อาหารอะไรที่ดีหรือไม่ดีต่อท้องของคุณ
อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหมักที่เรียกว่า FODMAPs นั้นจะทำให้แบคทีเรียในทางเดินอาหารเจริญเติบโตซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบภายในกระเพาะ มีแก๊ซ ท้องอืด และมวนท้องได้ การลดอาหารที่อยู่ในกลุ่มนี้จะช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารของคุณนั้นดีขึ้น ลดปัญหาที่เกิดขึ้นและทำให้น้ำหนักลดได้
แตงโม : หลีกเลี่ยง
แตงโมนั้นมีน้ำตาลฟรุกโตส ฟรุกแตนและ polyols สูงซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม FODMAPs และยิ่งคุณทานอาหารในกลุ่มนี้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อการที่ระบบย่อยอาหารมีปัญหาเท่านั้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาหารหมักดอง: บางอย่างทานได้ บางอย่างควรหลีกเลี่ยง
อาหารหมักดองบางชนิดนั้นดีต่อท้องของคุณในขณะที่บางส่วนอาจทำให้เกิดปัญหาในคนบางกลุ่มได้ อาหารหมักดองนั้นยังรวมถึงไวน์ ชีส น้ำส้มสายชู มิโซะ โยเกิร์ต sauerkraut และแตงกวาดอง นมที่อยู่ในโยเกิร์ตนั้นมีแบคทีเรียซึ่งจะช่วยสลายน้ำตาลแลคโสบางส่วนซึ่งจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ง่ายขึ้น ดังนั้นอาหารหมักดองในกลุ่มโยเกิร์ตนั้นจึงจัดเป็นอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งดีต่อระบบย่อยอาหาร เวลาเลือกให้มองหาผลิตภัณฑ์จากนมที่มีน้ำตาลแลคโตสต่ำและระบบย่อยอาหารของคุณก็จะสามารถทำงานได้ดี
ถั่วพิชตาชิโอ้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เฮเซลนัท และแอลมอนด์ : หลีกเลี่ยง
ถั่วส่วนใหญ่นั้นดีต่อท้องของคุณแต่ถั่วพิชตาชิโอ้และเม็ดมะม่วงหิมพานต์นั้นมีน้ำตาล fructans และ GOS สูงซึ่งอยู่ในกลุ่ม FODMAPs แอลมอนด์และเฮเซลนัทกีมีสาร FODMAPs สูงกว่าถั่วชนิดอื่นเล็กน้อยดังนั้นควรจำกัดการรับประทาน (10 เม็ดหรือเนยถั่ว 1 ช้อนชา) ควรหลีกเลี่ยงนมแอลมอนด์เนื่องจากผลิตจากแอลมอนด์จำนวนมาก
อาหารที่เป็นกรด : รับประทานอย่างระวัง
คุณอาจจะเคยเข้าใจว่าอาหารที่เป็นกรดเช่นส้มและมะเขือเทษนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ แต่งานวิจัยพบว่า อาหารเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลต่อความดันที่ทำต่อหูรูดกระเพาะอาหารและไม่ได้ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางหน้าอก อย่างไรก็ตามหากคุณมีอาการกรดไหลย้อนรุนแรงซึ่งยังไม่ได้รักษาและมีหลอดอาหารเกิดการระคายเคือง อาหารที่เป็นกรดนั้นก็อาจจะทำให้อาการของคุณแย่ลงได้ ดังนั้นหากคุณพบว่าส้มหรือมะเขือเทศทำให้อาการของคุณแย่ลง ควรเปลี่ยนไปรับประทานผลไม้อื่นๆ
ผลิตภัณฑ์จากนม : บางอย่างรับประทานได้ บางอย่างควรหลีกเลี่ยง
ผลิตภัณฑ์จากนมแต่ละชนิดนั้นมีระดับน้ำตาลแลคโตสไม่เท่ากันซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารได้ และแม้แต่คนที่ไม่มีเอนไซม์ย่อยน้ำตาลแลคโตสก็มักจะยังสามารถรับประทานน้ำตาลแลคโตสได้ในปริมาณเล็กน้อย นั่นหมายความว่าไม่ใช่นม ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิดจะทำให้เกิดอาการมวนท้องเสมอไป ชีสแข็งนั้นมักจะมีน้ำตาลแลคโสน้อยกว่า และโยเกิร์ตแบบกรีกรสธรรมชาตินั้นก็มักจะมีน้ำตาลแลคโตสต่ำเนื่องจากมีกรรมวิธีที่แตกต่างจากโยเกิร์ตรสธรรมชาติทั่วไป ควรระวังการรับประทานชีสแปรรูปและโยเกิร์ตหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีการแต่งรสเนื่องจากพวกมันอาจมีน้ำตาลแลคโตสสูง
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง : บางอย่างทานได้ บางอย่างควรหลีกเลี่ยง
ถั่วญี่ปุ่นนั้นเป็นแหล่งของ GOS ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ย่อยได้ยาก เต้าหู้และ tempeh นั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการกำจัด GOS บางส่วนทำให้พวกมันย่อยได้ง่ายขึ้น ในขณะที่นมถั่วเหลืองนั้นจะแล้วแต่ผลิตภัณฑ์ หากใช้ถั่วเหลืองสกัดหรือโปรตีนจากถั่วเหลืองเท่านั้นก็น่าจะมีสาร FODMAPs ต่ำ ในขณะหากทำจากถั่วเหลืองทั้งหมดก็อาจจะทำให้ได้รับ GOS ในปริมาณสูงได้ ดังนั้นคุณควรอ่านฉลากก่อนเลือกรับประทาน
แบล๊กเบอร์รี่ : หลีกเลี่ยง
แม้ว่าแบล๊กเบอร์รี่นั้นจะมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงแต่ก็มีสารในกลุ่ม polyols ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์จากน้ำตาลที่ย่อยได้ยากสูงเช่นกัน และอาจทำให้เกิดปัญหาในระบบย่อยอาหารได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
มะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ : บางอย่างทานได้ บางอย่างควรหลีกเลี่ยง
มะเขือเทศสดและมะเขือเทศกระป๋องนั้นปลอดภัยสำหรับทางเดินอาหารของคุณ แต่ถ้าหากเป็นครีมมะเขือเทศที่ทำมาจากมะเขือเทศเข้มข้นและมีน้ำตาลฟรุกโตสสูงก็ควรหลีกเลี่ยง ซอสมะเขือเทศที่ผลิตเองนั้นสามารถรับประทานได้ แต่ผลิตภัณฑ์ที่วางขายทั่วไปนั้นมักจะมีการเติมหัวหอมและกระเทียม (ซึ่งมีสารในกลุ่ม FODMAPs) การเติมน้ำตาล (ซึ่งทำให้มีคาร์โบไฮเดรตสูง) และเกลือ (ซึ่งทำให้ท้องอืด) ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงซอสมะเขือเทศในกลุ่มนี้
น้ำเกรปฟรุ๊ต : ทานอย่างระมัดระวัง
เกรปฟรุ๊ตนั้นมีน้ำตาล fructans ดังนั้นคุณควรรับประทานอย่างจำกัด ควรทานวันละไม่กี่ชิ้น และอย่าทานมากขนาดครึ่งลูก หากคุณต้องการรสเปรี้ยว ควรเลือกรับประทานมะนาว เลมอน และส้มแทน
นม : บางอย่างทานได้ บางอย่างควรหลีกเลี่ยง
น้ำนมสัตว์ทุกชนิดนั้นมีน้ำตาลแลคโตสสูงนั่นแสดงว่านมแพะหรือแกะนั้นก็สามารถทำให้เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกับนมวัว นมจากพืชเช่นนมจากมะพร้าว ถั่วเหลืองหรือแอลมอนด์นั้นไม่ได้เป็นนมจริงๆ และไม่ได้มีน้ำตาลแลคโตส อย่างไรก็ตามนมแอลมอนด์และนมถั่วเหลืองนั้นอาจจะมีสารตัวอื่นในกลุ่ม FODMAPs ที่เป็นอันตรายต่อระบบย่อยอาหารได้
ข้าวโพด : หลีกเลี่ยง
ข้าวโพดนั้นมีอยู่ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ป๊อปคอร์น หรือข้าวโพดสด ข้าวโพดหวานสดนั้นมี FODMAPs 2 ตัวทำให้บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยอาหารหลังรับประทานข้าวโพดได้ ป๊อปคอร์นั้นอาจจะดูเป็นขนมที่ดีต่อสุขภาพ แต่จริงๆ แล้วก็มีคาร์โบไฮเดรตสูง (คาร์โบไฮเดรต 64 กรัมในป๊อปคอร์น 100 กรัม) และอาจจะมีไขมันชนิดทรานส์ซึ่งทำให้เก็บได้นานขึ้นซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการย่อยอาหารได้ คนส่วนมากมักจะรับประทานอาหารจากข้าวโพดได้ดีกว่า ดังนั้นคุณอาจจะต้องทดลองกับตัวคุณว่าผลิตภัณฑ์แบบไหนที่คุณสามารถรับประทานได้ และควรรับประทานอย่างจำกัด
กะหล่ำปลี : รับประทานได้
กะหล่ำปลีสีเขียวนั้นมีสารในกลุ่ม FODMAPs น้อยและคนส่วนใหญ่สามารถย่อยพวกมันได้ดี กะหล่ำปลีแดงนั้นก็สามารถรับประทานได้ดีเช่นกัน ในขณะที่กะหล่ำปลีพันธื savoy และ napa นั้นมีสารในกลุ่ม FODMAPs สูงกว่าและควรรับประทานอย่างจำกัดหากคุณมีอาการท้องอืดหรือมีแก๊ซ
ซอสเผ็ด : รับประทานอย่างระมัดระวัง
แต่ละคนสามารถรับประทานซอสเผ็ดได้ไม่เท่ากัน มันอาจจะเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่มีอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้ หากคุณอยากลองทานเล็กๆ น้อยๆ ให้เลือกยี่ห้อที่ไม่มีหัวหอมและกระเทียม