10 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการรังแก

ทดสอบตัวคุณเองเพื่อดูว่าคุณรู้เกี่ยวกับการรังแกดีแค่ไหน
เผยแพร่ครั้งแรก 14 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
10 ความเชื่อและความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการรังแก

คุณอาจมีแนวคิดเกี่ยวกับการรังแกอยู่ แต่ความเชื่อเหล่านั้นบางอย่างก็ไม่เป็นความจริง ซึ่งนี่ความเชื่อและความเข้าใจ 10 อย่างเกี่ยวกับการรังแก

ความเชื่อที่หนึ่ง: หัวโจกทุกคนเป็นพวกโดดเดี่ยวและไม่มีเพื่อน

จริงๆ แล้ว การรังแกมีหลายรูปแบบ ดังนั้นการจะเหมารวมว่าพวกหัวโจกจะเหมือนๆ กันไปหมดนั้นไม่ถูกต้อง เด็กบางคนรังแกคนอื่นเพียงเพราะพวกเขาก็ถูกรังแกเช่นกัน ในขณะที่บางคนรังแกคนอื่นเพื่อไต่เต้าสถานะทางสังคม อย่างไรก็ตาม ยังมีเด็กบางคนที่รังแกคนอื่นเพียงเพราะพวกเขาสามารถทำได้ บ่อยครั้งที่พบว่าการรังแกมีสาเหตุมาจากความต้องการอำนาจทางสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ผู้รังแกเป็นพวกที่กำลังไต่เต้าทางสังคมและต้องการเพิ่มระดับสถานะของพวกเขาเองที่โรงเรียน การรังแกถูกมองว่ามีประสิทธิภาพ เนื่องจากมันสามารถควบคุมและจัดการลำดับชั้นในสังคมที่โรงเรียนได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความเชื่อที่สอง: พวกหัวโจกมีปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตนเอง

ผู้วิจัยแสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่ว่าพวกหัวโจกทุกคนแกล้งคนอื่นเพราะรู้สึกไม่ดีเกี่ยวกับตัวเอง ที่จริงแล้ว เด็กที่ก้าวร้าวที่สุดบางคนนั้นมีความมั่นใจในตัวเองและประสบความสำเร็จทางสังคม พวกเขาตระหนักว่าการรังแกผู้อื่นทำให้พวกเขาได้รับความสนใจมากขึ้น มีวงสังคมที่กว้างขึ้น และคงอำนาจที่โรงเรียนไว้ได้ ในความเป็นจริงแล้ว รางวัลที่เด็กได้รับจากการนินทา การแพร่ข่าวลือ และการคว่ำบาตรคนอื่นอาจเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยเหตุนี้ การหยุดการรังแกจึงเป็นเรื่องที่ยากมาก โดยเฉพาะในโรงเรียนมัธยม

ความเชื่อที่สาม: การถูกรังแกทำให้คุณแกร่งขึ้นและสร้างตัวตนของคุณ

การถูกรังแกไม่มีทางจะช่วยสร้างตัวตนได้เลย ในทางกลับกัน มันทำให้ตัวตนพังทลายและเพิ่มจุดอ่อนของผู้ถูกรังแก เด็กที่ถูกรังแกจะทุกข์ทรมานทั้งทางด้านอารมณ์และทางสังคม การถูกรังแกอาจทำให้เด็กรู้สึกอ้างว้างและโดดเดี่ยว และพวกเขาอาจมีปัญหาเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดภาวะซึมเศร้าเจ้าอารมณ์ การรังแกยังทำให้เกิดการต่อสู้ในโรงเรียนและความเจ็บป่วยอื่นๆ การรังแกอาจทำให้เกิดการฆ่าตัวตายได้อีกด้วย

ความเชื่อที่สี่: เด็กถูกรังแกเนื่องจากมีลักษณะบุคลิกภาพของผู้เป็นเหยื่อ

แม้จะเป็นความจริงว่าบุคลิกลักษณะบางอย่างเช่นความขี้อายหรือเก็บตัวอาจเพิ่มโอกาสที่เด็กจะถูกรังแกได้ แต่เด็กไม่ได้ถูกรังแกเนื่องจากบุคลิกของตน เด็กถูกรังแกเนื่องจากผู้รังแกเลือกที่จะแกล้งพวกเขา หากใครพยายามจะอธิบายการถูกรังแกด้วยการระบุว่าเด็กคนนั้นมีบุคลิกภาพของผู้เป็นเหยื่อ เขาคนนั้นกำลังโทษเด็กที่เป็นเหยื่อเสียเอง ความผิดและความรับผิดชอบที่เกิดจากการรังแกนั้นเป็นของผู้รังแกมิใช่เหยื่อ ยิ่งกว่านั้น การระบุว่าเด็กมีบุคลิกของผู้เป็นเหยื่อยังทำให้ผู้รังแกลอยตัวและคิดว่าหากผู้ถูกรังแกไม่ได้เป็นเช่นนั้น การรังแกคงไม่เกิดขึ้น

ความเชื่อที่ห้า: การรังแกกันไม่ใช่เรื่องใหญ่ เป็นแค่เรื่องของเด็กๆ

ตรงกันความกับความเชื่อที่เป็นที่นิยมนี้ คือ การรังแกไม่ได้เป็นส่วนประกอบตามปกติของการเติบโตและถือเป็นเรื่องใหญ่ การรังแกอาจมีผลร้ายแรงตามมาได้ นอกเหนือจากผลกระทบต่อการเรียนของเหยื่อ สภาพจิตใจ และสภาพร่างกายแล้ว การรังแกอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ ยิ่งไปกว่านั้น รอยแผลเป็นทางอารมณ์ของผู้ถูกรังแกอาจคงอยู่ไปชั่วชีวิต ในขณะนี้มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ที่ถูกรังแกเมื่อครั้งยังเด็กมักมีความเชื่อมั่นในตัวเองต่ำและมีภาวะซึมเศร้า

ความเชื่อที่หก: เด็กที่ถูกรังแกต้องเรียนรู้วิธีการจัด

การสถานการณ์ให้ได้ด้วยตัวเองผู้ใหญ่มักจะไม่ใส่ใจเรื่องการกรังแก แนวคิดที่ว่า คือ เด็กควรจะทนๆ ไปให้ได้ แต่เด็กไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์การรังแกได้ด้วยตัวเอง หากพวกเขาทำได้ ก็คงทำไปแล้ว เมื่อไหร่ที่ผู้ใหญ่รู้สึกได้ว่ามีการรังแกเกิดขึ้น พวกเขามีหน้าที่ที่จะจัดการมัน หากไม่มีผู้ใหญ่เข้ามาช่วย การรังแกก็จะคงอยู่ต่อไป

ความเชื่อที่เจ็ด: ลูกจะบอกฉันหรือเปล่าว่ากำลังถูกรังแก

โชคร้ายที่นักวิจัยแสดงให้เห็นว่า เด็กมักจะเก็บเงียบเรื่องการรังแก แม้จะมีเหตุผลมากมายว่าทำไมเด็กถึงไม่ยอมบอก แต่ส่วนใหญ่แล้วมักเป็นเพราะพวกเขารู้สึกอับอายหรือไม่ก็กลัวว่าสถานการณ์จะเลวร้ายไปกว่าเดิม ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ปกครองและครูที่จะสังเกตสัญญาณของการรังแกให้ได้ การหวังจะพึ่งเด็กเพื่อให้คุณตามเรื่องราวได้ทันนั้นไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก แม้เด็กที่มีความสัมพันธ์กับพ่อแม่ดีเยี่ยมก็ยังคงปิดเงียบเรื่องการรังแกอยู่ดี

ความเชื่อที่แปด: หากลูกของฉันถูกรังแก

สิ่งแรกที่จะทำเพื่อจัดการหัวโจก คือ เรียกคุยกับพ่อแม่ของฝ่ายนั้น ในกรณีส่วนใหญ่แล้ว การติดต่อพ่อแม่ของผู้รังแกนั้นไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก ไม่เพียงแต่การพูดคุยอาจลุกลามด้วยอารมณ์ แต่อาจทำให้สถานการณ์แย่ลงอีกด้วย ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด คือ การเริ่มด้วยการรายงานการรังแกกับคุณครูหรือผู้รับผิดชอบ โรงเรียนส่วนใหญ่มีระบบป้องกันการรังแกโดยมีแนวทางว่าจะจัดการกับการรังแกได้อย่างไร โดยต้องมั่นใจว่าคุณได้คุยแบบตัวต่อตัวและติดตามเรื่องเพื่อให้แน่ใจว่าเรื่องนี้ถูกจัดการต่อ

ความเชื่อที่เก้า: การรังแกไม่ได้เกิดขึ้นที่โรงเรียนของลูก

เมื่อเรื่องราวที่ไม่น่าเชื่อเกี่ยวกับการรังแกกลายเป็นข่าวใหญ่ การจะคิดว่าสิ่งเหล่านั้นคงจะไม่เกิดขึ้นที่โรงเรียนของลูกก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่โชคไม่ดีที่ว่าการรังแกเกิดขึ้นทุกแห่งและการไม่รู้เรื่องนี้ก็ทำให้ลูกของคุณตกอยู่ในความเสี่ยงได้ ดังนั้น มองหาสัญญาณของการรังแกและหมั่นพูดคุยกับลูก การรังแกเกิดขึ้นทุกที่ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา หรือเศรษฐฐานะ

ความเชื่อที่สิบ: การรังแกนั้นถูกตรวจพบได้ง่าย

ผู้รังแกนั้นฉลาด พวกเขารู้ว่าครูและผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ไหนกันในเวลาไหน ผลคือการรังแกมักจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใหญ่ไม่อยู่เป็นพยานแถวนั้น เช่น การรังแกมักเกิดขึ้นในสนามเด็กเล่น ในห้องน้ำ ในโถงห้องประชุมที่พลุกพล่าน หรือในห้องล็อคเกอร์ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้รังแกยังเป็นกิ้งก่าเปลี่ยนสีที่เก่งกาจ ในความเป็นจริงแล้ว เด็กที่ก้าวร้าวมักจะดูเป็นคนมีเสน่ห์ไปได้ในทันทีเหมือนวางแผนไว้ ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังเก่งกาจทางการเข้าสังคม พวกเขาใช้ทักษะเดียวกันนี้ในการควบคุมครูและผู้ปกครองว่าพวกเขาเคยชินกับการดูแลเพื่อนๆ ด้วยเหตุผลนี้ ผู้ใหญ่จำเป็นต้องหาผู้เห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยในการรายงานเรื่องการรังแก


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sherri Gordon, 10 Common Myths and Misconceptions About Bullying (https://www.verywellfamily.com/common-myths-and-misconceptions-about-bullying-460490)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป