การออกกำลังกายช่วยควบคุมฮอร์โมนได้จริงหรือ?

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การออกกำลังกายช่วยควบคุมฮอร์โมนได้จริงหรือ?

ฮอร์โมน คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยต่อมไร้ท่อ ซึ่งฮอร์โมนจะทำงานร่วมกับระบบประสาท และมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำ ความรู้สึก และการนึกคิด ยิ่งไปกว่านั้น ฮอร์โมนยังมีหน้าที่ดังนี้

  • กระตุ้นหรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์
  • ควบคุมเกี่ยวกับกระบวนการสืบพันธุ์
  • ควบคุมการใช้และการเก็บพลังงาน
  • ช่วยให้การทำงานของอวัยวะต่างๆ เสร็จสมบูรณ์
  • กำหนดลักษณะทางเพศ

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เราจะไปดูว่าการออกกำลังกายมีส่วนช่วยควบคุมฮอร์โมนอย่างไร เราลองมาทำความรู้จักกับฮอร์โมนแต่ละชนิดกันก่อนค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจระดับฮอร์โมนวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 382 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ชนิดของฮอร์โมน

  • โปรเจสเตอโรน: รังไข่ มดลูก และต่อมน้ำนมผลิตฮอร์โมนชนิดนี้เพื่อควบคุมรอบเดือน
  • อินซูลิน: ช่วยเพิ่มการใช้กลูโคสของร่างกายและลดระดับของน้ำตาลในเลือด
  • ไทรอกซิน: ต่อมไทรอยด์และต่อมพาราไทรอยด์มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการเผาผลาญแคลเซียมและฟอสเฟตของร่างกาย
  • อะดรีนาลีน: ต่อมหมวกไตผลิตฮอร์โมนชนิดนี้ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและทำให้หลอดเลือดหดตัว นอกจากนี้มันยังช่วยให้ร่างกายตื่นตัว
  • เซโรโทนิน: เป็นสารสื่อประสาทที่ควบคุมอารมณ์ ความอยากอาหาร และการนอนหลับ
  • โดพามีน: เป็นสารสื่อประสาทที่เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต
  • เมลาโทนิน: มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และช่วยให้เราง่วงนอน
  • โซมาโตโทรฟิน: มีส่วนช่วยในการทำงานของกระดูกและกล้ามเนื้อ กระตุ้นการเจริญเติบโต และการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
  • โปรแลคติน: ฮอร์โมนชนิดนี้มีผลต่อหน้าอก มดลูก และระบบประสาทส่วนกลาง โดยมีหน้าที่ผลิตนมในระหว่างตั้งครรภ์ และทำให้รู้สึกมีความสุขขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ออกซิโทซิน: มีบทบาทสำคัญในการไปถึงจุดสุดยอด และมีส่วนช่วยให้เราเชื่อใจคนอื่น
  • เลปติน: เซลล์ไขมันผลิตฮอร์โมนเลปติน ซึ่งทำให้ความเจริญอาหารลดลง และเพิ่มอัตราเมทาบอลิกของร่างกาย
  • โอเร็กซิน: ช่วยให้ร่างกายใช้พลังงานมากขึ้น และทำให้เราเจริญอาหาร

การออกกำลังกายช่วยควบคุมฮอร์โมนได้อย่างไร?

ระบบประสาททำงานร่วมกับระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งระบบประสาทจะผลิตสารสื่อประสาท ในขณะที่ระบบต่อมไร้ท่อมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพื่อทำงานร่วมกัน เมื่อเราออกกำลังกาย ร่างกายจะปรับเมทาบอลิซึมในระบบหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ในเลือด และในร่างกายโดยรวม ซึ่งการออกกำลังกายช่วยกระตุ้นให้ฮอร์โมนบางชนิดควบคุมสมรรถภาพการทำงานของเราในแต่ละวันและหลังจากนั้น รวมถึงควบคุมการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ เมื่อเราออกกำลังกาย ฮอร์โมนในร่างกายจะทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยปรับอารมณ์ และกระตุ้นเมทาบอลิซึมเพื่อลดน้ำหนัก

ฮอร์โมนที่ถูกกระตุ้นจากการออกกำลังกาย

  • แอนติไดยูเรติกฮอร์โมน: ช่วยดูดซึมของเหลวในกระเพาะปัสสาวะ
  • โกรทฮอร์โมน: ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ กระดูก และคอลลาเจน อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการเผาผลาญไขมัน ซึ่งต่อมใต้สมองจะเริ่มหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้หลังจากออกกำลังกายประมาณ 25 นาที ซึ่งมันจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาและความหนักของการออกกำลังกาย
  • โปรแลคติน: ฮอร์โมนชนิดนี้จะเพิ่มขึ้นชั่วคราวเมื่อออกกำลังกาย ซึ่งต่อมใต้สมองหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ โดยช่วยควบคุมการเติบโตและพัฒนาการของต่อมน้ำนม การผลิตน้ำนม และการสันดาปเกลือ
  • เอนโดรฟิน: เมื่อเราออกกำลังกายอย่างหนักเป็นประจำอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 60 นาที ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ออกมา ซึ่งเอนโดรฟินช่วยให้เรามีอารมณ์ดีขึ้น และลดความเจ็บปวดทางใจ

จากที่กล่าวไปจะเห็นได้ว่า การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการกระตุ้นฮอร์โมนบางชนิด ดังนั้นคุณอย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำและพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อรักษาฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล

ที่มา: https://steptohealth.com/how-t...


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hormonal responses and adaptations to resistance exercise and training. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15831061)
How to balance hormones naturally: 11 ways. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324031)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด

การพยายามทำหลายอย่างเกินไปขณะขี่จักรยานอาจกลายเป็นผลเสียได้และนี่คือเหตุผล

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม