การรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติ (Disorientation)

การรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติ เช่น ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใคร ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน และไม่รู้วันเวลา มักเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสมองและภาวะทางการแพทย์ที่รุนแรง
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติ (Disorientation)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติ หมายถึง ภาวะที่บุคคลมีความงุนงงสับสนไม่รู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหน ไม่ทราบว่าตนเองเป็นใคร มีชื่อหรือข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้าง หรือไม่ทราบเวลาและวันที่ใดๆ ซึ่งภาวะนี้มักจะมาพร้อมกับอาการอื่นๆ เช่น สับสน (Confusion) เพ้อ (Derilium) หลงผิด (Delusions) ตื่นเต้นตื่นตัว (Agitation) ก้าวร้าว (Aggressiveness) กระสับกระส่าย (Restlessness) เห็นภาพหลอน (Hallucinating) เป็นต้น

สาเหตุของการรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติ

การรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติ มักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • ภาวะเพ้อ : เกิดจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติอย่างฉับพลัน โดยภาวะดังกล่าวอาจถูกกระตุ้นโดยยา การติดเชื้อ และการบาดเจ็บ มักเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาสั้นๆ ภาวะนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
    • ภาวะเพ้อแบบอยู่ไม่สุข : อาจทำให้เกิดภาพหลอนและพฤติกรรมที่ก้าวร้าวหรือกระสับกระส่าย
    • ภาวะเพ้อแบบเซื่องซึม : อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนและความต้องการปลีกตัวจากสังคม
    • ภาวะเพ้อแบบผสม : อาจทำให้เกิดพฤติกรรมทั้งสองประเภทสลับกัน
  • ภาวะสมองเสื่อม : จะทำให้เกิดอาการคล้ายอาการเพ้อ แต่จะพัฒนาช้ากว่า ในระยะแรกอาจพบว่าผู้ป่วยมีการรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติ และสูญเสียความจำระยะสั้น
  • ยาและยาเสพติด : การรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติอาจเป็นผลข้างเคียงของยาหลายชนิด เช่น แอลกอฮอล์ กัญชา ยาตามใบสั่งแพทย์
  • สาเหตุอื่นๆ : ความผิดปกติทางกายภาพต่อไปนี้ อาจทำให้เกิดการรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติได้เช่นกัน
    • โรคความจำเสื่อม (Amnesia)
    • พิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide Poisoning)
    • เส้นเลือดสมองอักเสบ (Cerebral Arteritis)
    • โรคตับแข็ง (Cirrhosis) และโรคตับวาย (Liver Failure)
    • การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น โรคไข้สมองอักเสบ (Encephalitis) หรือโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
    • โรคชัก (Complex Partial Seizures)
    • สมองกระทบกระแทก (Concussion)
    • ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
    • การได้รับยาเกินขนาด
    • ความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในร่างกาย (Electrolyte Abnormalities)
    • โรคลมชัก (Epilepsy)
    • ไข้สูง (Fever)
    • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) หรือระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)
    • อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส
    • โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) หรือโรคฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน (Hyperthyroidism)
    • ภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia)
    • แผลขนาดใหญ่ในสมอง เช่น จากเนื้องอกหรือก้อนเลือด
    • โรคไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial disease)
    • โรคไตวาย (Renal Failure)
    • Reye’s syndrome
    • ภาวะติดเชื้อ
    • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
    • การขาดวิตามิน (Vitamin Deficiency)
    • ความผิดปกติของหูชั้นใน (Vestibular Disorders)

การรักษาอาการรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติ

หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า ผู้ป่วยมีอาการรับรู้สภาพแวดล้อมผิดปกติ แพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษาด้วยการแนะนำให้บุคคลในครอบครัวจัดบ้านให้มีสถาภแวดล้อมเหมือนเดิม เพื่อเตือนความจำผู้ป่วยว่าเป็นใคร อยู่ที่ไหน และควรมีผู้ดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา

ที่มาของข้อมูล

Emma Nicholls, What causes disorientation? (https://www.healthline.com/symptom/disorientation), November 22, 2016.


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Disorientation and postural ataxia following flight simulation. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/9006876)
Temporary Confusion & Disorientation (Delirium): Causes & Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/brain/sudden-confusion-causes)
Disorientation: Causes, Treatments, and Providing Help. Healthline. (https://www.healthline.com/health/disorientation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป