โรคความดันสูง เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากภาวะความดันภายในเลือดสูงกว่าปกติ ถึงแม้ความดันสูงจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ก็สะท้อนได้ว่าโรคนี้มักเกิดจากการสะสมจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา จนสุดท้ายมาเกิดอาการป่วยเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาส่วนหนึ่งมาจากการทานอาหาร โดยเฉพาะคนส่วนใหญ่ที่มักทานตามใจปาก เน้นอาหารอร่อยรสชาติถูกใจ ถึงแม้จะเค็มบ้างเผ็ดบ้าง แต่ก็ทานเพื่อความสุขโดยไม่ทันระวังตัว จนเมื่ออายุมากขึ้นถึงได้ส่งผลเสียที่ตามมา
อาหารที่เป็นภัยต่อโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะความดันโลหิตสูง หรือเรียกได้ทั่วไปสั้นๆ ว่า "ความดันสูง" เป็นอีกหนึ่งโรคที่สามารถพบได้บ่อยในวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงอายุ ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม ความเครียด การทานอาหาร และไม่ค่อยออกกำลังกาย เมื่อเป็นแล้วมักจะเป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย มาดูกันว่าอาหารอะไรบ้างที่เป็นภัยต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อาหารรสเค็ม
เพราะโซเดียมเป็นภัยร้ายที่ทำให้เกิดโรคความดันสูง โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมอัตราการถ่ายเทของน้ำในเซลล์ มีบทบาทสำคัญในการสื่อสัญญาณไฟฟ้าระหว่างเซลล์ประสาท ช่วยเผาผลาญโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต แต่ถ้าหากมีมากเกินไป จะกลายเป็นการไปดูดน้ำในเซลล์ต่าง ๆ เพราะโซเดียมนี้มีคุณสมบัติดูดน้ำได้ดี ทำให้เป็นอันตรายต่อภาวะความดันสูง สังเกตจากเมื่อเราทานเกลือ หรืออาหารที่ใส่ผงชูรสเยอะเราจะหิวน้ำเป็นพิเศษนั่นเอง
อาหารที่มีไขมันสูง
อาหารประเภททอด แกงที่มีกะทิควรเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะคนที่มีอายุมากขึ้นจะมีความสามารถในการเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันมาก ๆ จะยิ่งก่อให้เกิดการสะสมของไขมันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยิ่งเป็นการเพิ่มอุปสรรคต่อการเผาผลาญพลังงาน
กาแฟ ชา และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
อย่างที่ทราบกันดีว่าในกาแฟมีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งคาเฟอีนจะส่งผลทำให้ระดับความดันเลือดเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อคนที่มีความเสี่ยงหรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงอยู่แล้วได้รับคาเฟอีนเข้าไป จะทำให้มีระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติ แถมยังลดประสิทธิภาพในการทำงานของยาลดความดันโลหิตบางกลุ่มด้วย
อาหารที่ควรทานเพื่อลดความดันโลหิตสูง
1. โยเกิร์ตรสธรรมชาติ
นอกจะมีแมกนีเซียมสูง ยังอุดมไปด้วยโพแทสเซียม และแคลเซียมสูง โดยควรเลือกโยเกิร์ตรสธรรมชาติเพราะไม่มีคลอเรสเตอรอล ซึ่งดีต่อสุขภาพมากกว่า
2. ปลานิล
ปลาเนื้อขาวส่วนใหญ่อุดมไปด้วยแร่ธาตุแมกนีเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งมีประโยชน์ต่อคนที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิต
3. กีวี
กีวีอุดมด้วยวิตามินซีสูงมาก ซึ่งวิตามินซีนี่้เองที่จะทำงานร่วมกับแร่ธาตุโพแทสเซียม ช่วยปรับสมดุลระดับความดันโลหิตของเราได้
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
4. อะโวคาโด
เป็นผลไม้ที่มีกรดไขมันชนิดดี (High Density Lipoprotein: HDL) ช่วยลดระดับไขมันเลว (Low Density Lipoprotein: LDL) ในกระแสเลือด โดยเฉพาะไขมันเลวชนิดคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียมอยู่ถึงร้อยละ 10 ที่จะช่วยคงสมดุลของระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติได้
5. ผักคะน้า
ผักใบเขียวอย่างคะน้าอุดมด้วยวิตามินซีสูง เมื่อปรุงสุกแล้วจะมีแร่ธาตุโพแทสเซียมกับแคลเซียมเป็นจำนวนมาก เมื่อทำงานร่วมกับวิตามินซี จะช่วยเพิ่มการกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตให้ทำงานเป็นปกติ
6. พริกหยวกแดง
มีแร่ธาตุโพแทสเซียม ที่พร้อมจะช่วยปรับสมดุลความดันเลือดของเราให้เป็นปกติ
7. บรอกโคลี
อุดมด้วยโพแทสเซียม ที่จะช่วยปรับสมดุลระดับความดันเลือดของเราให้เป็นปกติได้
8. ธัญพืชต่างๆ โดยเฉพาะถั่ว
นอกจากจะช่วยลดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังมีไขมันดีที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายอีกด้วย ทั้งนี้ควรเลือกธัญพืชประเภทที่ไม่อบเกลือ เพื่อเลี่ยงโซเดียม
9. แตงโม
เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์หลากหลาย อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด อย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบีรวม แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส มีส่วนช่วยควบคุมการไหลเวียนของโลหิต และควบคุมการขยายตัวของเส้นเลือด
10. ขึ้นฉ่าย
มีประโยชน์ในการช่วยทำให้เจริญอาหาร กระตุ้นให้เกิดความอยากอาหาร และยังเป็นผักที่มีโพแทสเซียมสูง ซึ่งช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือดได้ดี ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและยังลดความเครียดที่ก่อให้เกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน
จะเห็นได้ว่าอาหารที่ดีต่อภาวะโรคความดันโลหิตสูง มักเป็นอาหารที่มีโพแทสเซียม และแมกนีเซียมเสียส่วนใหญ่ ซึ่งสารอาหาร 2 ตัวนี้ เปรียบเสมือนตัวช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติได้ ที่สำคัญถึงแม้จะเลือกอาหารที่มีประโยชน์แล้ว เราควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วย เพราะการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ไม่เพียงแต่ช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงโรคอื่น ๆ และเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายด้วย