ปัญหาที่ทำให้คนบางคนต้องหน้าแตกอยู่บ่อยๆ คือมีแก๊สในระบบย่อยมากจนต้องเรอออกมา ทำให้คนที่คุยด้วยต้องเบือนหน้าหนี ยิ่งไปกว่านั้นคือลมเสียที่ออกจากระบบย่อยส่วนล่าง ส่งทั้งเสียงและกลิ่นที่น่ารังเกียจ คนไข้หลายๆ คนแอบกระซิบถามเสมอๆ ว่าจะแก้ไขปัญหานี้ได้ยังไง
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกับการทำงานของระบบย่อยเสียก่อนแล้วจะเห็นทางแก้ไข
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แก๊สที่เกิดในระบบย่อยเกิดจากการกลืนลมมากเกินไปและอาหารย่อยในลำไส้ใหญ่ไม่หมด เช่น คาร์โบไฮเดรตที่มีกาก แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะทำการหมักเพื่อใช้เป็นอาหาร ทำให้เกิดแก๊สและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ฉะนั้นอาหารที่คุณเลือกกินจะเป็นตัวกำหนดการเกิดแก๊สได้
ทุกครั้งที่เรากลืนอาหาร เครื่องดื่ม หรือแม้กระทั่งน้ำลาย จะมีอากาศเล็กน้อยตามเข้าไปในกระเพาะอาหาร อาหารที่เคลื่อนเข้าสู่กระเพาะอาหารจะถูกย่อยให้มีขนาดเล็กลงและส่งไปยังลำไส้เล็ก กระบวนการตรงจุดนี้จะใช้เวลามากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาวะระบบย่อยของแต่ละคน โดยทั่วไปจะใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง กระเพาะอาหารจะบีบตัวเพื่อเคลื่อนอาหารที่ถูกย่อยเข้าไปในลำไส้เล็ก สารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุจะถูกดูดซึมตามส่วนต่างๆของลำไส้เล็ก
ส่วนที่ไม่ถูกย่อยหรือส่วนของเสียจะเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ เพื่อรอการขับถ่าย ขณะเดียวกันแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะทำการย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ไม่สามารถย่อยได้ และผลิตแก๊สในกระยวนการย่อย
ใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ เช่น รำข้าวโอ๊ต ผัก ผลไม้ ถั่ว ทำให้เกิดแก๊สได้มากกว่าใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ เช่น รำข้าวสาลี และผักต่างๆ เพราะแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะย่อยผนังเซลล์ของใยอาหารที่ละลายน้ำและทำให้เกิดแก๊สในกระบวนการหมัก ในขณะที่ใยอาหารไม่ละลายน้ำที่ผ่านเข้าไปในลำไส้ใหญ่จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง
ทำไมจึงเรอ
การเรอมักเกิดขึ้นหลังจากที่กินอาหาร แต่บางคนอาจจะเรอมากผิดปกติจนน่ารำคาญ การเรอเป็นการขับลมที่กลืนเข้าไปออกจากกระเพาะอาหาร ลมบางส่วนจะผ่านเข้าไปในระบบย่อย กระเพาะอาหารคนเราไม่สามารถผลิตแก๊สได้เอง แต่แก๊สจะมาจากการกลืนน้ำลาย อาหาร เครื่องดื่ม โดยเฉพาะชนิดที่มีแก๊สคาร์บอเนต ยิ่งกลืนมากเท่าไร อากาศก็ยิ่งเข้าไปมากเท่านั้น และทำให้เราเรอมากขึ้น
การเรอไม่ใช่ปัญหาที่น่ากลัว แพทย์อาจจะให้ยาและแนะนำให้เลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ท้องอืด
อาการท้องอืดหลังอาหารเกิดในผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชายโดยไม่ทราบสาเหตุ ปกติสาเหตุทั่วๆไปของท้องอืดเกิดจากการบีบตัวอย่างไม่ปกติของกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนบน หรือการคลายตัวของกล้ามเนื้อท้องปัจจุบันแพทย์อาจให้ยาช่วยกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้เล็กส่วนบน เพื่อช่วยให้ลำไส้บีบตัวให้อาหารและของเหลวเคลื่อนตัวผ่านไปได้ จะช่วยลดอาการท้องอืดได้
นอกจากนี้อาการท้องอืออาจเกิดจากลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome) ซึ่งเกิดจากการบีบตัวและเกร็งตัวของลำไส้ความเครียดและความวิตกกังกลก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาการของโรคกำเริบ
ท้องอืดยังเกิดได้จากการเคลื่อนตัวของอาหารจากกระเพาะอาหารสู่ลำไส้ช้าผิดปกติ หากอาการเรื้อรังและรุนแรงขึ้น การที่จะให้รู้แน่ชัดว่าสาเหตุของท้องอืดคืออะไร สามารถตรวจได้โดยการเอกซเรย์และส่องกล้อง
ท้องอืดอาจเกิดจากการดูดซึมอาหารผิดปกติ การผ่าตัดในส่วนระบบทางเดินอาหารอาจทำให้แก๊สเกิดขึ้นในปริมาณมาก ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
ท้องอืดจากระบบย่อยไม่สอดรัดกับอาหารที่กินหรือการกินเร็วเกินไป ป้องกันได้ไม่ยาก โดยการเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดปัญหาหรือกินช้าๆ
แม้อาการท้องอืดจะไม่ใช้ปัญหาที่น่ากลัว แต่ก็สร้างความรำคาญแก่ผู้ที่เป็น ซึ่งการปรับเปลี่ยนวิธีการกินสามารถช่วยได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แก๊สจากลำไส้ใหญ่
ลำไส้ใหญ่เป็นส่วนที่ของเสียถูกพักไว้เพื่อรอการขับถ่าย ในส่วนนี้จะมีแบคทีเรียหลายๆ ชนิดอาศัยอยู่ ทั้งแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์และแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดปัญหา แบคทีเรียส่วนใหญ่ที่อยู่ในลำไส้ใหญ่มักจะเป็นอันตรายและก่อปัญหา อาหารของแบคทีเรียพวกนี้คือส่วนของอาหารที่ระบบย่อยของเราย่อยไม่ได้ อาหารบางชนิดจะช่วยให้แบคทีเรียเจริญได้ดี แบคทีเรียบางชนิดจะผลิตแก๊สมีเทนและไฮโดรเจนขึ้นมา แบคทีเรียพวกนี้จะผลิตแก๊สได้มากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เราผายลมในที่สาธารณะเพราะกลั้นไม่อยู่
อาหารของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดแก๊สคือคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล ฉะนั้นการลดอาหารเหล่านี้จะช่วยลดปัญหาการผลิตลมเสียได้ นอกจากนี้น้ำตาลบางชนิดที่ย่อยยาก เช่น ฟรักโทส แล็กโทส แรฟฟิโนส และ ซอร์บิทอลก็อาจทำให้เกิดแก๊สในระบบย่อยได้มากด้วย
ฟรักโทส เป็นน้ำตาลธรรมชาติในผลไม้และน้ำผลไม้ น้ำเชื่อมที่ทำจากข้าวโพดซึ่งใช้ผสมในเครื่องดื่มส่วนใหญ่ คนเป็นจำนวนมากมีปัญหาในการย่อยฟรักโทส ทำให้เกิดแก๊สมาก
แล็กโทส เป็นน้ำตาลธรรมชาติที่พบในนม ผู้ที่ระบบย่อยผลิตเอนไซม์แล็กโทสไม่พอ หรือเอนไซม์ลดลงเมื่ออายุมากขึ้น จะไม่สามารถย่อยน้ำตาลในนมได้ ทำให้เกิดแก๊ส ปวดท้อง และท้องเสียได้ แต่โยเกิร์ต จะไม่สร้างปัญหา เพราะแบคทีเรียในโยเกิร์ตช่วยทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลในนม
แรฟฟิโนส เป็นน้ำตาลธรรมชาติที่พบในถั่วและผักบางชนิด เช่น คะน้า บรอกโคลี กะหล่ำปลี และดอกกะหล่ำ
ซอร์บิทอล คือน้ำตาลแอลกอฮอล์ที่ใช้แทนน้ำตาลทรายในการให้รสหวานแทนน้ำตาล เพื่อลดแคลอรี ใช้มากในลูกอม หมากฝรั่ง และขนมหวาน ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้ท้องเสียได้
อาหารที่ทำให้เกิดลมเสียไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน เช่น คนสองคนกินอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดเดียวกันในปริมาณเท่ากัน นาย ก อาจจะมีแก๊สมากกว่านาย ข ซึ่งมีแก๊สน้อย หรือไม่มีปัญหาเลยก็ได้ การปรับเปลี่ยนอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สได้ง่ายอาจช่วยลดปัญหาลมเสียได้
ออกกำลังกายลดแก๊ส
นอกจากการปรับเปลี่ยนเรื่องการกินแล้ว การออกกำลังกายสม่ำเสมอก็สามารถลดแก๊สได้ โดยการเร่งให้แก๊สเคลื่อนสู่ลำไส้ ทำให้ท้องไม่อืดและช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ
สรุปวิธีการขจัดแก๊ส
เลี่ยงการกลืนที่ไม่จำเป็น เช่น เลี่ยงการสูบยาเส้น บุหรี่ ซิการ์ เลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง ลูกอม การดื่มโดยใช้หลอด หรือดื่มโดยตรงจากขวดปากแคบ ผู้ที่มีฟันปลอมหลวมควรแก้ไขให้กระชับ เพราะอาจทำให้ปริมาณแก๊สเล็ดลอดเพิ่มเข้าไปในระบบย่อยได้
- เลี่ยงอาหารที่มีอากาศหรือแก๊สเป็นส่วนประกอบ เช่น เครื่องดื่มซ่าๆ น้ำอัดลม วิปครีม ยาฟองฟู่ มิลค์เชคส น้ำผลไม้ น้ำผึ้ง น้ำตาลฟรักโทส
- กินช้าๆ การกินเร็วกลืนเร็วจะทำให้กลืนอากาศเข้าไปมากขึ้นและหุบปากเวลาเคี้ยวหรือกลืนอาหาร
- หากจะต้องเพิ่มอาหารที่มีใยอาหารสูงและอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สควรค่อยๆ เพิ่มเพื่อให้ระบบย่อยได้ปรับตัว และอย่าลืมดื่มน้ำเพิ่มขึ้น
- จดบันทึกรายการอาหารที่ทำให้เกิดปัญหาเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาในระบบย่อย
อาหารทั่วไปที่ทำให้เกิดแก๊ส