังประเทศต่างๆ

นอกจากนี้ควรได้รับวัคซีนกระตุ้นซ้ำหากต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีโปลิโอระบาด หรือหากเคยได้รับวัคซีนมาแล้วเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปี ก็ควรได้รับวัคซีนกระตุ้นซ้ำเช่นกัน ปัจจุบันโรคโปลิโอระบาดใน ปากีสถาน อัฟกานิสถาน และไนจีเรีย 

การรับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)

วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าเป็นวัคซีนที่พบได้บ่อยถ้าต้องเดินทางไปอยู่ในประเทศที่มีสัตว์เร่ร่อนมาก และถ้าต้องอยู่ในประเทศนั้นเป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือน ประเทศนั้นมีระบบการรักษาพยาบาลที่ยังไม่ดี หรือต้องทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับสัตว์นำโรค 

การให้วัคซีนแบ่งให้เป็น 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 จะแบ่งให้หลังจากรับเข็มแรก 7 วัน และครั้งที่ 3 จะรับหลังจากเข็มที่ 2 เป็นเวลา 14-21 วัน การรับเข็มกระตุ้นหือเข็มที่ 4 นั้น ไม่จำเป็นต่อผู้ที่ต้องเดินทางไปต่างประเทศ นอกเสียจากว่า เคยได้รับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้ามานานกว่า 10 ปีแล้ว 

การรับวัคซีนโรคบาดทะยัก (Tetanus)

วัคซีนโรคบาดทะยักเป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับตั้งแต่เกิด โดยเป็นวัคซีนที่รวมอยู่กับวัคซีนคอตีบและโปลิโอ ผู้ปกครองควรมั่นใจว่า บุตรหลานของท่านได้รับวัคซีนครบถ้วนก่อนที่จะต้องออกเดินทาง

การรับวัคซีนเข็มกระตุ้นซ้ำนั้นจะเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปในประเทศที่ระบบการรักษาพยาบาลไม่ดี หรือเคยได้รับวัคซีนมานานเกิน 10 ปี

วัคซีนไข้สมองอักเสบจากเห็บ (Tick-borne encephalitis)

วัคซีนชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องอาศัย หรือทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคไข้สมองอักเสบจากเห็บ เห็บซึ่งเป็นสัตว์นำโรคพบได้ในพื้นที่ป่าไม้ของยุโรปตอนกลาง ตะวันออก และตอนเหนือ และยังพบได้ในฝั่งรัสเซียตะวันออกและเอเชียฝั่งตะวันออก โดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่น

วัคซีนจะแบ่งให้เป็น 3 ครั้ง โดยเข็มที่ 2 จะให้หลังจากเข็มที่ 1 ประมาณ 1-3 เดือน (เข็มแรกจะให้ภูมิคุ้มกันได้ประมาณ 1 ปี) และเข็มที่ 3 จะให้หลังจากเข็มที่ 2 เป็นเวลาประมาณ 5-12 เดือน (เข็มสองซให้ภูมิคุ้มกันประมาณ 3 ปี) 

หากต้องเดินทางเร่งด่วน อาจรับเป็น 2 เข็มโดยเว้นระยะห่างประมาณ 2 สัปดาห์ได้ ซึ่งเข็มกระตุ้นซ้ำจะแนะนำให้รับการฉีดทุกๆ 3 ปี

การรับวัคซีนป้องกันวัณโรค (Tuberculosis)

วัคซีนวัณโรคเป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนต้องได้รับ โดยเป็นวัคซีนเพียงเข็มเดียว ประเทศที่มีความเสี่ยงต่อวัณโรคสูงได้แก่ แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซีย จีน อเมริกาใต้ เวียดนาม และกัมพูชา

การรับวัคซีนโรคไข้ไทฟอยด์ (Typhoid)

แนะนำให้รับวัคซีนชนิดนี้เมื่อต้องไปในพื้นที่เสี่ยงภัยและต้องพักอาศัย หรือทำงานอยู่กับชาวพื้นเมือง หรือต้องอาศัยอยู่ในที่ที่มีสุขอนามัยต่ำ อาหาร น้ำดื่มไม่สะอาด 

พื้นที่ที่เสี่ยงต่อโรคนี้ได้แก่  อินเดีย แอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง ยุโรป และอเมริกากลาง 

วัคซีนชนิดนี้จะรับเพียงเข็มเดียวและควรได้รับก่อนที่จะออกเดินทางประมาณ 1 เดือน และควรได้รับการกระตุ้นซ้ำทุก 3 ปี หากต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานาน 

การรับวัคซีนโรคไข้เหลือง (Yellow fever)

กฎอนามัยระหว่างประเทศ (WHO IHR) แนะนำให้ผู้จะเดินทางไปประเทศในแถบแอฟริกาและอเมริกาใต้ต้องรับวัคซีนไข้เหลืองก่อนเดินทางอย่างน้อย 10 วัน เนื่องจากประเทศดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดสูง สำหรับการรับเข็มกระตุ้นนั้นจะทำได้ทุก 10 ปี 

เตรียมตัวหาวิธีป้องกันตนเองก่อนการเดินทางทุกครั้งไม่ว่าจะใกล้ หรือไกล เพื่อไม่ให้คุณและคนที่คุณรักต้องตกเป็นเหยื่อของโรคนั้นๆ เพราะบางครั้งโรคอาจลุกลามและรุนแรงถึงชีวิต

ดูแพ็กเกจฉีดวัคซีน เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
CDC, Vaccine for Your Children: Before You Travel (https://www.cdc.gov/vaccines/parents/travel-vaccines.html), 1 August 2019
WHO, Vaccination requirements and recommendations for international travellers, including yellow fever and malaria (https://www.who.int/ith/2016-ith-county-list.pdf)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป