กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เจาะลึกข้อดี-ข้อเสียของ “บุหรี่ไฟฟ้า”

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร มีประโยชน์ช่วยให้เลิกบุหรี่ได้จริงหรือไม่ หรือมีข้อเสียมากกว่า
เผยแพร่ครั้งแรก 26 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
เจาะลึกข้อดี-ข้อเสียของ “บุหรี่ไฟฟ้า”

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • บุหรี่ไฟฟ้าเป็นยาสูบแบบใหม่ที่จะใช้หลักการระเหยของสารนิโคตินเหลวจากความร้อนจากไฟฟ้า ไม่ใช่การเผาไหม้เหมือนกับบุหรี่แบบทั่วไป จึงก่อให้เกิดควันพิษน้อยกว่า
  • บุหรี่ไฟฟ้าประกอบด้วยสารนิโคตินและสารอื่นๆ เช่น แอลกอฮอล์ โพรไพลีน ไกลคอล กลีเซอรีน และสารให้กลิ่นรสชาติต่างๆ เมื่อสัมผัส หรือสูดดมเข้าไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้
  • อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าแทบไม่แตกต่างจากบุหรี่ธรรมดา เช่น ทำให้หลอดเลือดในร่างกายตีบและหดตัว ทำให้ไอ เหนื่อยง่าย ปอดอักเสบเฉียบพลัน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยลดปริมาณการสูบบุหรี่ให้ลดลงแต่อย่างใด และอาจเป็นการเพิ่มอัตราผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่รู้โทษของบุหรี่ชนิดนี้และมองว่าเท่ 
  • นอกจากอันตรายต่อร่างกายแล้ว บุหรี่ไฟฟ้ายังถือเป็นสินค้าผิดกฎหมายที่ต้องได้รับการควบคุม หากเป็นไปได้ไม่ควรสูบบุหรี่ประเภทใดๆ เลยจะดีกว่าเพื่อเป็นการรักษาสุขภาพ (ดูแพ็กเกจตรวจตรวจสุขภาพได้ที่นี่)

บุหรี่ไฟฟ้า (Electric cigarette) เป็นยาสูบชนิดใหม่ที่ผู้สูบจะได้รับสารนิโคตินที่ระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย แต่จะไม่มีการเผาไหม้จากใบยาสูบเหมือนกับบุหรี่ธรรมดา

ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้สูบบุหรี่ เพราะมีกลิ่นที่หอมและหลากหลาย ไม่เหม็นเหมือนบุหรี่ธรรมดา รวมถึงตัวอุปกรณ์สูบที่มีรูปแบบให้เลือกมากมาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำความรู้จักบุหรี่

บุหรี่ถือเป็นสารเสพติดไม่ผิดกฎหมายชนิดหนึ่ง แต่มีพิษร้ายแรงที่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้หากเสพติดเรื้อรัง เพราะภายในบุหรี่ 1 มวนนั้นประกอบด้วย "สารนิโคติน" ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ผู้สูบรู้สึกเสพติดบุหรี่และต้องเสพต่อไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นโรคติดบุหรี่ 

ความร้ายแรงของสารนิโคตินนั้นเทียบเท่ากับสารเฮโรอีนและมีโทษทำให้เส้นเลือดในหัวใจหดตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดอีกด้วย

ทำความรู้จักบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นยาสูบแบบใหม่ที่จะใช้หลักการระเหยของสารนิโคตินเหลวจากความร้อนจากไฟฟ้า ไม่ใช่การเผาไหม้เหมือนกับบุหรี่แบบทั่วไป ทำให้ผู้สูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อปอดได้ 

ตัวอย่างสารที่เป็นอันตราย เช่น น้ำมันดิน (Tar) และสารคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด และโรคมะเร็งอื่นๆ แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า บุหรี่ไฟฟ้านั้นปลอดภัยจากสารพิษของบุหรี่ได้ 100% 

ไขข้อสงสัยเรื่อง "บุหรี่ไฟฟ้าทำให้เลิกบุหรี่ได้"

ปัจจุบันมีผู้ที่เคยสูบบุหรี่หลายรายหันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนเพราะหวังจะช่วยเลิกบุหรี่ได้ หรือเชื่อว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่า 

ความจริงแล้วความเชื่อนี้ยังไม่มีหลักฐานการศึกษาที่บอกชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้นตามที่ผู้ผลิตได้กล่าวอ้าง หรือมีอันตรายน้อยกว่าอย่างที่หลายๆ คนคิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ความเชื่อนี้ได้ถูกบอกต่อกันไปอย่างรวดเร็วจนเป็นที่น่าเชื่อไปแล้วในหมู่ผู้สูบบุหรี่มากมาย ทำให้ในต่างประเทศ มีเด็กวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน เริ่มติดบุหรี่ไฟฟ้าเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ในหลายๆ ประเทศถือว่า บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าผิดกฎหมายและห้ามจำหน่าย รวมไปถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน 

ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ้า 

บุหรี่ไฟฟ้าประกอบด้วย สารนิโคตินและสารอื่นๆ เช่น แอลกอฮอล์ โพรไพลีน ไกลคอล (Propylene glycol) กลีเซอรีน (Glycerol) และสารให้กลิ่นรสชาติต่างๆ เมื่อสัมผัส หรือสูดดมเข้าไป อาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ดวงตา และปอดได้

ที่มาของการเกิดบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้าเกิดจากความตื่นตัวและการตระหนักถึงควันบุหรี่มือสองซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนรอบข้างได้อย่างมหาศาล จึงทำให้เกิดการคิดค้นบุหรี่แบบใหม่ที่ก่อให้เกิดควันพิษน้อยที่สุดจนกลายมาเป็นบุหรี่ไฟฟ้านั่นเอง 

ระดับความอันตรายระหว่างบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้า

คุณอาจเคยได้ยินหรือสงสัยว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาจริงหรือ อีกทั้งยังมีผู้ใหญ่หลายคนเตือนว่า ความจริงแล้วบุหรี่ไฟฟ้าต่างหากที่ทำร้ายร่างกายของผู้สูบยิ่งกว่าบุหรี่ธรรมดาเสียอีก ซึ่งคำตอบที่แน่ชัดนั้นยังไม่สามารถสรุปได้ 

แต่จากจำนวนผู้ป่วยจากการสูบบุหรี่ในปัจจุบัน มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยเลยที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่บุหรี่ธรรมดา สิ่งนี้จึงเป็นข้อพิสูจน์ส่วนหนึ่งแล้วว่า "บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายไม่น้อยไปกว่าบุหรี่ธรรมดาเลย"

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ถึงแม้บุหรี่ไฟฟ้าจะมีกลิ่นควันที่หอม มีอุปกรณ์ที่ดูสวย เท่ มีหลายยี่ห้อและราคาแพง แต่ในบุหรี่ไฟฟ้าก็ยังมีส่วนผสมของสารนิโคติน ซึ่งเป็นสารที่ก่ออันตรายให้กับอวัยวะในร่างกายหลายระบบ 

อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า

1. ระบบหลอดเลือดและหัวใจ 

สารนิโคตินมีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดในร่างกายตีบและหดตัว ทำให้เลือดที่ต้องไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมีไม่เพียงพอ ส่งผลให้อวัยวะขาดเลือดและออกซิเจน จึงเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้

2. ระบบทางเดินหายใจ 

มีผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับปอดและมะเร็งปอดจำนวนมากที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเกิดภาวะปอดอักเสบเฉียบพลันจนเสียชีวิต 

อีกทั้งผู้ที่ติดบุหรี่ไฟฟ้ามากๆ จะเริ่มมีอาการไอ มีปัญหาเกี่ยวหลอดอาหาร เหนื่อยง่ายขึ้น รู้สึกแน่นหน้าอกจนต้องพบแพทย์ ภายหลังก็จะเกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจตามมา 

นอกจากนี้ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ายังมีอนุภาคเล็กกว่าบุหรี่ธรรมดาซึ่งทำให้สามารถเข้าสู่ปอดได้ลึกกว่า และดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังยากต่อการขับออกโดยธรรมชาติของร่างกายด้วย

3. ระบบประสาท 

ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ารวมถึงบุหรี่ธรรมดาหลายรายจะรู้สึกมีความสุข รู้สึกสบายใจ หัวโล่ง หรือมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้นหลังสูบบุหรี่ อาการดังกล่าวเป็นผลจากสารนิโคตินได้ไปควบคุมการหลั่งของสารโดปามีน (Dopamine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้คนเรารู้สึกมีความสุขและพึงพอใจมากขึ้น 

นอกจากนี้ยังมีสารเบตาเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้ผู้สูบคลายความเครียดและความวิตกกังวลได้ นี่จึงอาจเป็นต้นเหตุว่า ทำไมคนเราจึงมักเชื่อว่า บุหรี่เป็นสิ่งที่คลายเครียดได้ดี

4. โรคเบาหวาน 

สารนิโคตินมีผลทำให้การหลั่งของฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) เพิ่มขึ้นได้ ฮอร์โมนดังกล่าวจะไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น จึงเป็นผลให้ผู้ที่สูบบุหรี่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้เช่นเดียวกัน 

นอกจากนี้ บุหรี่ไฟฟ้ายังมีสารอันตรายอื่นๆ อีกหลายชนิดที่คุณอาจไม่รู้ เช่น 

  • สารเตตราไฮโดรแคนนานิบอล (Tetrahydrocannabinol: THC) 
  • สารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol) ซึ่งเป็นสารสกัดจากกัญชา 
  • โลหะหนัก 
  • สารหนู 
  • สารกลุ่มฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde) 
  • สารระเหยเบนซีน (Benzene)

ข้อเสียและจุดด้อยของบุหรี่ไฟฟ้า

  • เสพติดสารนิโคตินเหลวในบุหรี่ไฟฟ้า มีอำนาจเสพติดสูงเทียบเท่าเฮโรอีน เฮโรอีนเป็นสารเสพติดที่มีผลต่อระบบประสาทของผู้เสพมาก นั่นคือทำให้รู้สึกมีความสุข สบายตัว และคลายเครียดได้ไม่ต่างจากบุหรี่ นอกเหนือจากนี้เฮโรอีนกับบุหรี่ยังมีโทษต่อการกระตุ้นต่อสมองและหัวใจ ทำให้เส้นเลือดหดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น และเสี่ยงต่อโรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจเช่นกัน
  • ค่าใช้จ่ายเริ่มแรกสูงมาก บุหรี่ไฟฟ้าต้องมีอุปกรณ์สำหรับสูบโดยเฉพาะซึ่งมีราคาแพงมาก ส่วนมากจะอยู่ที่หลักพันบาทขึ้นไปขึ้นอยู่กับการจัดชุดอุปกรณ์ ยี่ห้อ และคุณภาพของอุปกรณ์ว่า ผู้สูบอยากได้แบบไหน
  • เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้าแรกๆ อาจมีอาการแสบคอ ในช่วงแรกที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า ผู้สูบอาจรู้สึกแสบและระคายเคืองคอ แต่เมื่อสูบไปได้ประมาณ 5 วัน ถึง 2 สัปดาห์ก็จะเกิดความเคยชิน และสามารถสูบได้ตามปกติโดยไม่มีอาการแสบคอ
  • ความเคยชินกับการสูบบุหรี่แบบเดิมๆ เมื่อเปลี่ยนมาเป็นบุหรี่ไฟฟ้าอาจเกิดความรู้สึกแปลกๆ ดังนั้นในช่วงแรกจึงอาจมีอาการอยากบุหรี่แบบเดิม จึงต้องใช้ความอดทนพอสมควรจนกว่าจะเกิดความเคยชินกับการสูบบุหรี่แบบใหม่
  • ต้องมีการบำรุงรักษาเป็นประจำ เพื่อให้อุปกรณ์สูบบุหรี่ไฟฟ้าสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานและคุ้มค่า ส่วนมากผู้สูบจึงต้องถอดอุปกรณ์ออกมาล้างทุกๆ 2-3 อาทิตย์ และเปลี่ยนหัวอะตอมทุกๆ 1-2 เดือน ส่วนสารนิโคตินเหลวที่บรรจุในขวดหากเก็บรักษาไม่ดี หรือเก็บไว้นานอาจจะมีเชื้อรา ทำให้ผู้สูบรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทุกครั้งเวลาสูบ 
  • บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยลดการสูบบุหรี่ได้ การสูบบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ช่วยลดปริมาณการสูบบุหรี่ให้ลดลงแต่อย่างใด และอาจเป็นการเพิ่มอัตราผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่ไม่รู้โทษของบุหรี่ชนิดนี้และมองว่าการสูบบุหรี่ดูเท่ หรือมีกลิ่นหอม
  • บุหรี่ไฟฟ้าก่อให้เกิด PM 2.5 นอกจากมลพิษจากควันรถ ฝุ่นละอองและสารเคมีแล้ว ควันจากบุหรี่ไฟฟ้ายังทำให้เกิดมลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 สูงถึง 19,972 ไม่โครกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด และเส้นเลือดสมองตีบ

บุหรี่ไฟฟ้ากับกฎหมายในประเทศไทย

บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าผิดกฎหมายที่ต้องได้รับการควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีผู้ที่แอบนำเข้าและค้าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

  • ตามประกาศจากกระทรวงพานิชย์ กำหนดให้บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าและบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งค้าต้องข้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักพร พ.ศศ 2557 ผู้ที่ฝ่าฝืนลักลอบนำเข้า จะต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าทั้งหมด หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงริบสินค้าและพาหนะบรรทุกสินค้า
  • ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครอบผู้บริโภคที่ 9/2558 บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าห้ามขาย หรือให้บริการ ผู้ที่กระทำผิดจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้หากผู้กระทำผิดเป็นผู้สั่งผลิตและนำเข้ามาขายด้วย ก็จะต้องโทษเพิ่มสูงขึ้นอีก เป็นจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ตามมาตรา  246 พ.ร.บ. ศุลากร พ.ศ. 2560 ผู้มีส่วนช่วยซ่อนเร้น รับหรือซื้อไว้ และมีไว้ครอบครอง จะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ตามมาตรา 42 พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าในสถานที่สาธารณะที่กำหนดให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า บุหรี่ไฟฟ้านั้นไม่ได้ส่งผลดี หรือทำให้โทษจากการสูบบุหรี่ธรรมดาลดลงไปเลย 

ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีและเพื่อหลีกเลี่ยงการรับสารพิษเข้ามาในร่างกายจึงควรหลีกเลี่ยงการลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าจะดีที่สุด นอกจากนี้การสูบบุหรี่ธรรมดาก็เป็นอีกสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน

ดูแพ็กเกจตรวจตรวจสุขภาพ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นางอารยา หาอุปละ พยาบาลผู้ชำนาญการพิเศษ, บุหรี่ไฟฟ้าทางออกของคนที่อยากเลิกบุหรี่จริงหรือ? (https://med.mahidol.ac.th/atrama/issue029/believe-it-or-not), 29 พฤษภาคม 2560
ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ(ศจย.) คณะแพทย์ศาตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, แพทย์เตือน บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายกว่า PM2.5 (www.trc.or.th), 12 กุมภาพันธ์ 2562
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง สินค้าต้องห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2559

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
บุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมายหรือไม่
บุหรี่ไฟฟ้า ผิดกฎหมายหรือไม่

มาไขข้อสงสัยกันเลยดีกว่าว่า ตกลงแล้วบุหรี่ไฟฟ้านั้นผิดกฎหมายจริงหรือไม่?

อ่านเพิ่ม