บุหรี่ไฟฟ้ากับยาคุม

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
บุหรี่ไฟฟ้ากับยาคุม

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ที่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะเมื่อมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป ควรหลีกเลี่ยงหรือห้ามใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งความเสี่ยงจะยิ่งสูงขึ้นตามจำนวนของบุหรี่ที่สูบต่อวัน เช่น ถ้าสูบน้อยกว่าวันละ 15 มวน ก็จะเสี่ยงน้อยกว่าผู้ที่สูบตั้งแต่ 15 มวนขึ้นไป

ใช้บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายไหม?

บุหรี่ไฟฟ้า ถือเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมายในหลายประเทศ แต่ก็ได้รับการยอมรับในหลายประเทศเช่นกัน ดังนั้น แม้ในปัจจุบัน บุหรี่ไฟฟ้าจะยังเป็นสินค้าต้องห้าม และห้ามนำเข้ามาในประเทศไทย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจปอด วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 290 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ดังนั้น เมื่อมีนักวิจัยตั้งคำถามขึ้นว่า “การใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิดในผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่” และทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic review)

เมื่อทบทวนเอกสารการศึกษาต่าง ๆ ผู้วิจัยพบรายงานความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจน้อยมากในผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า นั่นคือพบเพียงหนึ่งรายงานที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (ภายใน 12 เดือนหลังจากที่ผู้ป่วยเปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทนการสูบบุหรี่) แต่ไม่พบรายงานการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง, การเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ และโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน

ในประเด็นความเสี่ยงอื่น ๆ พบว่าบุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย หรืออาจไม่เปลี่ยนแปลงเลย แต่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

แต่ก็มีข้อคิดสะกิดใจเล็ก ๆ จากผู้วิจัย ถึงความน่าเชื่อถือของเอกสารที่หยิบยกมาทบทวนเช่นกันนะคะว่า เนื่องจากเป็นการศึกษาในระยะสั้น (เพราะบุหรี่ไฟฟ้ามีการนำมาใช้แพร่หลายไม่นานมากนัก) จึงอาจไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับโรคหรือผลกระทบในระยะยาว อีกทั้ง หลาย ๆ งานวิจัยก็ได้รับการสนับสนุนทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า จึงอาจเกิดความโน้มเอียงในการศึกษาได้ รวมถึงงานวิจัยส่วนใหญ่ ไม่ได้แยกการประเมินผลตามเพศของกลุ่มตัวอย่าง จึงอาจไม่ได้ข้อมูลที่นำมาเชื่อมโยงกับความเสี่ยงในเพศหญิงที่ใช้หรือไม่ใช้ยาคุมกำเนิดร่วมด้วยนั่นเอง

 อย่างไรก็ตามผู้วิจัยกล่าวว่า จากการทบทวนเอกสารทั้งหมด ไม่พบงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ที่ใช้ยาคุมร่วมกับบุหรี่ไฟฟ้า จึงไม่มีผลสรุปโดยตรงจากการทบทวนเอกสารในประเด็นนี้

ใช้บุหรี่ไฟฟ้ากินยาคุมได้หรือไม่?

 ถึงกระนั้น พบงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของการใช้นิโคตินแบบแผ่นแปะร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งสรุปผลว่าการได้รับนิโคตินแบบแผ่นแปะร่วมกับยาคุม ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ได้รับแผ่นแปะนิโคตินแต่ไม่ได้ใช้ยาคุม พบว่าการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้นก็ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

จึงน่าสนใจว่า หากการใช้นิโคตินในรูปแผ่นแปะร่วมกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของอาการอันไม่พึงประสงค์มากไปกว่าผู้ที่ใช้แผ่นแปะนิโคตินเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การใช้บุหรี่ไฟฟ้าร่วมกับยาคุมกำเนิดก็น่าจะให้ผลเช่นเดียวกันหรือเปล่า?!?

แต่น่าเสียดายที่งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้นิโคตินแผ่นแปะนี้ ศึกษาเฉพาะผลกระทบในระยะสั้น อีกทั้งกลุ่มตัวอย่างของผู้ที่ใช้ยาคุมก็มีอายุน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ยาคุม จึงไม่อาจตอบคำถามที่สงสัยของผู้ที่ทำการทบทวนวรรณกรรม (และผู้อ่านอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ) ได้อย่างชัดเจนนัก เฮ้อ... ก็คงต้องรอให้มีการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมต่อไปนะคะ

 อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะปลอดภัยกว่าบุหรี่ทั่วไปจริงหรือไม่ สามารถใช้ร่วมกับการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมได้โดยไม่เสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงในอนาคตจริงหรือเปล่า นิโคตินที่อยู่ในบุหรี่ก็ถือเป็นสารเสพติดที่มีอันตรายต่อร่างกายค่ะ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ ไม่ใช้เลยซักอย่างน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดต่อสุขภาพนะคะ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Unique Dangers of Smoking for Women. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/smoking-womens-health-perspective-3520429)
Estrogen And Progestin Oral Contraceptives (Oral Route) Side Effects. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/estrogen-and-progestin-oral-contraceptives-oral-route/side-effects/drg-20069422)
Hormonal contraception among electronic cigarette users and cardiovascular risk: a systematic review. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26546021)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ไขข้อสงสัย บุหรี่ไฟฟ้าดีอย่างไร ช่วยให้คุณหยุดสูบบุหรี่ได้หรือไม่?
ไขข้อสงสัย บุหรี่ไฟฟ้าดีอย่างไร ช่วยให้คุณหยุดสูบบุหรี่ได้หรือไม่?

เจาะลึกเกี่ยวกับ “บุหรี่ไฟฟ้า” พร้อมข้อดี-ข้อเสียที่ควรรู้

อ่านเพิ่ม
บุหรี่ไฟฟ้า
บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้าสามารถช่วยให้คุณหยุดสูบบุหรี่ได้หรือไม่?

อ่านเพิ่ม