โรคสมาธิสั้น (ADHD)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคสมาธิสั้น (ADHD)

ADHD เป็นโรคที่เกิดจากสารเคมีในสมองบางชนิดไม่สมดุลทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมตัวเองให้อยู่นิ่งหรือสงบได้   แม้เด็กจะพยายามแล้วก็ตาม

ADHD มีอาการสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ซุกซน ไม่นิ่ง (Hyperactive)  :  ชอบวิ่งวุ่น  นั่งไม่ติดที่  ปีนป่าย  กระโดด  เล่นโลดโผน   หากต้องนั่งกับที่จะต้องยุกยิกตลอดเวลา
  • ความสนใจสั้น  : เบื่อง่าย  วอกแวกง่าย  ทำงานไม่เรียบร้อย  ขาดความรอบคอบ  ทำงานไม่เสร็จ
  • หุนหันพลันแล่น (Impulsive) : ควบคุมตัวเองไม่ได้   ยับยั้งตัวเองไม่เป็น     ใจร้อน  มักตอบคำถามก่อนที่ผู้ถามจะพูดจบ   รอคอยใครไม่เป็น   ชอบพูดแทรกคนอื่น

อาการเหล่านี้ส่งผลให้เกิดการรบกวนชั้นเรียน  เด็กสนใจเรียนได้ไม่นาน  วอกแวก  สนใจสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน   แหย่เพื่อน  ลำบากในการปรับตัวเข้ากับเพื่อน  คุณครู   มีผลการเรียนต่ำลง  เด็กมักถูกมองว่าเป็นเด็กดื้อ ซน นิสัยไม่ดี  ทำให้ถูกลงโทษบ่อยกว่าเด็กคนอื่นซึ่งอาจเกิดเป็นปัญหาด้านจิตใจตามมา เช่น มองตนเองเป็นคนไม่ดี  ไม่มั่นใจในตนเอง  รู้สึกว่าตนไม่เป็นที่ต้องการของใครๆ  จนกลายเป็นเด็กก้าวร้าวในที่สุด

แนวทางการช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้น

การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ให้เข้าใจธรรมชาติของโรคและมีทักษะในการดูแลเด็กสมาธิสั้น ดังนี้

  • การสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้นควรใช้คำพูดที่ชัดเจน กระชับ ตรงไปตรงมา
  • มีทักษะในการจัดการกับพฤติกรรมเด็ก เช่น ไม่ลงโทษด้วยวิธีที่รุนแรง มีหลักการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยใช้วิธีเสริมแรงทางบวกเพื่อเพิ่มพฤติกรรมที่ต้องการและให้แรงเสริมทางลบเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ  โดยการใช้คะแนนดาวสะสมเพื่อแลกของราวัลหรือสิทธิพิเศษต่างๆ เป็นต้น
  • ช่วยเหลือด้านการเรียนที่บ้าน เช่น จัดหามุมสงบในบ้าน ให้เด็กทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียน (ไม่มีเสียงรบกวน ไม่พลุกพล่าน ไม่มีโทรทัศน์ หรือของเล่นใด)
  • จัดโต๊ะหันเข้าฝาผนัง ไม่ใกล้หน้าต่าง หรือ ประตู
  • กำหนดเวลาทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียนให้แน่นอน และมีผู้ปกครองสอนประกบเพื่อให้เด็กมีสมาธินานขึ้น
  • ผู้ปกครองควรควบคุมอารมณ์ตนเองเพื่อทำให้บรรยากาศสงบ
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้เปลี่ยนอิริยาบถในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเห็นว่าเด็กหมดสมาธิแล้ว

ประสานคุณครูที่โรงเรียน เพื่อให้เข้าใจปัญหาและให้การช่วยเหลือที่เหมาะสม ดังนี้

  • การจัดตำแหน่งในชั้นเรียนให้นั่งแถวหน้าใกล้ชิดคุณครู และให้นั่งติดกับเพื่อนที่ไม่ซน ไม่คุย
  • อนุญาตให้เด็กลุกจากที่นั่งได้เมื่อเห็นว่าจำเป็น เช่น ให้ไปล้างหน้า  ช่วยลบกระดาน   แจกสมุดการบ้าน เพื่อช่วยลดความเบื่อของเด็ก
  • กรณีที่เด็กสมาธิสั้นมาก ให้ลดระยะเวลาในการทำงานให้สั้นลงเป็นช่วงสั้นๆ หลายๆ ช่วง โดยเน้นให้เด็กได้รับผิดชอบงานให้เสร็จในแต่ละช่วง
  • ไม่ตำหนิเด็กหรือประณามว่าเป็นเด็กไม่ดี  ไม่ลงโทษด้วยวิธีที่รุนแรง
  • สร้างบรรยากาศที่เข้าใจ  ให้กำลังใจเด็กบ่อยๆ จะทำให้เขาพยายามปรับตัวเองให้มากขึ้น
  • ให้ความสนใจและชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี
  • เมื่อต้องการสื่อสารกับเด็กควรสังเกตว่าเด็กอยู่ในภาวะที่พร้อมที่จะรับฟัง ใช้คำพูดที่กระชับได้ใจความชัดเจน  หากเด็กเหม่อหรือวอกแวกควรแตะตัวเบาๆ  เพื่อให้เด็กรู้สึกตัวและมีความสนใจในสิ่งที่ครูกำลังจะพูด
  • คอยตักเตือนแนะนำด้วยท่าทีที่เข้าใจเมื่อเด็กมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น  ใจร้อน เล่นรุนแรง หรือปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้
  • ช่วยเหลือด้านการเรียน เนื่องจากเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้นมักมีความบกพร่องด้านการเรียนรู้เฉพาะด้านร่วมด้วย  การสอนตัวต่อตัวจะได้ผลดี

การรักษาด้วยยา

  • Methyphenidate (Ritalin, Rubifen) เป็นยาที่นิยมใช้รักษาโรคสมาธิสั้นมากที่สุด โดยยาจะออกฤทธิ์ต่อสมองทำให้เด็กสามารถควบคุมตนเอง มีสมาธิจดจ่อได้นานขึ้น นิ่งมากขึ้น เด็กสามารถติดตามบทเรียนในชั้นและรับฟังคำสั่งได้ดีขึ้น ช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น รบกวนชั้นเรียนน้อยลง 
  • ยาจะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังรับประทาน  และจะออกฤทธิ์ต่อเนื่องนาน  4-6 ชั่วโมง
  • ยาไม่มีฤทธิ์กดประสาทไม่ทำให้ง่วงและไม่สะสมในร่างกายแม้จะรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่ยาอาจมีผลข้างเคียงได้ในเด็กบางรายที่ได้รับยาในขนาดสูงๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดท้อง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ เศร้า หงุดหงิด งอแง
  • อาการข้างเคียงเหล่านี้อาจลดลงได้เองในช่วง 1-2 สัปดาห์หลังจากใช้ยา แต่หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจจะต้องสั่งหยุดยาและอาการจะกลับเป็นปกติ

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
cdc.gov, Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) (https://www.cdc.gov/ncbddd/adhd/index.html)
mayoclinic.org, Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adhd/symptoms-causes/syc-20350889), June 25, 2019
nhs.uk, Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) (https://www.nhs.uk/conditions/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ลูกอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ หรือจะเป็น...Dyslexia!?
ลูกอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ หรือจะเป็น...Dyslexia!?

รู้จักภาวะบกพร่องทางการอ่าน หรือ Dyslexia ภาวะหนึ่งซึ่งมีผลต่อการเรียนของเด็ก ไม่สามารถรักษาให้หายขาด อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ยังมีวิธีช่วยลูกๆ ให้อยู่กับภาวะนี้ได้

อ่านเพิ่ม
เด็กสมาธิสั้น
เด็กสมาธิสั้น

รู้จักสาเหตุ อาการ ของเด็กสมาธิสั้น ความผิดปกติที่เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สมาธิสั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่มีแนวทางปฏิบัติซึ่งทำให้เด็กอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้

อ่านเพิ่ม