แอลกอฮอล์กับอาการอ่อนเพลียของร่างกาย

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
แอลกอฮอล์กับอาการอ่อนเพลียของร่างกาย

ฤทธิ์กล่อมประสาทของแอลกอฮอล์นั้นอาจไปกระตุ้นการตอบสนองอื่นๆ ทางร่างกายตามมา

คนส่วนใหญ่คิดว่าการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณน้อยๆ ก่อนนอนนั้นจะช่วยให้พวกเขาหลับสบายตลอดคืน แม้ว่าแอลกอฮอล์นั้นจะมีฤทธิ์กล่อมประสาทซึ่งทำให้คุณเกิดอาการง่วงนอนได้ แต่มันก็อาจไปขัดขวางการนอนของคุณได้เช่นกัน

นั่นก็เป็นเพราะว่า ภายหลังจากที่คุณดื่มแอลกอฮอล์ไปแล้วหลายขั่วโมง แอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง epinephrine ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและมักจะกระตุ้นกระบวนการต่างๆ ในร่างกายออกมา และนั่นอาจจะทำให้คุณตื่นขึ้นมากลางดึก ยิ่งไปกว่านั้น แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับเรื้อรังถึง 10% แอลกอฮอล์ยังจะไปหย่อนกล้ามเนื้อบริเวณคอซึ่งจะทำให้เกิดอาการหยุดหายใจขณะหลับได้ นอกจากนั้นแอลกอฮอล์ยังอาจกระตุ้นให้เกิดอาการปวดปัสสาวะระหว่างขึ้น ซึ่งก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คุณต้องตื่นขึ้นมา กลางดึก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

การดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงกลางวันยังอาจทำให้คุณเกิดอาการง่วงนอนหรืออ่อนเพลียจากฤทธิ์กล่อมประสาทดังกล่าว และหากคุณนอนหลับไม่เพียงพอในคืนก่อนหน้านั้น การรับประทานแอลกอฮอล์เพียงแก้วเดียวก็อาจทำให้คุณเกิดอาการง่วงนอนอย่างรุนแรงโดยเฉพาะหากคุณดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงที่คุณกำลังง่วง เช่นในช่วงบ่ายหรือค่ำ

แล้วเราจะทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นได้อย่างไร?

เครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้คุณรู้สึกสดชื่นขึ้นก็คือน้ำเปล่า เนื่องจากอาการแรกๆ ของการขาดน้ำก็คือการรู้สึกอ่อนเพลียและอ่อนแรง น้ำเป็นส่วนประกอบมากถึง 50-60% ของร่างกาย และจะมีการสูญเสียน้ำออกอย่างต่อเนื่องผ่านทางปัสสาวะ. เหงื่อ และการหายใจ ดังนั้นจึงจะต้องมีการรับประทานน้ำเข้าไปทดแทน และการดื่มน้ำให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ (เช่นผลไม้, ผัก และซุป) จึงทำให้คุณรู้สึกสดชื่นมากขึ้น


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alcoholic Myopathy: Muscular Weakness, Tenderness, Pain. Alcohol.org. (https://www.alcohol.org/comorbid/myopathy/)
Chronic Fatigue Syndrome: Causes, Symptoms, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/chronic-fatigue-syndrome)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป