การคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraception)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การคุมกำเนิดฉุกเฉิน (Emergency Contraception)

การคุมกำเนิดฉุกเฉินคือวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์หลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันหรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เช่น ถุงยางหลุดหรือแตก เป็นต้น

การคุมกำเนิดฉุกเฉินคืออะไร?

การคุมกำเนิดฉุกเฉินคือวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์หลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งคือ ยาคุมฉุกเฉิน ซึ่งเป็นยาฮอร์โมนที่สาวๆ ใช้ทานหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยยาคุมฉุกเฉินมีหลากหลายชนิด ชนิดหนึ่งที่ใช้กันมากมีตัวยา levonorgestrel อย่างพวกยี่ห้อ Plan B

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

One-Step, Next Choice One Dose, Take Action หรือ My Way เป็นต้น ซึ่งมีขายตามร้านขายยาทั่วไป เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดควรทานยาภายใน 72 ชม.หรือ 3 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์ และประสิทธิภาพของยาจะลดลงหากทานภายใน 120 ชม.หรือ 5 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์

ส่วนชนิดอื่น เช่น ulipristal acetate ถูกผลิตออกมาในยี่ห้อ ella สามารถทานยาได้ภายใน 5 วันหลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

ยาคุมฉุกเฉินชนิด levonorgestrel เป็นยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา เพื่อจำหน่ายได้ตามร้านขายยาทั่วไปโดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์หรือการควบคุมอายุผู้ซื้อ ส่วนยาชนิด ulipristal acetate นั้นจำเป็นต้องได้รับใบสั่งจากแพทย์ก่อนจึงจะสามารถซื้อและทานได้ นอกจากนี้ยังมีการควบคุมอายุผู้ซื้อด้วย

ส่วนห่วงทองแดงคุมกำเนิด หรือ Copper IUD ก็เป็นวิธีการคุมกำเนิดฉุกเฉินอีกรูปแบบหนึ่ง หากมีการใช้ภายใน 5 วันหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งห่วงจะทำงานโดยการยับยั้งไม่ให้อสุจิเดินทางไปยังมดลูกเพื่อปฏิสนธิได้ แต่ค่าใช้จ่ายในการใช้ห่วงจะสูงกว่าการทานยาเม็ดมาก ทว่าการใช้ห่วงนั้นมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดมากกว่าและยังสามารถคุมกำเนิดได้นานถึง 12 ปีหลังจากการสอดห่วง

การทำงานของยาคุมฉุกเฉิน

ยาเม็ดชนิด Levonorgestrel เป็นยาฮอร์โมนโปรเจสเตโรนที่มีปริมาณมากพอที่จะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ โดยจำนวนการทานยาต่อครั้งขึ้นอยู่กับชนิดของยา ซึ่งยาคุมฉุกเฉินชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดหากทานทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามตัวยายังมีผลหากทานภายใน 120 ชม.หรือ 5 วัน แต่ประสิทธิภาพจะลดลง เมื่อทานยาคุมฉุกเฉิน ตัวยาจะทำหน้าที่ถ่วงเวลาการตกไข่ แต่หากมีการปฏิสนธิหรือมีการฝังตัวอ่อนไปแล้ว ตัวยาดังกล่าวจะไม่สามารถยับยั้งการตั้งครรภ์ได้

ส่วน ulipristal acetate เป็นยาชนิดใหม่ซึ่งมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างไปคือ จะไปชะลอการตกไข่และป้องกันไม่ให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวบริเวณผนังมดลูกได้ โดยยาจะมีประสิทธิภาพหากใช้ภายใน 5 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตามการคุมกำเนิดฉุกเฉินจะไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ หากมีการทานยาก่อนการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์

จากสถิติพบว่าเพียง 2 จาก 100 คู่รักมีโอกาสตั้งครรภ์จากการใช้ยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกต้องตามเวลาที่ระบุ ซึ่งประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดวิธีนี้จะขึ้นอยู่กับการใช้ให้ถูกต้องตรงกับชนิดของยาหรือไม่ และจะต้องทานยาหลังจากการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น

เนื่องจากการคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินอาจไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้เสมอไป ดังนั้น ควรรีบปรึกษาแพทย์หากพบว่ารอบเดือนในเดือนถัดไปไม่มาตามปกติแม้จะมีการใช้ยาหลังจากมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ตาม

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การคุมกำเนิดฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ดังนั้น หากมีเพศสัมพันธ์จำเป็นต้องใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยทุกครั้งเพื่อป้องกัน และหากพบว่าถุงยางอนามัยหลุด ฉีกขาด หรือเป็นการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันใดๆ คุณจำเป็นต้องได้รับการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ การงดมีเพศสัมพันธ์ (abstinence) และหากคุณถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์คุณจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย เพราะหากติดเชื้อจริงๆ การรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยไม่ให้เชื้อพัฒนาไปเป็นโรคที่รุนแรงได้

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

สาวๆ หลายคนที่มีการใช้ยาคุมฉุกเฉินมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตึงคัดเต้านม ปวดท้องน้อย ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ และเหนื่อยล้า โดยจะมีอาการเหล่านี้เพียงเล็กน้อยภายใน 1-2 วันเท่านั้น นอกจากนี้ รอบเดือนคุณอาจขาดหายไปบ้างหลังจากการใช้ยา แนะนำให้ทานยาแก้แพ้มีไคลซีน (Meclizine) 1 ชม.ก่อนทานยาคุมฉุกเฉินชนิด levonorgestrel หากมีอาการคลื่นไส้ แต่การทานยาดังกล่าวอาจทำให้คุณรู้สึกหดหู่ซึมเศร้าได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การคุมกำเนิดฉุกเฉินเหมาะกับใคร

ไม่แนะนำให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดฉุกเฉินเป็นประจำ แต่ใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเท่านั้น!

อย่างกรณีที่ถุงยางอนามัยฉีกขาดหรือหลุดระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ห่วงคุมกำเนิดหรือฝาครอบคุมกำเนิดหลุด หรือลืมทานยาคุมกำเนิดนานเกินกว่า 2 วัน จึงจะแนะนำให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดฉุกเฉินเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ หญิงที่ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์หรือถูกขืนใจก็ควรใช้วิธีคุมกำเนิดฉุกเฉินเช่นกัน

ไม่แนะนำให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดฉุกเฉินกับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ และจะต้องไม่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดทั้งสองชนิดพร้อมกัน เพราะหากทำเช่นนั้น ตัวยาจะต้านฤทธิ์กันทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงส่งผลให้เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์มากขึ้น นอกจากนี้จะต้องไม่ใช้ยาเกินขนาด เพราะนอกจากยาจะไม่ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้วยังอาจทำให้คุณป่วยได้ด้วย

จะหาซื้อยาคุมฉุกเฉินได้จากที่ใด

ยาคุมฉุกเฉินชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียวสามารถหาซื้อโดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์ตามร้านขายยาหรือคลินิกวางแผนครอบครัวทั่วไป อย่างยายี่ห้อ Plan B One-Step นั้นได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาแล้วว่าสามารถวางจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปได้ ในขณะที่ยาชนิด Ulipristal ยังต้องมีใบสั่งจากแพทย์ก่อนการซื้อ

ค่าใช้จ่ายจากการใช้ยาคุมฉุกเฉิน

ราคานั้นจะขึ้นอยู่กับชนิดของยา ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 300 – 2,500 บาท และห่วงคุมกำเนิดจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 25,000 – 30,000 บาท อย่างไรก็ตาม แผนประกันสุขภาพหลายแผนมีการครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการคุมกำเนิด อย่างไรก็ตามการรับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐอาจมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า

 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How effective is emergency contraception?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/how-effective-emergency-contraception/)
Emergency contraception. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/emergency-contraception)
Emergency Contraception Types, Effectiveness, Side Effects, and More. WebMD. (https://www.webmd.com/sex/birth-control/emergency-contraception#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?

เลือดออกอาจไม่ได้หมายความว่า "คุณคือคนแรกของเธอ" แต่อาจร้ายแรงยิ่งกว่านั้น หาสาเหตุ และวิธีแก้ไขก่อนจะรุนแรงไปกว่านี้

อ่านเพิ่ม
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)
อะไรคือภาวะเกลียดเซ็กซ์ (Sexual Anorexia)

อาการ ปัจจัยเสี่ยง การรักษาและอื่น ๆ

อ่านเพิ่ม