ปัญหาทางการเรียนรู้ในวัยเรียน

ในแต่ละปีนักเรียนจำนวนไม่น้อยถูกส่งมาพบนักจิตวิทยาคลินิกและ 90 % มาด้วยปัญหาทางการเรียน ผลการเรียนต่ำลง เรียนซ้ำชั้น อ่านเขียนคำนวณไม่ได้ตามเกณฑ์มีพฤติกรรมซน ไม่ตั้งใจเรียน เหม่อลอย ก้าวร้าว เป็นต้น จากผลการตรวจประเมินระดับเชาวน์ปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทำให้พบสาเหตุของปัญหาในชั้นเรียน
เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ปัญหาทางการเรียนรู้ในวัยเรียน

ปัญหาทางการเรียนรู้ในวัยเรียน

ในแต่ละปีนักเรียนจำนวนไม่น้อยถูกส่งมาพบนักจิตวิทยาคลินิกและ 90 % มาด้วยปัญหาทางการเรียน ผลการเรียนต่ำลง เรียนซ้ำชั้น อ่านเขียนคำนวณไม่ได้ตามเกณฑ์มีพฤติกรรมซน ไม่ตั้งใจเรียน เหม่อลอยก้าวร้าวเป็นต้น จากผลการตรวจประเมินระดับเชาวน์ปัญญาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทำให้พบสาเหตุของปัญหาในชั้นเรียน ซึ่งแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่ม MR

คือ กลุ่มที่มีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่า 70 ลงมา ลักษณะอาการของเด็กกลุ่มนี้มักเรียนรู้ได้ช้า คิดช้าตอบสนองช้า ทำงานช้ากว่าเด็กวัยเดียวกันและอาจพบพฤติกรรมอื่นๆ ในชั้นเรียน เช่น ไม่อยากเข้าห้องเรียน โดนเพื่อนรังแกบ่อยๆ ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การดูแลช่วยเหลือ กลุ่ม MR :

การส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิชาการอาจทำได้ยากในเด็กกลุ่มนี้เนื่องจากเขามีขีดความสามารถในการเรียนรู้ที่จำกัด ดังนั้นผู้ปกครองและคุณครูต้องทำความเข้าใจระดับความสามารถของเด็กแต่ละคนและส่งเสริมทักษะตามศักยภาพซึ่งอาจแบ่งเกณฑ์ระดับความสามารถตามระดับเชาวน์ปัญญาของเด็ก

  • ระดับเชาวน์ปัญญา 55-69 : ความสามารถเทียบเท่ากับเด็กอายุ 7-11 ปี สามารถเรียนรู้ทักษะทางสังคมและทำกิจกรรมทางสังคมได้ สามารถประกอบอาชีพที่ไม่ซับซ้อนได้
  • ระดับเชาวน์ปัญญา 40-54 : ความสามารถเทียบเท่าเด็กอายุ 3-7 ปี ไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้อาจต้องส่งต่อโรงเรียนการศึกษาพิเศษสามารถฝึกให้อ่าน เขียน คำนวณง่ายๆได้ฝึกให้ทอนเงินได้ ฝึกทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวันสามารถประกอบอาชีพได้โดยต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล
  • ระดับเชาวน์ปัญญา 25-39 : ความสามารถเทียบเท่าเด็กอายุ 3 ขวบ เรียนรู้ได้น้อย แต่สามารถฝึกให้ดูแลตัวเองในเรื่องง่ายๆได้ ฝึกหัดให้ช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันได้

2. กลุ่ม Low IQ

คือกลุ่มนักเรียนที่มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในระดับ 70-79 และ 80-89 เรียกว่า “เด็กไม่ฉลาด” กลุ่มนี้จะมีอาการคิดช้าในบางเรื่องเรียนรู้ได้ช้าในบางด้าน มีความบกพร่องด้านการอ่านการเขียนและการคิดคำนวณต่ำกว่าเกณฑ์ เนื่องจากระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติส่งผลให้เรียนรู้ได้ต่ำกว่าเกณฑ์

ลักษณะทางร่างกายภายนอกของเด็กกลุ่มนี้ดูเหมือนเด็กปกติทั่วไป หากผู้ปกครองหรือคุณครูไม่เข้าใจอาจจะดุด่าหรือลงโทษเด็กเนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าเด็กกลุ่มนี้ดื้อสอนแล้วไม่ทำตาม ความไม่เข้าใจเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจเด็กอย่างมากบางครั้งอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ไม่เคารพกติกาทางสังคม มีความเสี่ยงที่จะกระทำผิดทางกฎหมายได้ง่าย

การดูแลช่วยเหลือกลุ่ม Low IQ :

คุณครูอาจต้องจัดแผนการเรียนให้เป็นรายบุคคลฝึกทักษะทางสังคม ฝึกให้เรียนรู้เรื่องจริยธรรมและคุณธรรม หลังจากฝึกตามแผนไปแล้วอย่างน้อย 1 ปี ควรส่งตรวจระดับเชาวน์ปัญญาซ้ำ รวมทั้งเฝ้าสังเกตพฤติกรรมผิดปกติอื่นๆ ควรเสริมสร้างความเข้มแข็งทางจิตใจด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมความมั่นใจและความภาคภูมิใจให้แก่พวกเขา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. กลุ่ม LD

คือกลุ่มนักเรียนที่มีระดับเชาวน์ปัญญาอยู่ในเกณฑ์ปกติคือ ระดับ 90ขึ้นไป แต่มีปัญหาด้านการอ่านการเขียนสะกดคำและการคิดคำนวณ ต่ำกว่าเกณฑ์ 2 ชั้นเรียน โดยมีลักษณะอาการดังนี้

  • ด้านการอ่าน : อ่านไม่ออกหรืออ่านได้บ้าง ผสมคำไม่ได้สลับพยัญชนะและสระ ผันวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านแล้วจับใจความไม่ได้ เป็นต้น
  • ด้านการเขียนสะกดคำ : เขียนได้ช้า เขียนตกหล่น เขียนกลับหัวหรือสลับซ้ายขวา ลายมือโย้เย้ ตัวหนังสือไม่เท่ากัน ไม่เว้นช่องไฟ เป็นต้น
  • ด้านการคิดคำนวณ : สับสนตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ไม่เข้าใจเรื่องจำนวน ตีโจทย์คณิตศาสตร์ไม่ได้ ไม่เข้าใจหลักการบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น

การดูแลช่วยเหลือกลุ่ม LD :

คุณครูต้องจัดโปรแกรมการเรียนเป็นรายบุคคลและส่งเสริมทักษะที่เด็กถนัดหรือสามารถทำได้ดี

4. กลุ่ม ADHD :

เป็นกลุ่มที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมเรียกว่า“เด็กสมาธิสั้น” โดยมีสาเหตุจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า มีลักษณะอาการเด่นคือ ซนมาก ไม่นิ่ง ชอบเล่นรุนแรงเล่นแผลงๆ ก้าวร้าว เดินในชั้นเรียน ขาดสมาธิทำงานไม่เสร็จ ขาดความรอบคอบ ไม่มีความรับผิดชอบหุนหันพลันแล่น รอคอยไม่ได้มักโต้ตอบทันที เด็กกลุ่มนี้มักเล่นกับเพื่อนไม่ค่อยได้มีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม หากคุณครูหรือผู้ปกครองไม่เข้าใจมักจะทำโทษเด็กด้วยวิธีที่ไม่เหมาะสม

การดูแลช่วยเหลือกลุ่ม ADHD : 

ผู้ปกครองและคุณครูต้องสังเกตพฤติกรรมของเด็กเมื่อพบความผิดปกติเข้าข่าย ADHD ให้ส่งต่อจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เนื่องจากกลุ่มนี้จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษาควบคู่กับการปรับพฤติกรรมตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละคน

ปัญหาในชั้นเรียนอาจมีอีกหลายปัญหานอกเหนือจากปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สิ่งสำคัญที่คุณครูและผู้ปกครองจะต้องเรียนรู้คือความเข้าใจธรรมชาติของพฤติกรรมและพัฒนาการระหว่างเด็กปกติและเด็กที่ไม่ปกติอย่างน้อยสามารถคัดแยกและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Learning disabilities. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/learning-disabilities/)
Learning Disabilities in Children. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/learning-disabilities-4157331)
Learning Disorders in Children. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/ncbddd/childdevelopment/learning-disorder.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการรังแก
10 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการรังแก

ทดสอบตัวคุณเองเพื่อดูว่าคุณรู้เกี่ยวกับการรังแกดีแค่ไหน

อ่านเพิ่ม