กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

Gastritis (กระเพาะอาหารอักเสบ)

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กระเพาะอาหารอักเสบ เป็นภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กถูกทำลายด้วยสาเหตุต่างๆ ทำให้ผนังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กสัมผัสกรดและสิ่งขับหลั่งจากกระเพาะอาหารจนเกิดเป็นแผล
  • สาเหตุของกระเพาะอาหารอักเสบมีมากมาย เช่น ความเครียด ความเจ็บป่วยทางกาย การรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา การดื่มสุรา ชา กาแฟ การรับประทานยาบางชนิด อาจเกิดจากการติดเชื้อ Helicobacter pylori ในกระเพาะอาหาร
  • อาการแสดงของกระเพาะอาหารอักเสบ เช่น ปวดท้องแบบแสบท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือยอดอก อาจปวดเวลาหิว หรือหลังตื่นนอนตอนดึก บางรายอาจปวดท้องรุนแรงแบบปวดบิดอย่างเฉียบพลัน อาหารไม่ย่อย จุกเสียด 
  • การรักษาทำได้ด้วยการให้ยาลดกรด ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อ งดรับประทานอาหารรสจัด อาหารมัน งดดื่มเครื่องที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ บางรายที่อาการรุนแรงอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย

กระเพาะอาหารอักเสบ เป็นภาวะเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กถูกทำลายด้วยสาเหตุต่างๆ ทำให้ผนังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กสัมผัสกรดและสิ่งขับหลั่งจากกระเพาะอาหารจนเกิดเป็นแผล

สาเหตุของกระเพาะอาหารอักเสบ

  • เกิดจากความเครียดทางร่างกาย หรือจิตใจ ผิดหวังในชีวิต มีการสูญเสียรุนแรง
  • เกิดจากความเจ็บป่วยทางกายอย่างรุนแรง ได้รับบาดเจ็บหลายระบบ 
  • เกิดจากการดื่มสุรา ดื่มชา กาแฟ 
  • เกิดจากการรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ 
  • เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา 
  • เกิดจากการทำงานหนัก 
  • เกิดจากการพักผ่อนไม่พอ 
  • อาจเกิดจากการติดเชื้อ Helicobacter pylori ในกระเพาะอาหาร 

หากเป็นกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากการรับประทานสารที่ระคายเคือง เช่น แอลกอฮอล์ กรดเข้มข้น พิษจากอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรีย ยา Salicylate  หากเป็นกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเรื้อรังมักเกิดจากพิษสุราเรื้อรัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

พยาธิสรีรภาพ

เมื่อในกระเพาะอาหารมีสภาพความเป็นกรดสูงจากกรดเกลือและเปปซิน เยื่อบุในกระเพาะอาหารจะถูกทำลายจนเกิดการอักเสบ รวมทั้งมีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น บริเวณที่สัมผัสกับกรดมากจะบวม แดง เกิดแผลเปื่อย 

หากสัมผัสบ่อยครั้งการอักเสบจะยิ่งขยายบริเวณกว้างขึ้นและลึกขึ้น จนในที่สุดผนังกระเพาะอาหารจะทะลุ เกิดเป็น "แผลเปปติก" 

เมื่อแผลเปปติกทะลุน้ำย่อยและกรดจากกระเพาะอาหารจะรั่วซึมเข้าไปในช่องท้อง เป็นสาเหตุให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนตามมาที่รุนแรงและเกิดอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง

อาการกระเพาะอาหารอักเสบ

  • ปวดท้องแบบแสบท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือยอดอก อาจปวดเวลาหิว หรือหลังตื่นนอนตอนดึก บางรายอาจปวดท้องรุนแรงแบบปวดบิดอย่างเฉียบพลัน 
  • จุกเสียดท้อง 
  • อาหารไม่ย่อย 
  • บางรายอาจมีไข้ เนื่องจากมีเยื่อบุช่องท้องอักเสบเฉียบพลัน 
  • อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน 
  • รับประทานอาหารไม่ได้ 
  • การย่อยและการดูดซึมสารอาหารผิดปกติ 
  • ร่างกายขาดสารอาหารทำให้มีอาการอ่อนเพลีย

การวินิจฉัยโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

  • มีประวัติปวดแบบแสบท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือยอดอก อาการปวดอาจสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวจัด หรือหลังตื่นนอนตอนดึก 
  • หากมีแผลเปปติกทะลุจะมีอาการปวดท้องรุนแรงแบบปวดบิดอย่างเฉียบพลัน มีอาการจุกเสียดท้อง อาหารไม่ย่อย มีไข้ 
  • หากมีการรั่วของน้ำย่อยและสิ่งขับหลั่งจากกระเพาะอาหาร เข้าสู่ช่องท้อง ทำให้เกิดเยื่อบุช่องท้องอักเสบ เฉียบพลัน มีอาการท้องอืด แน่นท้อง และกดเจ็บบริเวณลิ้นปี่ ตรวจนับเม็ดเลือดพบเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ 
  • หากมีแผลทะลุตรวจด้วยการส่องกล้องเข้ากระเพาะอาหาร (Gastroscopy) ถ่ายภาพรังสีกระเพาะอาหารโดยการกลืนแป้งแบเรียม (Barium swallow) เพื่อดูเงาภาพรังสีที่สะท้อนถึงรอยโรคในกระเพาะอาหาร

การรักษากระเพาะอาหารอักเสบ

  • ให้ยาลดกรด (Antacid) เช่น Alum milk  
  • ให้ยากลุ่ม H2-receptor antagonists เช่น Tagamet, cimetidine 
  • ให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อ โดยเฉพาะ Helicobacter pylori 
  • บางรายอาจต้องรักษาโดยการผ่าตัด ทำผ่าตัดกระเพาะอาหารออกบางส่วน และต่อกระเพาะอาหารที่เหลือกับลำไส้เล็กส่วนดูโอดีนัม เรียกว่า "Gastroduodenostomy: Billroth I" หรือต่อกระเพาะอาหารส่วนที่เหลือกับด้านข้างของลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม เรียก "Gastrojejunostomy: Billroth II" หรือการตัดเส้นประสาทเวกัส 
  • หากแผลในกระเพาะอาหารทะลุจะต้องทำผ่าตัดเพื่อเย็บซ่อมรอยทะลุ

การพยาบาล

  • ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา บรรเทาปวด โดยให้ยาแก้ปวดแก้อักเสบ หรือ ยาลดกรด 
  • ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอ 
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน 
  • ควรงดรับประทานอาหารรสจัด อาหารมัน 
  • หากต้องรับประทานยารักษาข้อควรให้พร้อมนม หรืออาหารเพื่อลดการสัมผัสกับเยื่อบุกระเพาะอาหาร

หมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง ไม่ควรคิด (เอง) ว่า "เอาน่า เดี๋ยวก็หาย แค่ปวดท้องเอง" เพราะบางครั้งหากปล่อยไว้เรื้อรังอาการอาจจะรุนแรง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจนยากต่อการรักษา 

หากไม่แน่ใจว่า อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นคืออะไร ควรไปพบแพทย์จะดีที่สุด 

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Drugs.com, Gastritis Guide: Causes, Symptoms and Treatment Options (https://www.drugs.com/health-guide/gastritis.html), 15 December 2019.
Cleveland Clinic, Gastritis (Dyspepsia): Causes, Symptoms, Diagnosis & Treatment (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/10349-gastritis), 16 December 2019.
MedlinePlus, Gastritis (https://medlineplus.gov/ency/article/001150.htm), 14 December 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
อาการเรอไม่หายสักทีตลอดเวลา6เดือนคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการปวดท้องเหนือสะดือ คืออะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ชอบเป็นไหลย้อนตัองรักษาแบบไหนค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการของโรคแสบร้อนกลางอกเกิดจากอะไรคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ชอบปวดท้องค่ะ ปวดท้องแบบ งง ๆ เป็นคนดื่มค่ะ ดื่มหนัก เวลาทานอะไรเข้าไปมาก ๆ ชอบจะปวดท้องแสบท้อง ท้องก็จะบวม ๆ ใหญ่ ๆ ขึ้นด้วยค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
โรคกระเพาะอาหารอักเสบรักษาให้หายขาดได้หรือไม่
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)