เด็กสมาธิสั้น: อาหารที่ควรกินให้น้อยลง

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เด็กสมาธิสั้น: อาหารที่ควรกินให้น้อยลง

มีการประมาณกันในปี 2011 ว่า 12% ของเด็กอายุ 5-17 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit/Hyperactivity Disorder-ADHD) ซึ่งเพิ่มขึ้น 43% จากปี 2003 จากอุบัติการณ์ดังกล่าวทำให้มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาเรื่องแนวทางในการรักษา ทางเลือกหนึ่งที่ผู้ปกครองพบว่าช่วยได้คือการเปลี่ยนแปลงอาหารสำหรับลูก

 

ทูน่า

ทูน่าเป็นแหล่งของปรอทที่ใหญ่ที่สุดในอาหารของชาวอเมริกัน โดยพบว่าปรอททำให้เกิดภาวะสมาธิสั้นและความบกพร่องในการเรียนรู้ งานวิจัยหนึ่งพบว่าเด็กที่ได้รับสารปรอทหรือสารตะกั่วที่มากกว่ามีแนวโน้มที่ครูจะระบุว่ามีปัญหาทางพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะสมาธิสั้นมากกว่าถึง 3-5 เท่า

 

แอปเปิ้ลที่ไม่ได้ปลูกแบบอินทรีย์

ออร์แกโนฟอสเฟต (organophosphate) เป็นยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่งที่ใช้กันโดยทั่วไปในพืชผลที่ไม่ได้ปลูกด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ ยาฆ่าแมลงเหล่านี้ทำลายสารสื่อประสาทที่ช่วยหยุดการส่งกระแสประสาทเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เมื่อสัญญาณประสาทดังกล่าวถูกรบกวน ก็อาจทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้นได้  มีการศึกษาหนึ่งที่ตรวจหาสารจากออร์แกโนฟอสเฟตในปัสสาวะของเด็กอเมริกัน ซึ่งพบว่าในเด็กที่มีระดับสารมากกว่ามีแนวโน้มจะมีภาวะสมาธิสั้นมากกว่า การเลือกผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์สามารถลดการสัมผัสกับยาฆ่าแมลงได้

 

น้ำอัดลม

น้ำอัดลมหลายชนิดมีสีสังเคราะห์ น้ำตาล และคาเฟอีน ซึ่งทั้งหมดนี้พบว่าทำให้อาการสมาธิสั้นกำเริบได้

ยิ่งไปกว่านั้น น้ำอัดลมยังมีน้ำเชื่อมข้าวโพดในปริมาณสูง ซึ่งมีปริมาณของสารปรอทที่มากจนสามารถตรวจวัดได้

 

เนื้อสัตว์แปรรูป

หนึ่งในแหล่งของกลูเตนที่น่าประหลาดใจคือเนื้อสัตว์แปรรูป กลูเตนมักถูกใช้เป็นสารผสมหรือเพิ่มรสชาติในเนื้อสัตว์แปรรูป การศึกษาในปี 2011 พบว่าผู้เข้าร่วมหนึ่งจากเจ็ดคนที่มีภาวะสมาธิสั้นก็เป็นโรคแพ้กลูเตน  (celiac disease) ซึ่งสูงกว่าตัวเลข 1 ใน 100 คน จากประชากรทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ

 

ธัญพืชอัดแท่ง

เนื่องจากมีคำว่า “ธัญพืช” อยู่ในชื่อ จึงน่าจะอยู่ในรายการอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่คือสีผสมอาหาร เช่น Red 40 ในการศึกษาแบบ meta-analysis ในปี 2012 พบว่าการกินอาหารที่จำกัดอาหารบางชนิดออกไป รวมถึงอาหารที่มีสีผสมอาหาร ช่วยลดอาการสมาธิสั้นได้ในเด็กที่มีภาวะนี้ถึง 33%

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Margaret Burke เป็นนักโภชนาการที่ขึ้นทะเบียนแล้ว มีประกาศนียบัตรเป็นผู้สอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง และกำลังฝึกการสอนโยคะ 200 ชั่วโมงอยู่ เธอให้ความช่วยเหลือเป็นการส่วนตัวแก่ผู้ที่ต้องการตั้งเป้าหมายทางโภชนาการเมื่อเธอว่างจากงาน เธอสนุกสนานกับการถ่ายรูป ท่องเที่ยวต่างประเทศ และทำขนมอร่อย ๆ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะ LD เป็นแบบไหน? วิธีสังเกตพฤติกรรมภาวะ LD ของเด็ก
ภาวะ LD เป็นแบบไหน? วิธีสังเกตพฤติกรรมภาวะ LD ของเด็ก

ทำความเข้าใจภาวะ LD ภาวะที่ส่งผลต่อการเรียนของลูก และมารู้จัก LD ทั้ง 3 ด้าน รวมถึงวิธีสังเกตอาการและสัญญาณ เพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างทันท่วงที

อ่านเพิ่ม
ลูกอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ หรือจะเป็น...Dyslexia!?
ลูกอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ หรือจะเป็น...Dyslexia!?

รู้จักภาวะบกพร่องทางการอ่าน หรือ Dyslexia ภาวะหนึ่งซึ่งมีผลต่อการเรียนของเด็ก ไม่สามารถรักษาให้หายขาด อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ยังมีวิธีช่วยลูกๆ ให้อยู่กับภาวะนี้ได้

อ่านเพิ่ม