ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า... ใช้ยาคุมกำเนิดได้ไหม?!?

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า... ใช้ยาคุมกำเนิดได้ไหม?!?

ความรู้สึกซึมเศร้า หรือมีอารมณ์แปรปรวน เป็นผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด อีกทั้งเคยมีความกังวลกันว่ายาต้านซึมเศร้าบางชนิดอาจลดประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ จึงทำให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคอารมณ์ซึมเศร้า โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้ยาร่วมด้วยในการบำบัดอาการ เกิดความกังวลว่าควรเลือกใช้วิธีใดในการคุมกำเนิด

 เมื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับการเลือกวิธีคุมกำเนิด (Medical Eligibility Criteria for Contraceptive Use) ฉบับปรับปรุงปี 2017 ที่เผยแพร่โดยกองควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (U.S. CDC) มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการซึมเศร้า ดังนี้ค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ประเภท

ห่วงอนามัย

ชนิดหุ้ม

ทองแดง

(Cu-IUD)

ห่วงอนามัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ชนิดเคลือบ

ฮอร์โมน

(LNG-IUD)

ยาฝัง

คุมกำเนิด

(Implant)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ยาฉีด

คุมกำเนิด

ชนิด 3 เดือน

(DMPA)

ยาเม็ด

สูตรฮอร์โมน

โปรเจสติน

(POP)

ยาคุมฮอร์โมน

รวมทุกชนิด

(CHC)

กลุ่มโรคอารมณ์ซึมเศร้า

(Depressive disorder)

1*

1*

1*

1*

1*

1*

หมายเหตุ : ความหมายของการแบ่งประเภทการใช้

ประเภท

นิยาม

ข้อสรุป

U.S. MEC 1

ไม่มีข้อจำกัด (สามารถใช้วิธีนี้ได้)

ใช้ได้ ไม่มีข้อจำกัด

U.S. MEC 2

มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี หรือผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความเสี่ยง แต่โดยทั่วไป ถือว่าประโยชน์ที่จะได้รับมีเหนือกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ใช้ได้ แต่ควรมีการ

ตรวจติดตามผล

U.S. MEC 3

มีความเสี่ยงในทางทฤษฎี หรือผ่านการพิสูจน์แล้วว่ามีความเสี่ยง และไม่คุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้

ควรหลีกเลี่ยงการใช้

เว้นแต่ไม่มีทางเลือกอื่น

U.S. MEC 4

มีความเสี่ยงต่อสุขภาพซึ่งยอมรับไม่ได้ (ใช้วิธีนี้ไม่ได้)

ห้ามใช้โดยเด็ดขาด

 จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า ไม่มีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการซึมเศร้าในการคุมกำเนิดด้วยวิธีต่าง ๆ เนื่องจากเมื่อติดตามการใช้ยาคุมในผู้ป่วย และผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะป่วยเป็นโรคซึมเศร้า เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิด ก็ไม่พบหลักฐานที่เชื่อมโยงได้ว่ายาคุมทำให้อาการของโรคซึมเศร้าเลวร้ายลง

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยกลุ่มโรคอาการซึมเศร้าที่จำเป็นต้องรักษาด้วยยา จะต้องพิจารณาต่ออีกว่ายาที่ใช้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดด้วยหรือไม่ ซึ่งมีข้อแนะนำ ดังนี้ค่ะ

 

ประเภท

ห่วงอนามัย

ชนิดหุ้ม

ทองแดง

(Cu-IUD)

ห่วงอนามัย

ชนิดเคลือบ

ฮอร์โมน

(LNG-IUD)

ยาฝัง

คุมกำเนิด

(Implant)

ยาฉีด

คุมกำเนิด

ชนิด 3 เดือน

(DMPA)

ยาเม็ด

สูตรฮอร์โมน

โปรเจสติน

(POP)

ยาคุมฮอร์โมน

รวมทุกชนิด

(CHC)

ใช้ยาต้านซึมเศร้ากลุ่ม SSRIs

1

1

1

1

1

1

ใช้สมุนไพร St. John’s wort

1

1

2

1

2

2

ในทางทฤษฎี การใช้ยาต้านซึมเศร้าบางตัวร่วมกับยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม อาจส่งผลกระทบต่อกัน เช่น ลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด หรือเพิ่มผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิด หรือในทางตรงข้าม อาจทำให้ระดับต้านซึมเศร้าตัวนั้นเพิ่มสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลที่ชี้ชัดเจนว่าจะเกิดปัญหาขึ้นจริงตามนั้น

และแม้จะมีข้อมูลไม่มาก แต่เท่าที่มีการศึกษาทางคลินิกหรือทางเภสัชจลนศาสตร์ ก็ไม่พบว่าการใช้ยาต้านซึมเศร้าในกลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs) เช่น Fluoxetine, Fluvoxamine, Citalopram, Escitalopram, Sertraline, Paroxetine จะมีผลลดประสิทธิภาพของวิธีคุมกำเนิดที่ใช้ร่วมกัน อีกทั้งไม่พบความแตกต่างของประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของการรักษา เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ใช้ยาต้านซึมเศร้าแต่ไม่ได้คุมกำเนิดใด ๆ

ส่วนสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต พบว่าอาจลดประสิทธิภาพของยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม, ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยว และยาฝังคุมกำเนิดได้ ซึ่งเสี่ยงต่อการมีเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือมีไข่ตกและเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สูงขึ้น จึงควรมีการตรวจติดตามผลหากจำเป็นต้องใช้ร่วมกันนะคะ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Can hormonal birth control trigger depression?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/can-hormonal-birth-control-trigger-depression-2016101710514)
Depression on birth control: What is the link?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327275)
Contraceptive choices for behaviorally disordered women. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8512042)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร

เมื่อแอลกอฮอล์ สารเสพติดและยาทำให้คุณรู้สึกแย่กว่าเดิม

อ่านเพิ่ม