อาการปวดหลังส่วนล่าง เป็นอาการที่พบได้บ่อย มักมีสาเหตุมาจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น โดยทั่วไปมักไม่ใช่โรคที่อันตราย อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดไม่ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หรืออาการแย่ลง จะต้องพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่าง
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น อาการปวดหลังส่วนล่างมักมีสาเหตุมาจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็นสามารถเกิดขึ้นได้ขณะยกของหนัก การเคลื่อนไหวเปลี่ยนท่าทางทันทีทันใด การวางท่าทางของหลังที่ไม่ดี หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการปวดหลัง หรือความตึงเคล็ดของกล้ามเนื้อสามารถเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรือเกิดขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อเวลาผ่านไปจากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ อย่างไรก็ดี อาการตึงเคล็ดของกล้ามเนื้อเป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรงและมักไม่ทำให้ปวดเป็นระยะเวลานาน แต่อาการปวดเฉียบพลันอาจจะมีอาการรุนแรงมากก็ได้
ส่วนมากปัญหาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อนเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่าง อาการบาดเจ็บนั้นรวมถึงความเสียหายที่เกิดกับหมอนรองกระดูกสันหลัง การกดเบียดรากเส้นประสาท การเคลื่อน ไหวผิดท่าทางของข้อต่อกระดูกสันหลัง
สำหรับสาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่างที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การฉีกขาด หรือการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง
อาการปวดที่จะถือว่าเป็นเรื้อรัง หมายถึงมีอาการปวดมากกว่า 3 เดือน และมากเกินกว่ากลไกการรักษาตนเองตามธรรมชาติของร่างกาย อาการปวดเรื้อรังที่หลังส่วนล่างมักเกี่ยวกับปัญหาของหมอนรองกระดูก ปัญหาของข้อต่อ และ/หรือ รากประสาทระคายเคือง สาเหตุหลักได้แก่
- หมอนรองกระดูกที่บริเวณเอวเคลื่อนทับเส้นประสาท (Lumbar herniated disc)
เมื่อมีการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกจะทำให้สารคล้ายเจลที่อยู่ตรงกลางของหมอนรองกระดูกสันหลังรั่วผ่านผนังชั้นนอกและไประคายเคืองรากประสาทที่อยู่บริเวณรอบๆ
- โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม (Degenerative disc disease)
เมื่อแรกเกิด หมอนรองกระดูกสันหลังของทุกคนจะเต็มไปด้วยน้ำและมีสุขภาพแข็งแรง เมื่ออายุมากขึ้น หมอนรองกระดูกจะสูญเสียน้ำและเกิดการสึกหรอ เมื่อหมอนรองกระดูกสูญเสียน้ำทำให้ไม่สามารถทนต่อแรงกระทำได้มากเท่าเดิมจึงมีแรงส่งต่อไปที่ผนังของหมอนรองกระดูก ทำให้เกิดการฉีดขาดและทำให้มีการปลิ้นออกมาในที่สุด
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- ข้อต่อกระดูกสันหลังทำงานผิดปกติ (Facet joint dysfunction)
ข้อต่อกระดูกสันหลัง หรือข้อฟาเซ็ท จะมีอยู่สองข้อที่บริเวณด้านหลังกระดูกสันหลัง ข้อต่อประกอบด้วยกระดูกอ่อนและล้อมรอบด้วยเส้นเอ็น
- โรคของข้อกระดูกเชิงกราน (Sacroiliac joint dysfunction)
ข้อต่อ sacroiliac joint เป็นข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum) กับแต่ละข้างของกระดูกเชิงกราน ข้อต่อนี้จัดเป็นข้อต่อที่แข็งแรง มีการเคลื่อนไหวน้อย ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้นระหว่างร่างกายส่วนบนและร่างกายส่วนล่าง อย่างไรก็ดี ข้อต่อ sacroiliac joint สามารถมีการปวดเกิดขึ้นได้ถ้ามีการอักเสบ
- โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal stenosis)
ภาวะนี้เป็นสาเหตุของอาการปวดที่เกิดขึ้นจากการตีบแคบของโพรงกระดูกสันหลังซึ่งเป็นที่อยู่ของรากประสาท จำนวนมาก การตีบแคบอาจเกิดขึ้นที่ระดับใดระดับหนึ่ง (single level) หรือหลายระดับ (multiple level) ของหลังส่วนล่าง
- โรคกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)
โรคนี้เกิดขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังข้อหนึ่งเคลื่อนที่ไปบนกระดูกสันหลังอีกข้อหนึ่ง อาการปวดจะเกิดขึ้นจากการสูญเสียความมั่นคงของกระดูก หรือเกิดจากแรงกดทับที่เส้นประสาท
- ความพิการผิดรูป (deformity)
ความโค้งของกระดูกสันหลังที่มาจากกระดูกสันหลังคด (scoliosis) หรือ หลังโก่ง (kyphosis) ถือว่ามีการผิดรูปเกิดขึ้น ความผิดรูปอาจมีความสัมพันธ์กับอาการปวดหลังส่วนล่าง
- การบาดเจ็บ (Trauma)
การหักเฉียบพลัน หรือการเคลื่อนที่ของกระดูกสันหลังทำให้เกิดอาการปวดได้ อาการปวดหลังส่วนล่างจะเกิดขึ้นหลังจากมีการบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ หรือการหกล้ม ซึ่งต้องได้รับการตรวจรักษาโดยแพทย์
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การหักที่เกิดจากแรงกดทับ (compression fracture)
การหักซึ่งเกิดขึ้นที่กระดูกสันหลังจะทำให้มีอาการปวดเฉียบพลัน การหักชนิดนี้มีสาเหตุหลักมาจากการอ่อนแอของกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน (osteoporosis) โดยพบมากในผู้สูงอายุ หรือเกิดจากอุบัติเหตุก็ได้
สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่างที่พบน้อย
- การติดเชื้อ (infection) หรือเรียกอีกอย่างว่าโรคกระดูกอักเสบ (osteomyelitis)
กระดูกสันหลังติดเชื้อพบได้น้อยแต่ทำให้เกิดการปวดรุนแรงและถึงแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้อที่กระดูกนี้อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด การฉีดยาที่ผิดวิธี หรือการแพร่กระจายของเชื้อจากที่อื่นผ่านเลือด ผู้ป่วยที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง จะมีโอกาสที่จะติดเชื้อที่กระดูกสันหลังมากกว่าคนทั่วไป
- เนื้องอก (tumor)
เนื้องอกที่เกิดขึ้นที่กระดูกสันหลังส่วนใหญ่แล้วมีต้นกำเนิดจากบริเวณอื่นของร่างกาย แล้วแพร่กระจายมาที่กระดูกสันหลัง สาเหตุของก้อนเนื้องอกที่กระดูกสันหลังที่พบบ่อยมีจุดกำเนิดจากมะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งที่ไต มะเร็งต่อมไทรอยด์ หรือมะเร็งปอด หากมีอาการปวดหลังเกิดขึ้นใหม่ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งอยู่แล้ว กรณีนี้ต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมว่ามีการแพร่กระจายของมะเร็งมาที่กระดูกสันหลังหรือไม่
- โรคภูมิต้านทานตนเอง หรือภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune disease)
อาการปวดหลังอาจเป็นอาการที่สัมพันธ์กับโรคภูมิต้านทานตนเองได้ เช่น โรคกระดูกสันหลังอักเสบยึดติด (ankylosing spondylitis) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) โรคลูปัส (lupus) และโรคอื่นๆ
โรคทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดหลังที่พบบ่อย อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายโรคที่เป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง ดังนั้นการค้นหาวิธีการรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างที่เหมาะสมจะขึ้นกับการวินิจฉัยที่ถูกต้องซึ่งจะพิจารณาจากโรคร่วมของผู้ป่วยด้วย
นอกจากนี้อาการปวดหลังส่วนล่างยังอาจเกิดได้จากกล้ามเนื้อฉีกขาด การตึงและการอักเสบของเส้นเอ็นได้
กล้ามเนื้อฉีกขาด การตึงและอักเสบของเส้นเอ็น
การตึงและอักเสบของหลังส่วนล่าง หรือกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างมีการฉีกขาด สามารถเกิดขึ้นแบบกะทันหัน หรือค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ จากการเคลื่อนไหวซ้ำๆ
- กล้ามเนื้อฉีกขาดเกิดขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อถูกยืดออก หรือมีการใช้งานมากเกินไป
- การตึงและอักเสบเกิดขึ้น เมื่อมีการยืดที่มากเกินไปทำให้เกิดผลต่อเส้นเอ็นและข้อต่อกระดูกสันหลังที่ทำหน้าที่เชื่อมกระดูกกับกระดูกไว้ด้วยกัน
สาเหตุของกล้ามเนื้อฉีกขาด และการตึงและอักเสบที่พบบ่อย
- การยกของหนัก หรือมีการบิดของกระดูกสันหลังขณะยกของ
- การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างฉับพลันซึ่งทำให้เกิดแรงกดปริมาณมากที่หลังส่วนล่าง เช่น การหกล้ม
- การอยู่ในท่าทางที่ผิดปกติเป็นเวลานาน
- บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องมีการบิดตัว หรือเป็นกีฬาที่มีแรงกระแทกสูง
ขณะที่อาการกล้ามเนื้อฉีดขาดและการตึงอักเสบเป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรงและมักไม่ทำให้ปวดเป็นระยะเวลานาน แต่อาการปวดเฉียบพลันอาจจะมีอาการค่อนข้างรุนแรงได้