กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

อาการไอ (Coughing)

อาการไอ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท เกิดจากอะไรได้บ้าง มีวิธีการรักษา และวิธีการป้องกันอย่างไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการไอ (Coughing)

อาการไอเป็นปฏิกิริยาตอบสนองตามปกติของร่างกายเพื่อช่วยล้างคอให้โล่งขึ้น โดยกำจัดของเสีย เมือก สารระคายเคือง หรือสิ่งแปลกปลอมออกไปจากลำคอ อาการไอสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  1. อาการไอเฉียบพลัน (Acute Cough) : อาการไอที่กินเวลาน้อยกว่า 3 สัปดาห์
  2. อาการไอกึ่งเฉียบพลัน (Subacute Cough) : อาการไอที่กินเวลาตั้งแต่ 3 - 8 สัปดาห์
  3. อาการไอเรื้อรัง (Chronic Cough) : อาการไอที่กินเวลานานกว่า 8 สัปดาห์

หากคุณมีอาการไอเป็นเลือดหรือไอแล้วมีเสียงแปลกคล้ายเสียงสุนัขเห่า ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน นอกจากนี้หากพบว่าอาการไอไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไป 2-3 สัปดาห์ อาจเกิดจากภาวะร้ายแรง ซึ่งคุณควรไปพบแพทย์โดยเร่งด่วนเช่นกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

สาเหตุของอาการไอ

อาการไออาจเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยชั่วคราว และปัจจัยถาวร ได้แก่

  • การกำจัดของเสียและสิ่งแปลกปลอม : อาการไอเป็นหนึ่งในวิธีที่ร่างกายใช้ทำความสะอาดลำคอ เมื่อทางเดินหายใจเต็มไปด้วยน้ำมูก เสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เช่น ควันหรือฝุ่นละออง จะเกิดการไอขึ้นเพื่อกำจัดของเสียดังกล่าวและทำให้หายใจได้โล่งและง่ายขึ้น
  • การติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย : สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการไอ คือ การติดเชื้อในทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจมักเกิดจากไวรัสและอาจเป็นได้ตั้งแต่ 2-3 วันจนถึงหนึ่งสัปดาห์
  • การสูบบุหรี่ : อาการไอที่เกิดจากการสูบบุหรี่ มักเป็นอาการไอเรื้อรังที่มีเสียงดังเป็นประจำและเป็นลักษณะเฉพาะของเสียงไอจากผู้สูบ
  • โรคหอบหืด : สาเหตุที่พบบ่อยของการไอในวัยเด็กเล็ก คือ โรคหอบหืด โดยปกติแล้ว อาการไอจากหอบหืดมักทำให้เกิดเสียงวี้ดในลำคอ แปลกไปจากการไอตามปกติและสังเกตได้ง่าย
  • โรคกรดไหลย้อน (GERD) : ซึ่งทำให้อาหารและน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลกลับเข้าไปในหลอดอาหาร ส่วนผสมดังกล่าวจะระคายเคืองหลอดลมกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอ
  • ยาบางชนิด : ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการไอ แม้จะเป็นผลข้างเคียงที่ไม่พบบ่อยนัก ยากลุ่มหนึ่งที่ใช้รักษาความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจบางชนิดที่ชื่อว่า Angiotensin-Converting Enzyme (ACE) Inhibitors สามารถทำให้เกิดอาการไอได้ โดยอาการไอจะหยุดลงเมื่อหยุดยา
  • สาเหตุอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดอาการไอ ได้แก่
    • เส้นเสียงบาดเจ็บ
    • เสมหะในคอ
    • การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคปอดบวม ไอกรน
    • ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เช่น หลอดเลือดปอดอุดตัน และโรคหัวใจวาย

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

อาการไอส่วนใหญ่จะหายไปเอง หรือจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดภายใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าหากผ่านไป 2 สัปดาห์แล้วยังไม่ดีขึ้น หรือมีอากาเหล่านี้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

การวินิจฉัยทางการแพทย์

โดยปกติ แพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยการตรวจดูในลำคอ ฟังเสียงไอ และซักประวัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการที่เกี่ยวข้อง หากอาการไอมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะให้ทาน

แต่ถ้าหากแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุของอาการไอจากการตรวจร่างกายและซักประวัติ ก็อาจมีการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  • การถ่ายภาพเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อประเมินสุขภาพของปอด
  • การตรวจเลือด
  • การตรวจอาการแพ้บนผิวหนัง
  • การตรวจเสมหะเพื่อนำมาวิเคราะห์หาการติดเชื้อของแบคทีเรีย หรือเชื้อวัณโรค

การรักษาอาการไอ

อาการไอสามารถรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ ในวัยผู้ใหญ่ที่แข็งแรงดี การรักษาส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การดูแลตนเองที่บ้าน ซึ่งสามารถบรรเทาอาการได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • เพิ่มความชุ่มชื้นให้คอ ด้วยการดื่มน้ำปริมาณมาก
  • ใช้ยาแก้ไอเพื่อบรรเทาอาการระคายคอของคุณ
  • กลั้วและบ้วนน้ำเกลืออุ่นเป็นประจำ เพื่อขจัดเสมหะและบรรเทาอาการระคายคอ
  • หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง เช่น ควันและฝุ่น
  • เพิ่มน้ำผึ้งหรือขิงลงในชาร้อน เพื่อบรรเทาอาการไอ
  • ใช้สเปรย์แก้คัดจมูก เพื่อลดน้ำมูกและทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น

การป้องกันอาการไอ

อาการไอที่เกิดจากการกำจัดของเสียและสิ่งแปลกปลอมไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากเป็นกลไกของร่างกายอย่างหนึ่ง แต่อาการไอที่เกิดจากสาเหตุอื่น สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • หยุดสูบบุหรี่ : การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญของอาการไอ ซึ่งยากมากที่จะทำการรักษา ในปัจจุบันมีทางเลือกมากมายที่สามารถช่วยให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น ตั้งแต่อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ เช่น บุหรี่ไฟฟ้า หลังจากเลิกบุหรี่แล้ว โอกาสที่จะเป็นหวัด หรือทรมานจากอาการไอเรื้อรังก็จะลดลงอย่างเห็นชัด
  • เปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร : มีหลักฐานจากการศึกษาหลายชิ้นที่แสดงว่า คนที่รับประทานอาหารที่มีเส้นใย และสารต้านอนุมูลอิสระเช่น ฟลาโวนอยด์ จะช่วยลดโอกาสเกิดอาการไอเรื้อรังได้

ที่มาของข้อมูล

Kati Blake, What causes cough? (https://www.healthline.com/symptom/cough), March 16, 2017.


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cough | Chronic Cough | Acute Cough. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/cough.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 อันตรายที่มักเกิดกับดวงตาและการปฐมพยาบาล
10 อันตรายที่มักเกิดกับดวงตาและการปฐมพยาบาล

ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญและมีความเปราะบาง รู้จักอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตาที่พบบ่อยเพื่อการป้องกันและปฐมพยาบาลเบื้องต้น

อ่านเพิ่ม