ประโยชน์และโทษของคาเฟอีน

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประโยชน์และโทษของคาเฟอีน

ช่วยลดอาการง่วงนอน

คาเฟอีนนั้นสามารถช่วยลดอาการง่วงนอนได้โดยการไปกระตุ้นสมองให้รู้สึกตื่น คาเฟอีนยังสามารถขัดขวางสาร adenosine ซึ่งเป็นสารที่ทำให้หลับได้เป็นบางครั้ง เวลาที่คุณนอนไม่พอนั้น คุณก็มักจะมีสาร adenosine ในสมองมากกว่าปกติ ดังนั้นการดื่มคาเฟอีนจึงช่วยลดปริมาณสาร adenosine และช่วยให้คุณง่วงนอนน้อยลง แต่ถ้าหากคุณดื่มกาแฟเป็นประจำอยู่แล้ว คุณอาจจะต้องดื่มในปริมาณที่มากขึ้นเนื่องจากสมองของคุณเคยชินกับปริมาณเดิมที่เคยได้รับ ทำให้สมองมีการสร้างตัวรับสาร adenosine ขึ้นมาเพิ่มเติม และทำให้คุณต้องดื่มคาเฟอีนมากขึ้นเพื่อเข้าไปขัดขวางตัวรับที่เพิ่มขึ้น

ช่วยให้ตื่น

ผู้ที่ไม่ได้รับประทานคาเฟอีนเป็นประจำนั้นมักจะมีอาการตื่นตัวที่เห็นได้ชัด มีสติ และสมาธิมากขึ้นในการทำงานที่หน้าเบื่อหรือที่ต้องทำเป็นประจำเช่นพิมพ์งาน แต่ในผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำนั้นมักจะได้รับประโยชน์ในข้อนี้เพียงเล็กน้อย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ออกกำลังกาย

คาเฟอีนนั้นช่วยเพิ่มความสามารถทางกายในเวลาที่ออกกำลังกายเช่นวิ่ง แต่สำหรับกิจกรรมที่ใช้แรงมากในระยะสั้นเช่นยกของหนักหรือวิ่งเร็ว จะมีประโยชน์น้อยลง คาเฟอีนนั้นจะเข้าไปทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่เก็บสะสมไว้ในร่างกายแทนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตในกล้ามเนื้อ ในผู้ที่ดื่มคาเฟอีนเป็นประจำนั้นอาจจะเห็นผลลดลง

โรคพาร์กินสัน

งานวิจัยหนึ่งพบว่าผู้ที่รับประทานคาเฟอีนอย่างน้อย 600 มิลลิกรัมต่อวันนั้นมีแนวโน้มที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันในอีก 10 ปีถัดมาน้อยกว่ากลุ่มที่รับประทานคาเฟอีนในปริมาณที่น้อยกว่า 200 มิลลิกรัมต่อวันประมาณ 30% ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันนั้นจะค่อยๆ สูญเสียเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่สร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อ dopamine ในขณะที่คาเฟอีนนั้นจะป้องกันเซลล์ประสาทเหล่านี้

โรคอัลไซเมอร์

การทดลองในหนูพบว่าคาเฟอีนนั้นไม่ได้ป้องกันเฉพาะการสูญเสียความทรงจำเท่านั้นแต่ยังช่วยลดปริมาณของโปรตีน beta-amyloid ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ แต่งานวิจัยในมนุษย์นั้นยังหาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้

ปวดหัว

เวลาที่มีอาการปวดหัว เส้นเลือดในสมองนั้นจะมีการขยายตัว ในขณะที่คาเฟอีนนั้นจะช่วยทำให้เส้นเลือดตีบตัว ช่วยลดอาการปวด

การตั้งครรภ์

การดื่มคาเฟอีนในขณะที่ตั้งครรภ์นั้นอาจจะเป็นอันตรายได้ โดยแนะนำให้รับประทานไม่เกินวันละ 200 มิลลิกรัม

อาการนอนไม่หลับ

คาเฟอีนอาจทำให้อาการนอนไม่หลับนั้นแย่ลงได้ โดยเฉพาะในผู้ที่ร่างกายสามารถสลายสารคาเฟอีนได้ช้า และทำให้มีสารตกค้างอยู่ในกระแสเลือดในตอนกลางคืน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อัตราการเต้นของหัวใจ

มีงานวิจัยที่พบว่าคาเฟอีนไม่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจแม้กระทั่งในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอยู่เดิมก็ตาม

น้ำหนัก

คาเฟอีนไม่มีผลต่อน้ำหนัก และมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่สนับสนุนว่าคาเฟอีนสามารถช่วยลดน้ำหนักได้

ความดันโลหิต

คาเฟอีนไม่มีผลต่อความดันโลหิต แม้ว่าผู้ที่รับประทานคาเฟอีนนั้นจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย แต่การศึกษาระยะยาวไม่พบว่าเชื่อมโยงระหว่างการดื่มกาแฟกับการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังนั้นอันตรายหรือไม่?

ในปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถสรุปผลได้ชัดเจน เครื่องดื่มชูกำลังนั้นอาจจะมีคาเฟอีนมากกว่ากาแฟทั่วไปได้มากกว่า 5 เท่าและยังมีสารกระตุ้นประสาทชนิดอื่นๆ ที่เพิ่มผลของคาเฟอีน การดื่มเครื่องดื่มชูกำลังนั้นทำให้มีผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากผลข้างเคียงหรือการติดเครื่องดื่มดังกล่าว งานวิจัยหนึ่งพบว่าเครื่องดื่มชูกำลังอาจส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจและเพิ่มความดันโลหิตได้ และมีรายงานว่าพบผู้ที่เสียชีวิตที่อาจเกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงนั้นสามารถรับประทานได้ไม่เกินวัลนะ 2 กระป๋อง แต่ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอยู่เดิมควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ และในเด็กและวัยรุ่นไม่ควรดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ 


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pros and Cons of the Caffeine Craze. WebMD. (https://www.webmd.com/food-recipes/features/pros-and-cons-caffeine-craze)
Caffeine: Effects, risks, and cautions. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/271707)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)