Binge Drinking หรือการดื่มหนักแบบรวดเดียว อันตรายหรือไม่?

หาคำตอบ การดื่มแบบบินจ์คืออะไร และหลังจากความสนุก อาจเกิดปัญหาสุขภาพใดได้บ้าง
เผยแพร่ครั้งแรก 7 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 15 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
Binge Drinking หรือการดื่มหนักแบบรวดเดียว อันตรายหรือไม่?

Binge Drinking หรือการดื่มแบบบินจ์ คือการดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักภายในรวดเดียว โดยอาจเกิดจากการกระตุ้นยอดขายจากร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมาจากการรวมกลุ่มสังสรรค์แล้วกำหนดกิจกรรมสนุกๆ ให้กลุ่มเพื่อนได้ทำร่วมกัน

ผลกระทบจาก Binge Drinking

ไม่ใช่แค่อาการเมาซึ่งเกิดได้เมื่อดื่มหนัก แต่หลังจากนั้นยังจะมีการอาเจียนและเมาค้างตามมา ซึ่งแน่นอนว่าผลกระทบจาก Binge Drinking นั้นรุนแรงกว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบปกติ เช่น จากการศึกษาวิจัยพบว่า การดื่มแบบบินจ์ในวัยรุ่นจะทำให้มีน้ำหนักตัวเกิน อ้วน และเกิดภาวะความดันโลหิตสูง เช่น เบียร์จะให้พลังงาน 150 แคลอรี่ และจะรับพลังงานมากขึ้นหากดื่ม 4-5 ขวดต่อคืน ซึ่งทำให้ผู้ดื่มเกิดภาวะอ้วนจากการดื่มแอลกอฮอล์ได้ และยังมีโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่พบตามมาได้เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (strokeโรคหัวใจ (Heart disease) และโรคตับ (Liver disease)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

ในหมู่วัยรุ่น Binge Drinking อาจมีปัญหากับการเรียนและการจดจำ อีกทั้งการดื่มยังก่อกวนการนอนหลับ ทำให้เกิดอาการง่วงซึมและไม่มีสมาธิระหว่างวัน ส่งผลต่อสมรรถนะการเรียนและผลการเรียนได้

นอกจากนี้ การดื่มแบบบินจ์ยังสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ผู้ดื่มกลายเป็นคนขี้โมโห หงุดหงิด และอารมณ์ร้าย ในขณะมึนเมา จนส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่มีกับคนรอบข้าง

Binge Drinking กับภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ

ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษเป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงอันเกิดจาก Binge Drinking ทำให้ส่งผลต่อระบบการควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจและระบบควบคุมการกลืนหรือขย้อน เพราะเมื่อระบบควบคุมการขย้อนบกพร่อง ผู้ดื่มจะเกิดอาการสำลักในขณะอาเจียน ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้

สัญญาณบ่งบอกภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ ได้แก่

  • เกิดภาวะสับสนอย่างรุนแรง
  • ตื่นนอนยาก
  • อาเจียน
  • สั่น ชัก
  • หายใจช้าลงและจังหวะการหายใจผิดปกติ
  • ตัวเย็นหรืออุณหภูมิร่างกายลดลง
  • ตัวซีดจาง

ความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาหลังดื่มแบบ Binge Drinking

Binge Drinking มีความเสี่ยงมากต่อสุขภาพร่างกาย และอาจสร้างความเสียหายอื่นตามมา เช่น การทะเลาะวิวาทหรืออุบัติเหตุทางรถยนต์ นอกจากนี้ คนเมาสุรายังอยู่ในภาวะเสี่ยงอื่นๆ ด้วย เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์หรือการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Steven Dowshen, MD, Binge Drinking (https://kidshealth.org/en/teen...)
National Institute of Alcohol Abuse and Alcoholism. NIAAA council approves definition of binge drinking Cdc
Esser MB, Hedden SL, Kanny D, Brewer RD, Gfroerer JC, Naimi TS. Prevalence of alcohol dependence among US adult drinkers, 2009–2011.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป