ภาวะไส้เลื่อนเกิดจากการที่อวัยวะภายในร่างกายเกิดดันตัวออกสู่กล้ามเนื้อหรือผนังเนื้อเยื่อที่อ่อนแอโดยรอบกล้ามเนื้อของมนุษย์มักจะมีความแข็งแรงและแน่นหนาพอที่จะคงสภาพลำไส้และอวัยวะภายในไว้ตำแหน่งเดิม ซึ่งภาวะไส้เลื่อนจะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดอ่อนตัวลง
อะไรคือไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ
ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบเป็นไส้เลื่อนประเภทที่พบได้บ่อยครั้งที่สุด โดยจะแสดงอาการเป็นการบวมหรือเป็นก้อนบริเวณขาหนีบ หรือแสดงออกมาเป็นการบวมขึ้นของถุงอัณฑะ โดยอาการบวมมักจะก่อให้เกิดความเจ็บปวดขึ้น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ?
ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อไขมันหรือส่วนของลำไส้ใหญ่เกิดดันตัวออกไปยังขาหนีบหรือส่วนช่องท้องเหนือต้นขาโดยอวัยวะภายในจะดันตัวออกไปยังตำแหน่งที่ผนังกล้ามเนื้ออ่อนแอไปยังพื้นที่ที่เรียกว่าคลองขาหนีบ
ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบมักเกิดกับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยเหตุผลส่วนมากมาจากอายุที่มากขึ้น เนื่องจากเมื่อคุณแก่ตัวขึ้น กล้ามเนื้อโดยรอบช่องท้องจะอ่อนแอลง กระนั้นภาวะนี้จะเกิดได้กับทุกช่วงวัย
ในบางครั้ง ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบก็เกิดขึ้นมาจากแรงดันในช่องท้อง อย่างเช่นการบีบรัดลำไส้ใหญ่ขณะทำธุระ หรือการยกหรือแบกของหนัก ๆ อีกทั้งยังมีรายงานว่าการไอแรง ๆ ติดต่อกันก็ทำให้เกิดไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบได้เช่นกัน
ต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขเมื่อไร?
ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อดันส่วนที่เลื่อนออกให้กลับไปในตำแหน่งเดิมและเพื่อเสริมความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อผนังช่องท้องที่อ่อนแอ การผ่าตัดมักจะดำเนินการกับผู้ป่วยที่เจ็บปวดทรมานจากไส้เลื่อน หรือมีอาการเรื้อรังกับมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เท่านั้น
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดมาจากภาวะไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบมีดังนี้:
- การอุดตัน: ที่ซึ่งส่วนใดส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ติดเข้ากับคลองขาหนีบทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้อง และอาจมีก้อนที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดบริเวณขาหนีบ
- การบีบรัด: ซึ่งส่วนใดส่วนหนึ่งของลำไส้ใหญ่ติดอยู่กับที่จนทำให้การไหลเวียนโลหิตถูกตัดขาดจนต้องเข้ารับการผ่าตัดปลดปล่อยส่วนที่ถูกรัดออกให้เร็วที่สุดหรือภายในไม่กี่ชั่วโมงเพื่อแก้ไขไม่ให้เนื้อเยื่อส่วนที่ไม่ได้รับเลือดตาย
- การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนจะมีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงต่าง ๆ ซึ่งภาวะไส้เลื่อนมีโอกาสกลับมาอีกครั้งหลังการผ่าตัด
เกิดอะไรขึ้นระหว่างการผ่าตัด?
หัตถการรักษาไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบสามารถดำเนินการได้ดังนี้:
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- การผ่าตัดเปิด: เป็นกระบวนการที่ต้องทำการเปิดเข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดไส้เลื่อน เพื่อให้ศัลยแพทย์ดันก้อนทั้งหมดกลับเข้าช่องท้อง
- การผ่าตัดแบบรูกุญแจ: เป็นกระบวนการที่มีการแทรกแซงน้อย แต่มีความยากในการดำเนินการมากกว่า ซึ่งจะเป็นการเปิดช่องขนาดเล็ก ๆ ที่ร่างกาย เพื่อให้ศัลยแพทย์สอดเครื่องมือชนิดพิเศษลงไปแก้ไขภาวะไส้เลื่อน
ทั้งสองวิธีการมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนมากแล้วแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาและเลือกประเภทการผ่าตัดให้เหมาะสมกับแต่ละกรณีด้วยตนเอง
ภายหลังการผ่าตัดคุณสามารถกลับบ้านได้เลย แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลตนเองจากแพทย์อย่างเคร่งครัด ซึ่งอาจรวมถึงการรับประทานอาหารที่เลี่ยงการบีบรัดตัวของลำไส้ การดูแลปากแผล และไม่ฝืนออกแรงเร็วเกินไป
ผู้คนส่วนมากจะฟื้นร่างกายจากการผ่าตัดประมาณ 6 สัปดาห์ แต่ส่วนมากสามารถกลับไปขับรถยนต์ ทำงาน และทำกิจกรรมเบา ๆ ได้ภายใน 2 สัปดาห์หลังการผ่าตัด
ความเสี่ยงจากการผ่าตัดมีอะไรบ้าง?
การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบเป็นหัตถการทั่วไปที่มีความเสี่ยงน้อยมาก แต่ผู้ที่เข้ารับการรักษาไส้เลื่อนมากกว่า 10% จะกลับมามีไส้เลื่อนซ้ำอีกครั้งในอนาคต โดยมีประมาณ 2-4% ที่ไส้เลื่อนกลับมาอีกครั้งภายใน 3 ปี
ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบมีดังนี้:
- มีเลือดหรือของเหลวสะสมอยู่ในช่องว่างที่ถูกทิ้งไว้โดยไส้เลื่อน (มักเกิดกับกรณีที่ไส้เลื่อนหายเองโดยไม่ได้ทำการรักษา)
- การปวดบวมและรอยช้ำที่อัณฑะหรือโคนองคชาติ (ในผู้ชาย)
- ปวดและชาบริเวณขาหนีบ ซึ่งเกิดมาจากการที่เส้นประสาทเสียหายหรือติดกันจากการผ่าตัด
- ความเสียหายที่หลอดเลือดของลูกอัณฑะ
- ความเสียหายที่หลอดนำอสุจิ ซึ่งเป็นท่อที่นำน้ำเชื้อไปยังอัณฑะ
โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจะมากขึ้นหากคุณมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เป็นผู้สูบบุหรี่ หรือมีอาการป่วยอื่นอย่างโรคหัวใจหรือปัญหาการหายใจอยู่ก่อน
ผ่าตัดไส้เลื่อน วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 57,000 บาท ลดสูงสุด 6,550 บาท
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
วิธีดำเนินการ
การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบสามารถดำเนินการได้ทั้งแบบเปิดหรือแบบรูกุญแจ โดยก่อนวันที่เข้ารับการผ่าตัด ทางโรงพยาบาลจะแจ้งกำหนดการนัดหมายและข้อบังคับให้แก่คุณ อย่างเช่นการงดรับประทานอาหารหรืองดดื่มน้ำก่อนเข้ารับการผ่าตัด เป็นต้น
การผ่าตัดจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที โดยคุณสามารถกลับบ้านได้ภายในวันเดียวกับที่เข้ารับการรักษา บางคนอาจต้องพักที่โรงพยาบาลหากมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือไม่มีคนดูแลที่บ้าน
การผ่าตัดแบบเปิด
การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบมักดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบหรือยาชาเฉพาะส่วนที่ฉีดเข้าไขสันหลังกับคนไข้ โดยวิธีการระงับความรู้สึกแบบหลังจะทำให้คุณตื่นและรู้สึกตัวตลอดการผ่าตัด แต่พื้นที่ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดจะชาและหมดความรู้สึกไป ในกรณีที่ใช้ยาสลบ คุณจะหลับไปตลอดกระบวนการรักษาโดยไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดใด ๆ
เมื่อยาระงับความรู้สึกออกฤทธิ์ ศัลยแพทย์จะกรีดช่องเหนือตำแหน่งไส้เลื่อนที่มีความยาวประมาณ 6-8 เซนติเมตร ก่อนยัดก้อนเนื้อเยื่อไขมันหรือลำไส้กลับเข้าช่องท้อง แพทย์จะใส่ตัวรองเข้าผนังช่องท้อง ณ จุดที่กล้ามเนื้ออ่อนแอจนทำให้เกิดไส้เลื่อนขึ้น เมื่อการผ่าตัดเสร็จสมบูรณ์ ผิวหนังที่ถูกกรีดเปิดจะถูกเย็บด้วยด้ายที่สามารถละลายไปเองได้
หากไส้เลื่อนเกิดการติดรัดและมีส่วนของลำไส้ได้รับความเสียหาย ส่วนที่เสียหายจะถูกนำออกก่อนที่แพทย์จะเชื่อมปลายลำไส้ส่วนที่ยังดีอยู่เข้าด้วยกัน ซึ่งในกรณีนี้จะเป็นหัตถการที่มีขนาดใหญ่กว่า ทำให้คุณต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่อ 4-5 วัน
การผ่าตัดแบบสอดกล้อง
การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบแบบสอดกล้อง หรือที่เรียกกันว่าการผ่าตัดแบบรูกุญแจจะต้องใช้ยาสลบให้คนไข้หลับไปตลอดการผ่าตัด ระหว่างการผ่าตัดรูปแบบนี้ ศัลยแพทย์จะสร้างรูกรีด 3 จุดบนหน้าท้องแทนการกรีดยาว ๆ จุดเดียว จะมีการใช้ท่อขนาดบางยาวที่มีไฟฉายและกล้องติดอยู่ที่ปลายเข้าไปในช่องที่ทำไว้ เพื่อให้ศัลยแพทย์มองเห็นภายในช่องท้องของคุณ เครื่องมือผ่าตัดแบบพิเศษจะถูกสอดผ่านช่องอีกช่องเพื่อทำหัตถกรรมภายในร่างกายของคุณและดันไส้ที่เลื่อนกลับเข้าตำแหน่งที่ควรจะเป็น
การผ่าตัดแบบรูกุญแจมีอยู่ 2 ประเภท:
- การซ่อมแซมผ่านช่องท้อง (TAPP): เครื่องมือจะถูกสอดผ่านผนังกล้ามเนื้อช่องท้องและผ่านเยื่อบุที่ปกคลุมอวัยวะของคุณ แผ่นเยื่อบุปะจะถูกลอกกลับให้คลุมไส้เลื่อน และแพทย์จะทำการติดตัวคลุมเข้ากับพื้นที่ที่อ่อนแอในผนังช่องท้องของคุณเพื่อเสริมความแข็งแรงขึ้น
- การซ่อมแซมนอกช่องท้อง (TEP): เป็นเทคนิครูกุญแจแบบใหม่ โดยจะทำการรักษาไส้เลื่อนโดยไม่เข้าไปยังโพรงเยื่อบุภายใน
เมื่อการรักษาเสร็จสิน รอยกรีดทั้งหมดบนผิวหนังจะถูกเย็บปิดด้วยด้ายหรือติดด้วยกาวผ่าตัด
วิธีการใดที่ดีที่สุด?
ทางสถาบันเพื่อความเป็นเลิศทางสุขภาพและการแพทย์ (NICE) ประเมินว่าการผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบแบบรูกุญแจและแบบเปิดนั้นมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมาก
โดยการผ่าตัดรูกุญแจมักจะสร้างความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดน้อยกว่า เนื่องจากรอยกรีดมีขนาดเล็กกว่ามาก อีกทั้งยังสร้างความเสียหายแก่กล้ามเนื้อน้อยกว่าอีกด้วย
การผ่าตัดแบบรูกุญแจมักจะมีเวลาฟื้นตัวเร็วกว่าสำหรับผู้ที่:
- เคยได้รับการรักษาไส้เลื่อนมาก่อนแล้ว
- เป็นไส้เลื่อนพร้อมกันทั้งสองข้าง
กระนั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากกระบวนการกลับมีสูงกว่าการผ่าตัดแบบเปิด ยกตัวอย่างเช่นความเสียหายที่ลำไส้ใหญ่จากกระบวนการ สำหรับโอกาสที่ไส้เลื่อนจะกลับมาในอนาคตภายหลังการผ่าตัดทั้งสองรูปแบบแทบไม่มีความแตกต่างกัน คุณควรทำการปรึกษาทำความเข้าใจข้อดีและข้อเสียของกระบวนการผ่าตัดทั้งสองกับศัลยแพทย์ของคุณเสีย ก่อนที่จะทำการตัดสินใจเลือกการรักษา
การตัดสินใจเลือกแนวทางรักษา
การตัดสินเลือกแนวทางรักษาไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบจะขึ้นอยู่กับ:
สุขภาพร่างกายโดยรวมของคุณ: ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจนทำให้การใช้ยาสลบมีความเสี่ยง อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดแบบเปิดด้วยการใช้ยาชาแทน
ประสบการณ์ของศัลยแพทย์: การผ่าตัดแบบเปิดเป็นกระบวนการที่ง่ายกว่าแบบรูกุญแจ ซึ่งศัลยแพทย์ส่วนใหญ่อาจยังคงขาดประสบการณ์การผ่าตัดแบบรูกุญแจอยู่
มีคู่มือแนะนำการผ่าตัดที่กล่าวไว้ว่าภาวะไส้เลื่อนข้างเดียวต้องใช้กระบวนการผ่าตัดแบบเปิด สำหรับกระบวนการแบบรูกุญแจนั้นจะเหมาะสมกับภาวะไส้เลื่อนซ้ำหรือไส้เลื่อนสองข้าง
การพักฟื้น
คุณสามารถกลับบ้านได้หลังจากการผ่าตัดเสร็จสิ้น โดยต้องมีผู้คอยทำหน้าที่ดูแลพาคุณกลับไปที่บ้านและคอยติดตามดูแลคุณตามคำแนะนำของแพทย์
หลังการผ่าตัด คุณจะรู้สึกปวดเมื่อยและไม่สบายบริเวณขาหนีบ โดยแพทย์จะให้ยาแก้ปวดแก่คุณไว้บรรเทาอาการไว้
การดูแลตนเอง
ต้องมีผู้ใหญ่หรือผู้ดูแลคุณในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัดในกรณีที่คุณประสบกับปัญหาหลังการผ่าตัดต่าง ๆ
หากคุณยังคงมีอาการเจ็บปวดหลังจากกลับถึงบ้าน ให้ทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง และค่อย ๆ กดนวดบริเวณปากแผลของคุณด้วยมืออย่างเบา ๆ และใช้หมอนเล็ก ๆ ในการรองร่างกายให้อยู่ในท่าที่สบายที่สุด
คอยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลในการดูแลตนเองอย่างเคร่งครัดทั้งการดูแลบาดแผล การอาบน้ำ และสุขอนามัยต่าง ๆ
อาการท้องผูกจะทำให้คุณปวดบริเวณปากแผลได้ โดยคุณสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดท้องผูกด้วยการรับประทานผักผลไม้ที่มีกากใยอาหารสูง ๆ และดื่มน้ำมาก ๆ เข้าไว้ หรือจะใช้ยาระบายชนิดอ่อนที่หาซื้อได้จากร้านขายยาก็ได้
กิจกรรม
หากการผ่าตัดที่ผ่านไปใช้ยาสลบกับคุณ การทำงานประสานกันของอวัยวะกับการให้เหตุผลของคุณจะตกลงอย่างมาก จึงควรงดดื่มแอลกอฮอล์หรืองดใช้งานเครื่องจักรหนักเป็นเวลาอย่างน้อย 48 ชั่วโมง
ร่างกายคุณจะค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นอย่างช้า ๆ และสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปรกติได้ทันทีที่คุณรู้สึกพร้อมผู้คนส่วนมากสามารถทำกิจกรรมเบา ๆ ได้อย่างการซื้อของ 1 ถึง 2 สัปดาห์ภายหลังการผ่าตัด แต่หากงานของคุณต้องใช้แรงงาน อาจต้องใช้เวลาพักฟื้นร่างกายมากกว่านั้น
คุณสามารถออกกำลังกายเบา ๆ ได้อย่างการเดิน ซึ่งจะช่วยกระบวนการฟื้นตัวอย่างมาก แต่พยายามเลี่ยงการยกของหนักและกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากประมาณ 6 อาทิตย์
ระหว่างการพักฟื้นในช่วงแรก ๆ การมีเพศสัมพันธ์จะสร้างความเจ็บปวดแก่คุณได้ แต่มักจะไม่ส่งผลอันตรายใด ๆ แปลว่าคุณสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้หากต้องการจริง ๆ
การขับรถ
ให้ปรึกษาผู้ดูแลทางการแพทย์ของคุณถึงระยะเวลาที่คุณจะสามารถขับรถได้ โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะแนะนำให้คุณเลี่ยงการขับรถเองจนกว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวใด ๆ ส่วนมากมักจะทำได้ภายหลังการผ่าตัดแบบรูกุญแจ 1 หรือ 2 อาทิตย์ แต่จะใช้เวลานานกว่านี้หากเป็นการผ่าตัดแบบเปิด
ควรติดต่อแพทย์เมื่อไร?
ให้คุณติดต่อศัลยแพทย์ทันทีที่คุณมีอาการต่อไปนี้:
- มีไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส)
- มีเลือดออก
- มีอาการบวมหรือปวดภายในช่องท้องเพิ่มขึ้น
- หนาวสั่น
- อาการเจ็บปวดที่ใช้ยาแก้ปวดก็ไม่ได้ผล
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียนบ่อย ๆ
- ไม่อาการไอติดต่อกันหรือมีอาการหายใจลำบาก
- รอบรอยกรีดแผลมีสีแดงขึ้น
- ปัสสาวะลำบาก