กรุงเทพประกันชีวิต
ชื่อผู้สนับสนุน
กรุงเทพประกันชีวิต

มะเร็ง 2020 รักษาได้ หายได้ แต่เป็นง่ายกว่าเดิม

สถิติโรคมะเร็งของประเทศไทยล่าสุด ปัจจัยการเกิดโรค นวัตกรรมการรักษา และแผนสำรองสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิดทำได้อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 13 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
มะเร็ง 2020 รักษาได้ หายได้ แต่เป็นง่ายกว่าเดิม

มะเร็ง โรคร้ายที่เป็นสาเหตุให้คนไทยเสียชีวิตลำดับต้นๆ ปัจจัยการเกิดมะเร็งมีทั้งภายในและภายนอก ดังนั้นหากไม่สามารถเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมได้ ก็ป้องกันได้ยาก แต่อีกทางหนึ่ง วิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าก็ทำให้เกิดแนวทางการรักษามะเร็งแบบใหม่ๆ ซึ่งถ้าตรวจพบโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกก่อนเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย ก็สามารถรักษาให้หาย กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

สถิติมะเร็งที่น่าสนใจ

มะเร็ง เป็นโรคร้ายที่เป็นต้นเหตุการเสียชีวิตของคนไทยเป็นอันดับ 1 โดยข้อมูลสถิติจากกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2561 พบว่า ในประชากร 100,000 คน มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 120.3 คน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติของปี 2561 มีผู้มารับบริการมากถึง 14,953 คน และเป็นผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ถึง 2,972 คน 

5 อันดับโรคมะเร็งที่พบมากในเพศชาย

เพศชายส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตกับปัจจัยเสี่ยงภายนอก เช่น ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเหล่านี้ได้บ่อย

  1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี
  2. มะเร็งลำไส้ใหญ่
  3. มะเร็งปอด
  4. มะเร็งต่อมลูกหมาก
  5. มะเร็งหลอดอาหาร

5 อันดับโรคมะเร็งที่พบมากในเพศหญิง

เพศหญิงมีปัจจัยภายนอกเข้ามาเกี่ยวกับโรคมะเร็งน้อยกว่าเพศชาย แต่ก็มีปัจจัยภายในเป็นส่วนประกอบด้วย เช่น ฮอร์โมน จึงทำให้มีโอกาสเป็นมะเร็งเหล่านี้ได้บ่อย

  1. มะเร็งเต้านม
  2. มะเร็งปากมดลูก
  3. มะเร็งลำไส้ใหญ่
  4. มะเร็งตับและท่อน้ำดี
  5. มะเร็งปอด

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็ง

โรคมะเร็งเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอก ปัจจัยภายในมีตั้งแต่เรื่องกรรมพันธุ์ ภาวะทุพโภชนาการ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง การระคายเคืองที่เกิดซ้ำๆ เป็นเวลานาน ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ รังสีต่างๆ และสารเคมีต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม เช่น รังสีอัลตร้าไวโอเลต ควันบุหรี่ ควันรถยนต์ อาหารการกินก็ส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นกัน โดยมักมาจากอาหารที่ปิ้งหรือทอดจนไหม้ ปรุงอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ หรือมีพยาธิแฝงอยู่

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน

เมื่อพูดถึง “การรักษามะเร็ง” หลายคนอาจนึกถึงการผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกไป หรือทำเคมีบำบัด ที่มักเรียกกันว่า “ทำคีโม” แต่ความจริงปัจจุบันนี้แนวทางการรักษาโรคมะเร็งก้าวหน้าไปไกล มีหลากหลายวิธีที่ให้ผลดี ทำให้ผู้เป็นมะเร็งสามารถรักษาหายและกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เช่น

  • รังสีบำบัด (Radiation therapy) หรือฉายแสง เป็นวิธีรักษามะเร็งด้วยการปล่อยคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้า หรืออนุภาคซึ่งเป็นรังสี เช่น โคบอลต์ 60 ไปใช้ทำลายเซลล์เนื้อร้าย การรักษาด้วยแนวทางนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ การใช้รังสีรักษาระยะไกล กับการใช้รังสีรักษาระยะใกล้ เทคนิคการฉายรังสีมีหลายแบบ เพื่อให้ควบคุมระดับความเข้มและให้รังสีเข้าถึงบริเวณที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ และมีผลข้างเคียงต่อเนื้อเยื่อปกติบริเวณใกล้เซลล์มะเร็งน้อยที่สุด

  • ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) เป็นการรักษาด้วยยา เพื่อออกฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งและตรวจจับเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาให้ใช้การรักษานี้เป็นการรักษาหลัก หรือเป็นการรักษาเสริมร่วมกับการผ่าตัด ฉายรังสี หรือทำคีโม ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคมะเร็งที่ผู้ป่วยเป็น

  • ใช้ยามุ่งเป้า (Targeted therapy) เป็นการรักษาด้วยยาหรือสารบางชนิด เพื่อเข้าไปจับกับโปรตีนที่มีผลต่อการแบ่งตัวหรือการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งภายในร่างกายผู้ป่วย การใช้ยามุ่งเป้ามีจุดประสงค์เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตหรือแพร่กระจายเซลล์มะเร็ง และอาจส่งผลให้เซลล์มะเร็งตายไปเองได้ ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีนี้คือผลข้างเคียงน้อย ทำให้สามารถให้ยาผู้ป่วยได้มากขึ้น มีประสิทธิภาพสูง แต่ค่าใช้จ่ายสูงมาก

  • ฮอร์โมนบำบัด (Hormone therapy) เป็นการรักษาโรคมะเร็งด้วยหลักการขัดขวางการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนที่จะไปกระตุ้นเซลล์มะเร็ง โดยอาจใช้การผ่าตัดหรือฉายรังสีที่อวัยวะผลิตฮอร์โมน หรือให้ยายับยั้งการทำงานของอวัยวะนั้น ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีฮอร์โมนบำบัดอาจทำให้ปวดกระดูก หรือก้อนมะเร็งโตขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกของการรักษาได้

  • ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ (Stem cell transplant) ใช้สำหรับรักษามะเร็งทางโลหิตวิทยา เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งไขกระดูก ข้อจำกัดของการรักษามะเร็งแนวทางนี้คือสเต็มเซลล์ที่จะนำมาปลูกถ่ายจะต้องเข้ากันกับร่างกายของผู้ป่วยได้ ไม่อย่างนั้นร่างกายจะมีภาวะต่อต้าน

  • การแพทย์เฉพาะเจาะจง (Precision medicine) เป็นแนวทางการรักษาที่แพทย์จะตรวจผู้ป่วยแบบลงลึกถึงระดับยีน แล้วค่อยออกแบบการรักษาด้วยวิธีที่เจาะจง เหมาะสำหรับแต่ละคนโดยเฉพาะ การรักษาแบบนี้ให้ผลค่อนข้างดี แต่ยังไม่สามารถใช้รักษามะเร็งได้ทุกชนิด มีบางเคสยังอยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิก

แนวทางการรักษามะเร็งเหล่านี้มีข้อดี-ข้อเสียแตกต่าง และในบางรายแพทย์อาจพิจารณาให้ใช้หลายวิธีร่วมกันได้ สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้จะมีการพัฒนาตัวยาและวิธีรักษามะเร็งแบบใหม่ๆ ขึ้นที่ให้ผลการรักษาดี แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าถึงการรักษาเหล่านั้นได้ เนื่องจากการรักษาบางวิธีที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์เฉพาะ อาจมีเฉพาะในโรงพยาบาลเอกชนบางแห่งเท่านั้น และค่ารักษาก็มักสูงมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ตัวอย่างค่ารักษามะเร็งปอดตั้งแต่วินิจฉัยโรคถึงทำการรักษาแบบเคมีบำบัด ร่วมกับรังสีรักษาและใช้ยามุ่งเป้า ยังไม่รวมค่าห้องพัก ราคาอยู่ที่ราวๆ 2,000,000 บาท

มะเร็ง สามารถรักษาให้หายได้หรือไม่

เนื่องจากเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้นอย่างที่กล่าวไปแล้ว ตั้งแต่กรรมวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคที่ให้ผลแม่นยำขึ้น ทำให้ผู้รับการตรวจสามารถทราบว่าเป็นมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่ยังไม่มีอาการ และเซลล์ยังไม่กระจายออกไปจากอวัยวะต้นกำเนิดมะเร็ง

ผู้เป็นมะเร็งจึงสามารถรักษารับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และหายขาด สามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยหากพบว่าเป็นมะเร็งในระยะที่ 1-2 โอกาสหายขาดจะมีมากถึง 80-90%

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งนั้นมีเรื่องปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นแม้รักษาหายแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกได้

ดูแลสุขภาพร่างกายอาจไม่พอ ควรมีแผนสำรองเพื่อสุขภาพการเงินด้วย

เป็นที่รู้กันว่า การรักษาโรคมะเร็งนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ตั้งแต่หลักแสนถึงหลักล้าน และไม่เพียงค่าทำการรักษาเท่านั้นที่ต้องจ่ายไป ยังมีค่าห้องพัก ค่าเสียโอกาสการทำงาน ค่าเสียเวลาในการเดินทางไปที่สถานพยาบาลเพื่อติดตามผลการรักษา และไม่ได้เฉพาะตัวผู้ป่วยเอง คนใกล้ชิดที่รับภาระดูแลผู้ป่วยมะเร็งก็ถือว่าต้องเสียเวลาและเงินทองไม่น้อยเช่นกัน

การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค หมั่นดูแลรักษาสุขภาพ และเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำ อาจเป็นวิธีป้องกันโรคที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นการเตรียมตั้งรับความเสี่ยงตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ

สำหรับโรคมะเร็ง อาจลองพิจารณาการทำประกัน บีแอลเอ แคนเซอร์ แม็กซ์ จากกรุงเทพประกันชีวิต ประกันโรคมะเร็งที่คุ้มครองตั้งแต่ตรวจพบมะเร็ง พักรักษาตัวในโรงพยาบาล และดูและถึงคนข้างหลังกรณีผู้ทำประกันเสียชีวิต

ถ้าไม่ได้เตรียมการอะไรรองรับ การเป็นมะเร็งครั้งหนึ่งอาจหมายถึงการเสียทั้งสุขภาพร่างกายและเงินเก็บทั้งหมดในคราวเดียว ขณะที่การทำประกันมะเร็งเป็นการค่อยๆ ทยอยจ่ายในอัตราที่คุณสามารถเลือกวางแผนได้เองตั้งแต่ต้นอาจทำให้วางใจได้มากกว่า เตรียมพร้อมรับมือตั้งแต่วันนี้ด้วยความคุ้มครองมะเร็งแบบเต็มแม็กซ์ กับบีแอลเอ แคนเซอร์ แม็กซ์ จากกรุงเทพประกันชีวิต

  • รับประกันภัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 70 ปี คุ้มครองชีวิตและโรคมะเร็งยาวนานถึงอายุ 90 ปี พร้อมจ่ายทันทีเมื่อตรวจพบโรคมะเร็งทุกระยะ
  • คุ้มครองต่อเนื่อง รับเงินชดเชยสูงสุดวันละ 10,000 บาท เมื่อเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากโรคมะเร็ง
  • คุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง สูงสุด 3,000,000 บาท

ถ้าไม่ได้เตรียมการอะไรรองรับ การเป็นมะเร็งครั้งหนึ่งอาจหมายถึงการเสียทั้งสุขภาพร่างกายและเงินเก็บทั้งหมดในคราวเดียว ขณะที่การทำประกันมะเร็งเป็นการค่อยๆ ทยอยจ่ายในอัตราที่คุณสามารถเลือกวางแผนได้เองตั้งแต่ต้นอาจทำให้วางใจได้มากกว่า เตรียมพร้อมรับมือตั้งแต่วันนี้ด้วยความคุ้มครองมะเร็งแบบเต็มแม็กซ์ กับบีแอลเอ แคนเซอร์ แม็กซ์ จากกรุงเทพประกันชีวิต


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข, สถิติสาธารณสุข (http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic%2061.pdf), 2561.
Siriraj E-Public Library, การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีฮอร์โมน (Hormonal treatment) ตอนที่ 1 (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=455), 14 ตุลาคม 2553.
National Cancer Institute, Types of Cancer Treatment (https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/types).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สถิติของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน
สถิติของผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งขั้นพื้นฐาน

ข้อเท็จจริงจากสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society) และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC)

อ่านเพิ่ม
ฉันจะจ่ายค่าวิกผมระหว่างทำเคมีบำบัดอย่างไร
ฉันจะจ่ายค่าวิกผมระหว่างทำเคมีบำบัดอย่างไร

ประกันสุขภาพอาจคลอบคลุมค่าใช้จ่ายการซื้อวิกผม

อ่านเพิ่ม