โรคไส้เลื่อนกระบังลม (Hiatus hernia) คือภาวะที่ส่วนของกระเพาะบีบขึ้นไปในพื้นที่อกผ่านช่องเปิด (“hiatus”) ที่อยู่ภายในกระบังลม (diaphragm)
กระบังลมคือแผ่นกล้ามเนื้อบางขนาดใหญ่ระหว่างหน้าอกและช่องท้อง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ไส้เลื่อนกระบังลมกับอาการแสบร้อนกลางอก
โรคไส้เลื่อนกระบังลมมักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ ที่สังเกตได้ชัดเจน กระนั้นภาวะนี้ก็อาจทำให้เกิดปัญหาอย่างภาวะกรดไหลย้อน (gastro-oesophageal reflux disease - GORD) ได้
GORD คือภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารเล็ดไหลเข้าไปในหลอดอาหาร (ท่อที่ลำเลียงอาหารไปยังกระเพาะอาหาร) ซึ่งสามารถเกิดเช่นนี้ได้หากคุณประสบกับโรคไส้เลื่อนกระบังลมที่ทำให้ลิ้นที่ส่วนปลายหลอดอาหารไม่สามารถทำงานได้ตามปรกติ
หลอดอาหารของคุณจะเกิดความระคายเคืองรุนแรงเพราะท่อดังกล่าวไม่สามารถป้องกันตนเองจากกรดในกระเพาะได้ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก (heartburn) เจ็บหน้าอก ได้รสเปรี้ยวในลำคอ และมีปัญหาการบวมขึ้นต่าง ๆ (dysphagia)
คุณควรไปพบแพทย์เมื่อมีอาการจาก GORD บ่อยครั้งและรุนแรง
อะไรทำให้เกิดภาวะไส้เลื่อนกระบังลมขึ้นมา?
ยังไม่ชัดเจนว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคไส้เลื่อนกระบังลม แต่ก็คาดว่าเกิดมาจากการที่กระบังลมอ่อนแอลงตามอายุขัยหรือการกดทับบนท้อง
โรคไส้เลื่อนกระบังลมสามารถเกิดกับทารกแรกเกิดได้หากกระเพาะหรือกระบังลมพวกเขาไม่ได้เจริญเติบโตอย่างที่ควรเป็น
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ใครสามารถประสบกับภาวะนี้ได้บ้าง?
โรคไส้เลื่อนกระบังลมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่: มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักมาก กำลังตั้งครรภ์
คาดกันว่าผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนกระบังลมประมาณหนึ่งในสามจะมีอายุมากกว่า 50 ปี
มีโรคไส้เลื่อนกระบังลมประเภทหายากที่เกิดขึ้นกับทารกแรกเกิด ซึ่งเกิดจากความผิดปรกติของกระเพาะหรือกระบังลมแต่กำเนิดเอง
ชนิดของโรคไส้เลื่อนกระบังลม
โรคไส้เลื่อนกระบังลมมีอยู่สองชนิดหลัก ดังนี้:
sliding hiatus hernias: ไส้เลื่อนที่เลื่อนขึ้นและลง เข้าและออกจากพื้นที่อก (ผู้ป่วยไส้เลื่อนกระบังลมมากกว่า 80% จะเป็นโรคชนิดนี้)
para-oesophageal hiatus hernias: หรือที่เรียกว่า rolling hiatus hernias ที่ซึ่งส่วนของกระเพาะอาหารดันตัวผ่านช่องภายในกระบังลม ณ ส่วนที่อยู่ใกล้กับหลอดอาหาร (ผู้ป่วยไส้เลื่อนกระบังลมประมาณ 5-15% จะเป็นโรคชนิดนี้)
ผ่าตัดไส้เลื่อน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 57,000 บาท ลดสูงสุด 6,550 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เอกสารชุดนี้จะเน้นไปยัง sliding hiatus hernias เป็นหลัก โดยโรคชนิดนี้สามารถถูกวินิจฉัยได้ด้วยการเอกซเรย์หรือการสอดกล้อง (endoscopy) ที่เป็นการใช้ท่อยาวเรียวที่มีไฟฉายและกล้องติดอยู่ที่ปลายสอดเข้าไปภายในร่างกายเพื่อตรวจสอบ
ปัญหาเพิ่มเติม
โรคไส้เลื่อนกระบังลมที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนนั้นหายากมาก แต่ความเสียหายที่หลอดอาหารระยะยาวที่เกิดจากน้ำย่อยนั้นอาจทำให้เกิดแผล แผลเป็น และเปลี่ยนแปลงเซลล์ของหลอดอาหารได้ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลอดอาหารเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัยโรคไส้เลื่อนกระบังลม
โรคไส้เลื่อนกระบังลมมักวินิจฉัยได้จากการสอดกล้องระบบทางเดินอาหาร (gastroscopy) หรือการเอกซเรย์
การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
การสอดกล้องระบบทางเดินอาหาร (gastroscopy) เป็นกระบวนการตรวจสอบภายในร่างกายด้วยการใช้ gastroscope (ท่อเรียวยาวที่มีไฟฉายและกล้องวิดีโอติดอยู่ที่ปลาย) สอดลงไปเพื่อส่งภาพกลับมาที่หน้าจอภายนอก
Gastroscope จะถูกสอดเข้าทางปากของคุณลงไปตามลำคอ และจะใช้เพื่อระบุหาปัญหาต่าง ๆ กระบวนการนี้ดำเนินการด้วยการใช้ยาชาหรือยากล่อมประสาทเพื่อช่วยให้คุณผ่อนคลายขึ้น
การเอกซเรย์ด้วยอาหารแบเรียม
การเอกซเรย์ด้วยอาหารแบเรียม (barium) หรือที่เรียกว่าการทดสอบการกลืนแบเรียม (barium swallow test) เป็นกระบวนการที่ช่วยระบุหาโรคไส้เลื่อนกระบังลมที่มีประสิทธิภาพที่สุด
คุณจะต้องทำการดื่มสารละลายแบเรียมที่เป็นสารเคมีไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายลงไปเพื่อให้ภาพระบบทางเดินอาหารปรากฏออกมาบนฟิล์มเอกซเรย์ชัดเจนขึ้น
หากคุณต้องเข้ารับการเอกซเรย์ด้วยแบเรียม แพทย์จะแจ้งให้คุณงดทานหรือดื่มเป็นเวลาก่อนเข้าทดสอบอย่างน้อย 6 ชั่วโมงเพื่อให้กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) โล่งที่สุด คุณอาจต้องได้รับยาฉีดเพื่อคลายกล้ามเนื้อของระบบย่อยของคุณด้วยก็ได้
คุณจะได้รับของเหลวแบเรียมที่มีสีขาวขุ่นคล้ายฝุ่นชอล์กโดยคุณต้องดื่มขณะที่นอนราบเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญใช้เอกซเรย์ตรวจดูกระเพาะอาหารของคุณได้ง่ายขึ้น โดยเตียงที่คุณนอนอาจจะเอนไปมาเล็กน้อยระหว่างการทดสอบเพื่อให้แบเรียมไหลไปเคลือบพื้นที่ในกระเพาะอาหารของคุณมากขึ้น
คุณอาจรู้สึกคลื่นไส้เล็กน้อยหลังกระบวนการเอกซเรย์ และสารแบเรียมอาจทำให้คุณท้องผูกได้ ซึ่งหลังจากกระบวนการนี้ อุจจาระของคุณจะมีสีขาวเป็นเวลาไม่กี่วันเพราะร่างกายกำลังทำการขับแบเรียมออกมานั่นเอง
การรักษาโรคไส้เลื่อนกระบังลม
การรักษาโรคไส้เลื่อนกระบังลมมักมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาอาการจาก GORD เช่นอาการแสบร้อนกลางอก
การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตและการใช้ยาเป็นทางเลือกรักษาที่แนะนำกันมากที่สุด ส่วนการผ่าตัดมักจะนำมาพิจารณาแทนการใช้ยาระยะยาว หรือเมื่อการรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล
หากโรคไส้เลื่อนกระบังลมไม่ทำให้คุณเกิดอาการใด ๆ ที่ชัดเจน คุณก็ไม่จำเป็นต้องทำการรักษาภาวะนี้แต่อย่างใด
การผ่าตัดจะมีไว้แก้ไขโรคไส้เลื่อนกระบังลมชนิด para-oesophageal กรณีที่มีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคสูงเท่านั้น
การปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต
มีหลายสิ่งที่คุณสามารถปฏิบัติเพื่อบรรเทาอาการจาก GORD ที่เกิดจากโรคไส้เลื่อนกระบังลมได้ ดังนี้: การทานอาหารมื้อเล็กแต่บ่อยครั้งแทนการทานมื้อใหญ่ 3 มื้อต่อวัน เลี่ยงการนอนหงาย (รวมถึงตอนนอนหลับ) เป็นเวลา 3 ชั่วโมงหลังจากดื่มหรือรับประทานอาหารมา เลี่ยงการดื่มน้ำกลางดึก เลี่ยงไม่ทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำให้อาการของคุณทรุดลง เลี่ยงการบริโภคแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ช็อคโกแลต มะเขือเทศ อาหารไขมันสูง อาหารรสเผ็ด และอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นกรดสูง เช่นน้ำผลไม้รสเปรี้ยว เลี่ยงการงอตัวหรือการก้ม โดยเฉพาะหลังจากรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำมา
ยกส่วนบนของเตียงขึ้นประมาณ 20cm ด้วยการค้ำด้วยแผ่นไม้หรืออิฐ ไม่ควรใช้หมอนหนุนศีรษะเพิ่มขึ้นเพื่ออาจะเพิ่มแรงกดที่ท้องของคุณได้
หากคุณมีน้ำหนักร่างกายมากเกิน การลดน้ำหนักจะช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการได้
หากคุณสูบบุหรี่ ควรทำการเลิกเสีย เพราะควันบุหรี่จะไปทำให้ระบบย่อยอาหารของคุณระคายเคืองจนทำให้อาการทรุดลง
การใช้ยา
มียาหลายประเภทที่สามารถใช้รักษาอาการของโรคไส้เลื่อนกระบังลมได้ ดังนี้
ยาลดกรด
ยากลดกรด (Antacids) เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการจากโรคไส้เลื่อนกระบังลม โดยยาเป็นได้ทั้งยาน้ำและยาเม็ด และสามารถใช้ได้ทั้งแบบกลืนหรือเคี้ยวลงไป ยากลุ่มนี้จะปรับสมดุลกรดในกระเพาะอาหารที่เข้าไปยังหลอดอาหารและที่อยู่ในกระเพาะด้วยการทำให้น้ำย่อยเป็นกรดน้อยลง
การใช้ยาลดกรดอาจใช้ไม่ได้ผลกับผู้ป่วยทุกราย อีกทั้งยังไม่ใช่ยาที่ควรใช้ในระยะยาวหากคุณมีอาการเรื้อรังหรือรุนแรงจนทำให้คุณไม่สบายเนื้อสบายตัว
ยาลดกรดไม่ควรใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ เพราะอาจไปยับยั้งการดูดซับยาของร่างกายลง ยาลดกรดยังสามารถสร้างความเสียหายกับชั้นเคลือบของยาเม็ดบางประเภทลงได้อีกด้วย ดังนั้นคุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำก่อนใช้ยาประเภทนี้ทุกครั้ง
แอลจิเนท
แอลจิเนท (Alginates) เป็นยาที่ใช้แทนยาลดกรด โดยยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ด้วยการผลิตชั้นป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารและหลอดอาหารของคุณจากน้ำย่อยในกระเพาะ
H2-receptor antagonists
ในบางกรณีอาจมีการใช้ยาที่เรียกว่า H2-receptor antagonists (H2RA) ในการรักษา GORD ที่มาจากโรคไส้เลื่อนกระบังลม ยกตัวอย่างยากลุ่ม H2RA คือ cimetidine, famotidine (PepcidTwo) และ ranitidine
H2RA ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งปฏิกิริยาการผลิตสารเคมีฮิสตามีนที่ร่างกายใช้ในการผลิตกรดในกระเพาะอาหารลง
ผลข้างเคียงจากการใช้ H2RA นั้นเกิดขึ้นไม่บ่อย แต่หากเกิดก็มักจะทำให้เกิดท้องร่วง ปวดศีรษะ เหน็ดเหนื่อย และผื่นขึ้น
ยา H2RA บางตัวอาจสามารถซื้อได้จากร้านขายยา ซึ่งต่างก็เป็นยา H2RA ประเภทที่ต้องใช้ในขนาดต่ำกว่าประเภทที่ต้องให้แพทย์จัดจ่ายให้ ดังนั้นหากคุณไม่มั่นใจว่าตัวคุณเหมาะกับยาประเภทไหนควรทำการปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเสียก่อน
Proton-pump inhibitors (PPI)
แพทย์อาจทำการจ่ายยาที่เรียกว่า proton-pump inhibitor (PPI) แก่คุณ โดย PPI ออกฤทธิ์ด้วยการลดประมาณการผลิตกรดจากกระเพาะลง ตัวอย่างยา PPI ที่คุณอาจได้รับจากแพทย์คือ omeprazole, lansoprazole, rabeprazole และ esomeprazole
ผู้คนส่วนมากจะสามารถใช้ PPI ได้โดยประสบกับผลข้างเคียงน้อยมากจนแทบเกิดขึ้นไม่บ่อย ซึ่งหากประสบก็มักจะไม่รุนแรงเลย เช่นอาการปวดศีรษะ ท้องร่วง คลื่นไส้ หรือท้องผูก
เพื่อลดระดับผลข้างเคียงลง แพทย์จะทำการกำหนดขนาดยาให้คุณใช้ในปริมาณน้อยที่สุดเพื่อให้ออกฤทธิ์ได้แค่ควบคุมอาการเท่านั้น คุณควรแจ้งแพทย์ผู้ดูแลจัดจ่ายยาของคุณทันทีที่ยาไม่ได้ผลเพราะอาจต้องให้แพทย์ปรับขนาดยาที่ใช้เสียใหม่
การผ่าตัด
การผ่าตัดมักดำเนินการกับผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนกระบังลมชนิด sliding hiatus hernia (ไส้เลื่อนขึ้นลง เข้าออกพื้นที่หน้าอก) ที่ไม่ตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตและการใช้ยา
คุณอาจพิจารณาเข้ารับการผ่าตัดเมื่อคุณมีอาการเรื้อรังและน่ารำคาญแต่ไม่ประสงค์จะใช้ยารักษาในระยะยาวก็ได้
ก่อนเข้าผ่าตัด แพทย์จะตรวจสอบการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารของคุณ (manometry) และดูว่ามีปริมาณกรดไหลย้อนขึ้นมาเท่าไรก่อน (ด้วยการศึกษาค่า pH ที่หลอดอาหารตลอด 24 ชั่วโมง)
Laparoscopic nissen fundoplication (LNF)
กระบวนการที่เรียกว่า Laparoscopic nissen fundoplication (LNF) เป็นเทคนิคผ่าตัดรักษา GORD กับ sliding hiatus hernias ที่นิยมดำเนินการกันมากที่สุด
LNF เป็นหัตถกรรมรูกุญแจ (keyhole surgery) ที่เป็นการเจาะรูบนหน้าท้องของคุณเข้าไปและทำการอัดก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปเพื่อทำให้ท้องของคุณพองออกจนทำให้ศัลยแพทย์มีพื้นที่ทำงานมากขึ้น
ระหว่าง LNF กระเพาะจะถูกดันกลับไปอยู่ตำแหน่งที่ควรเป็น และจะมีการรัดกระบังลมรอบส่วนล่างของหลอดอาหารให้แน่นขึ้นเพื่อป้องกันกรดไหลย้อนออกจากกระเพาะอาหาร
LNF ดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบกับคนไข้และอาจใช้เวลาผ่าตัดทั้งหมดตั้งแต่ 60 ถึง 90 นาที
ภายหลังการผ่าตัด คุณควรจะฟื้นตัวจากฤทธิ์ยาสลบและสามารถกลับบ้านได้ภายใน 2-3 วัน ซึ่งช่วงเวลาที่คุณสามารถกลับไปทำงานได้จะขึ้นอยู่กับว่าคุณประกอบอาชีพอะไร โดยปรกติแล้วอาจใช้เวลาภายใน 3-6 สัปดาห์กว่าที่ร่างกายของคุณจะพร้อมกลับไปทำงาน
ในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด แพทย์แนะนำให้คุณทานแต่อาหารอ่อนอย่างมันฝรั่งบดและซุปไปก่อน พยายามเลี่ยงอาหารแข็งเพราะอาจเข้าไปติดอยู่ที่ส่วนที่แพทย์ดำเนินการผ่าตัดได้
ผลข้างเคียงจาก LNF คืออาการกลืนอาหารลำบาก (dysphagia) เรอ ท้องอืด และผายลมบ่อย
ผลข้างเคียงเหล่านี้ควรจะหายไปเองภายในไม่กี่เดือน อย่างไรก็ตามก็พบว่ามี 1 จาก 100 กรณีที่เกิดอาการเรื้อรังอยู่ ซึ่งในสถานการณ์เหล่านั้นจะต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขอีกครั้ง
Para-oesophageal hiatus hernia
หากคุณเป็น Para-oesophageal hiatus hernia ที่ซึ่งกระเพาะอาหารดันขึ้นผ่านช่องภายในกระบังลม ณ ตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับหลอดอาหาร แพทย์จะแนะนำการผ่าตัดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดไส้เลื่อนบีบรัด (strangulate hernia)
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไส้เลื่อนกระบังลม
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไส้เลื่อนกระบังลมนั้นหายาก แต่หากเกิดขึ้นก็มักจะเป็นเรื่องร้ายแรง โดยโรคไส้เลื่อนกระบังลมที่เลี่ยงเข้าและออกจากพื้นที่อกนั้น (sliding hiatus hernias) จะทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน (gastro-oesophageal reflux disease - GORD) ที่ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะรั่วไปยังหลอดอาหาร ซึ่งนั่นจะสร้างความเสียหายแก่หลอดอาหารจนเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะปัญหามากมายดังนี้
แผลที่หลอดอาหาร
ความเสียหายที่ผนังเยื่อบุหลอดอาหารจากกรดในกระเพาะทำเกิดแผลขึ้นมา ซึ่งแผลนี้สามารถมีเลือดออก สร้างความเจ็บปวด และทำให้กลืนอาหารลำบากได้
แผลที่เกิดขึ้นมักรักษาได้ด้วยการควบคุมอาการ GORD ซึ่งกรณีส่วนมากรักษาได้ด้วยยาลดกรดหรืออัลจิเนทจากร้านขายยา
หลอดอาหารตีบแคบ
ความเสียหายที่ผนังเยื่อบุหลอดอาหารซ้ำ ๆ ทำให้เกิดเนื้อเยื่อแผลเป็นหนาขึ้นจนทำให้หลอดอาหารเกิดการตีบแคบ (oesophageal stricture)
ภาวะหลอดอาหารตีบแคบนี้ทำให้การกลืนอาหารทำได้ยากและเจ็บปวดมากขึ้น ซึ่งภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้บอลลูนขนาดจิ๋วขยายช่องหลอดอาหารออก กระบวนการดังกล่าวต้องดำเนินการด้วยการใช้ยาชาเฉพาะส่วนก่อน
ภาวะอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหารและมะเร็งหลอดอาหาร
ความเสียหายซ้ำ ๆ ที่หลอดอาหารทำให้เซลล์เยื่อบุหลอดอาหารส่วนล่างเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้เกิดภาวะอักเสบเรื้อรังของหลอดอาหาร (Barrett's oesophagus)
ภาวะ Barrett's oesophagus มักไม่ทำให้เกิดอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนเหมือนกับ GORD แต่ก็เป็นภาวะที่จะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งหลอดอาหารขึ้น
หากคุณมีอาการกรดไหลย้อนเรื้อรังเป็นเวลานานกว่า 3 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจสอบสาเหตุจะดีที่สุด
ภาวะไส้เลื่อนบีบรัด
บางกรณี โรคไส้เลื่อนกระบังลมอาจทำให้ส่วนของกระเพาะอาหารดันขึ้นใกล้กับหลอดอาหารมากขึ้น (para-oesophageal hiatus hernia) กรณีเช่นนี้มักไม่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้น แต่จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะไส้เลื่อนบีบรัดมากขึ้น (Strangulated hernia)
การบีบรัดนี้เกิดขึ้นเมื่อภาวะไส้เลื่อนทำให้การลำเลียงโลหิตไปเลี้ยงพื้นที่บางส่วนติดขัดหรือผูกเข้าหากัน ซึ่งภาวะเช่นนี้ต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขฉุกเฉินในทันที