น้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในร่างกายมนุษย์มากถึง 70 % เราสามารถพบน้ำได้ในน้ำเลือด น้ำเหลือง เนื้อเยื่อ เซลล์ และอวัยวะต่างๆ ไม่เพียงเท่านั้นน้ำยังเป็นสารอาหารสำคัญที่จะขับเคลื่อนระบบต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานได้ราบรื่น
เช่น ละลายอาหารที่ย่อยแล้วและแพร่ผ่านผนังหลอดเลือดที่ลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด ช่วยลำเลียงอาหารที่ย่อยแล้วไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ช่วยในการนำของเสียออกจากร่างกายช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ร่างกายสูญเสียน้ำได้ทางไหนบ้าง
อย่างไรก็ตาม ระดับน้ำในร่างกายไม่สามารถคงอยู่แบบคงที่ได้ตลอดไป และสามารถสูญเสียออกจากร่างกายได้ในแต่ละวันดังต่อไปนี้
- ปัสสาวะ 1.5 ลิตร
- อุจจาระ 0.1 ลิตร
- ปอด(หายใจเป็นไอน้ำ) 0.4 ลิตร
- เหงื่อ 0.6 ลิตร
เมื่อมีการสูญเสียน้ำมากถึงวันละประมาณ 2.6 ลิตร ดังนั้นเราจำเป็นต้องรับน้ำเข้าไปชดเชยกับส่วนที่สูญเสียไปเช่นกัน โดยปริมาณน้ำที่แนะนำให้ดื่มต่อวันคือ 1.5-2 ลิตร นอกจากได้จากดื่มน้ำโดยตรงแล้ว เรายังสามารถได้รับน้ำจากอาหาร ผักและผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่เรารับประทานในแต่ละวันด้วย
อาการเมื่อขาดน้ำ
เมื่อร่างกายมีน้ำน้อยเกินไปจะทำให้เราเกิดความรู้สึกกระหายน้ำ ทำให้คอแห้ง กระหายน้ำ และอาจจะนำไปสู่ สภาวะแห้งน้ำคือ หนังเหี่ยว ตาลึก ลิ้น ปาก และคอแห้ง และมักจะมีไข้สูง
อย่างไรก็ตาม การรู้สึกกระหายน้ำเมื่อร้อน หรือหลังจากที่ออกกำลังกายอย่างหนักถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากรู้สึกหิวน้ำแบบต่อเนื่อง และความรู้สึกกระหายน้ำยังไม่หายไป บางทีการะหายน้ำนั้นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพก็ได้
สาเหตุที่ทำให้กระหายน้ำ
1.ภาวะขาดน้ำ
ภาวะขาดน้ำหมายถึงการที่ร่างกายไม่ได้รับน้ำอย่างเพียงพอเพื่อที่จะทำงานได้ตามปกติ ซึ่งการเกิดความรู้สึกกระหายน้ำถือเป็นอาการพื้นฐาน ทั้งนี้ภาวะขาดน้ำสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ออกกำลังกาย ท้องเสีย อาเจียน เหงื่อออกมากเกินไป ฯลฯ
นอกจากอาการกระหายน้ำแล้ว ผู้ป่วยก็อาจมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย เช่น มีปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะไม่บ่อย ปากแห้ง ผิวแห้ง รู้สึกเหนื่อยหรือเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ฯลฯ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ในกรณีที่เด็กตกอยู่ในภาวะขาดน้ำ จะแสดงอาการเหล่านี้ออกมา เช่น มีน้ำตาน้อย หรือไม่มีน้ำตาเมื่อร้องไห้ ผิวและปากแห้ง ไปห้องน้ำน้อยลง หรือผ้าอ้อมไม่ค่อยเปียก หงุดหงิด เฉื่อยชา
2.โรคเบาหวาน
ความรู้สึกกระหายน้ำถือเป็นหนึ่งในอาการของโรคเบาหวาน เมื่อเป็นโรคนี้ร่างกายจะไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินอย่างเพียงพอ หรือนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ทำให้น้ำตาลกลูโคสก่อตัวในร่างกายมากเกินไป ร่างกายจึงพยายามขับน้ำตาลออกมา จึงทำให้ปัสสาวะบ่อย และต้องการน้ำเพิ่มเติมเพื่อทดแทนน้ำที่เสียไป
นอกจากอาการกระหายน้ำและปัสสาวะบ่อยแล้ว ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น หิวบ่อย อ่อนเพลีย รู้สึกเหนื่อยมาก น้ำหนักลดลงแบบไม่ทราบสาเหตุ หากมีแผลจะใช้เวลานานกว่าที่แผลจะหาย
3.โรคเบาจืด
โรคเบาจืดไม่ได้มีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน ซึ่งมันจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนไม่เพียงพอที่จะช่วยไตควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย ความรู้สึกกระหายน้ำอย่างรุนแรงคือ หนึ่งในอาการสำคัญของโรคเบาจืด
หากคุณเป็นโรคเบาจืด คุณก็อาจตกอยู่ในภาวะขาดน้ำ และปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
4.ปากแห้ง
อาการปากแห้งมักเกิดจากการที่ต่อมในปากผลิตน้ำลายออกมาน้อยลง การรับประทานยาบางชนิด หรือผลข้างเคียงจากการกระบวนรักษาโรคมะเร็ง โรคโจเกรน (Sjogren’s syndrome) เส้นประสาทในศีรษะและคอถูกทำลาย การสูบบุหรี่ ฯลฯ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หากต่อมในปากผลิตน้ำลายออกมาน้อย นอกจากปากจะแห้งกว่าปกติแล้ว คุณก็อาจจะมีกลิ่นปาก ประสาทรับรสเปลี่ยนไป เหงือกระคายเคือง ลิปสติกติดฟัน น้ำลายหนาและเหนียว มีปัญหากับการเคี้ยว
5.โรคโลหิตจาง
การเป็นโรคโลหิตจางคือ การที่ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่เพียงพอ ทำให้เกิดภาวะซีดตามมา บางคนอาจเกิดมาพร้อมกับโรคนี้ ในขณะที่บางคนอาจเป็นโรคนี้ในภายหลังได้
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง เช่น การเป็นโรคอื่นๆ การขาดสารอาหารบางชนิด การเสียเลือดออกมากเกินไป อย่างไรก็ตาม การเป็นโรคโลหิตจางระดับเบาอาจไม่ทำให้กระหายน้ำมาก แต่หากโรคอยู่ในระดับรุนแรงก็อาจมีอาการได้เช่นกัน
สำหรับอาการอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น เวียนศีรษะ รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย มีปัสสาวะสีซีด ผิวเหลือง ชีพจรเต้นเร็ว เหงื่อออก ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม การเกิดความรู้สึกหิวน้ำถือเป็นเรื่องปกติและการดื่มน้ำอย่างถูกวิธีก็เป็นวิธีสำคัญที่ช่วยดับกระหายได้ แต่ถ้ายังคงรู้สึกหิวน้ำแม้ว่าจะดื่มน้ำเข้าไปมากแล้วก็ตามควรไปพบแพทย์ เพราะบางครั้งร่างกายอาจส่งสัญญาณเตือนว่า "กำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้น หรือกำลังจะเป็นโรคใดโรคหนึ่งก็ได้"
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพหญิงและชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android