ยาสมาธิสั้น คือยาอะไร? รักษาโรคจิตเวชได้จริงหรือ?

ทำความรู้จัก เข้าใจเด็กสมาธิสั้น และตัวยาหลัก เพื่อการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพ
เผยแพร่ครั้งแรก 24 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 29 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ยาสมาธิสั้น คือยาอะไร? รักษาโรคจิตเวชได้จริงหรือ?

โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder : ADHD) คือหนึ่งในโรคจิตเวชเด็กที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะเด็กในวัยเรียนอายุ 3-7 ปี โรคนี้ส่งผลให้เด็กมีสมาธิสั้นกว่าปกติ ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว เด็กกลุ่มนี้จึงดูซุกซน ไม่อยู่นิ่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนั้นสันนิษฐานว่า เกิดจากสมองส่วนหน้าซึ่งทำหน้าที่ควบคุมสมาธิและการยับยั้งชั่งใจทำงานผิดปกติ หากปล่อยไว้อาการอาจรุนแรงจนมีปัญหาต่อการเข้าสังคม พ่อแม่และผู้ปกครองจำเป็นต้องพาไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทั้งด้วยการใช้ยาสมาธิสั้น การทำความเข้าใจ และการดูแลอย่างถูกวิธี 

ยาสมาธิสั้น หรือยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้นในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

แพทย์จะเลือกใช้ยาสมาธิสั้นที่เหมาะกับอาการและวัยของเด็ก โดยกลุ่มยาหลักที่เลือกใช้ ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • กลุ่มยาสมาธิสั้นออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้า ได้แก่ methylphenidate
  • กลุ่มยาสมาธิสั้นออกฤทธิ์ไม่กระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้า ได้แก่ atomoxetine venlafaxine

ในกรณีที่รักษาด้วยกลุ่มยาสมาธิสั้นกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นแล้วไม่ได้ผล หรือเกิดผลข้างเคียงที่ทำให้ผู้ป่วยใช้ยากลุ่มนี้ไม่ได้ แพทย์จึงจะเปลี่ยนไปใช้ยาสมาธิสั้นกลุ่มออกฤทธิ์ไม่กระตุ้นแทน

Methylphenidate คืออะไร

เป็นยาสมาธิสั้นในกลุ่มออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของสมองส่วนหน้าถือเป็นยาสมาธิสั้นที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับโรคสมาธิสั้น ในท้องตลาดมีวางจำหน่ายในชื่อการค้า Ritalin®  Rubifen® ซึ่งเป็นรูปแบบยาชนิดออกฤทธิ์เร็ว หรือ Concerta® ซึ่งเป็นรูปแบบยาชนิดออกฤทธิ์นาน 

การวิจัยในปัจจุบันพบว่ายา methylphenidate มีผลทำให้ความผิดปกติของสมองทางด้านโครงสร้างและการทำงานที่บกพร่อง เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ยาจะช่วยให้เด็กมีความจดจ่อในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ซนน้อยลง ดูสงบลง มีความสามารถในการควบคุมตัวเอง และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น และอาจช่วยให้ผลการเรียนดีขึ้น จึงเชื่อว่า ยา methylphenidate ไม่ได้มีผลแค่รักษาตามอาการอย่างที่เคยเชื่อกันในอดีต แต่เป็นยาที่สามารถช่วยให้เด็กหายจากการเป็นโรคสมาธิสั้นได้ถึง 70-80%

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาสมาธิสั้น

คนทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์ มักมีความเข้าใจผิดคิดว่า ยาสมาธิสั้นที่แพทย์ใช้ในการรักษาเด็กสมาธิสั้นออกฤทธิ์โดยการไปบีบ หรือกดสมอง เพื่อให้เด็กนิ่งขึ้น หรือซนน้อยลง ดังนั้นความรู้สึกแรกที่เกิดขึ้นกับพ่อแม่ เมื่อแพทย์บอกว่า เด็กควรจะได้รับการรักษาด้วยยายาสมาธิสั้น คือ วิตกกังวล ลังเลไม่แน่ใจ ไม่อยากให้เด็กรับประทานยา แต่แท้จริงแล้วยาสมาธิสั้นจะออกฤทธิ์โดยการไปยับยั้งการทำลายสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งในเด็กสมาธิสั้นมีสารสื่อประสาทเหล่านี้น้อยกว่าเด็กปกติ ทำให้ในสมองของเด็กมีสารสื่อประสาทที่จำเป็นในปริมาณเพิ่มขึ้น สารสื่อประสาทตัวนี้เป็นตัวที่ช่วยให้เด็กสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น มีสมาธิยาวนานขึ้น และเรียนหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

ผลที่ตามมาเมื่อเด็กได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีคือ เด็กจะมีความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเองเพิ่มมากขึ้น และมีความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนในครอบครัวดีขึ้น

พ่อแม่หลายท่านมักจะกังวลเกรงว่า จะมีผลเสียกับเด็กหากเด็กรับประทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ เช่น เกรงว่าเด็กจะไม่โต ตัวเล็ก สมองเสื่อม ไม่ฉลาด เป็นต้น โดยแท้จริงแล้ว มีการใช้ยาในกลุ่ม methylphenidate มานานกว่า 80 ปีแล้ว มีการวิจัยมากมายที่ยืนยันความปลอดภัยของยา โดยพบว่า เด็กสมาธิสั้นที่รับประทานยาสมาธิสั้นในกลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ มีการเจริญเติบโตเท่ากับเด็กปกติ มีพัฒนาการทางสมองเป็นปกติ และไม่มีผลตกค้างที่จะเป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว

ข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องใช้ยาสมาธิสั้น

เมื่อเด็กจำเป็นต้องใช้ยารักษาสมาธิสั้น พ่อแม่ไม่ควรโกหก หรือขู่เด็กเวลาให้รับประทานยา แต่ควรพูดกับเด็กตรงๆ ว่า ต้องการให้เด็กรับประทานยาเพื่ออะไร โดยเน้นประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการรับประทานยา พูดถึงยาในแง่บวก เช่น “เวลาที่หนูกินยานี้แล้ว แม่สังเกตว่าหนูเรียนดีขึ้น รับผิดชอบทำการบ้านดีขึ้นมาก” การพูดลักษณะเช่นนี้จะทำให้เด็กมีกำลังใจ และมีความร่วมมือในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง 

นอกจากนี้เพื่อให้การรักษาได้ผลดี พ่อแม่ควรพาเด็กไปพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง รับประทานยาสมาธิสั้นตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ทำความเข้าใจ เอาใจใส่เด็กให้มากขึ้น ร่วมกับการปรับปฤติกรรมและกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก อาการจะค่อยๆ ดีขึ้น


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ole Jakob Storebø, Methylphenidate for children and adolescents with attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) (https://www.cochranelibrary.co...), 25 November 2015
Methylphenidate: Pediatric drug information, Lexicomp, Inc. 1978 (https://www.uptodate.com/conte...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ลูกอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ หรือจะเป็น...Dyslexia!?
ลูกอ่านไม่ค่อยออก เขียนไม่ค่อยได้ หรือจะเป็น...Dyslexia!?

รู้จักภาวะบกพร่องทางการอ่าน หรือ Dyslexia ภาวะหนึ่งซึ่งมีผลต่อการเรียนของเด็ก ไม่สามารถรักษาให้หายขาด อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ยังมีวิธีช่วยลูกๆ ให้อยู่กับภาวะนี้ได้

อ่านเพิ่ม
เด็กสมาธิสั้น
เด็กสมาธิสั้น

รู้จักสาเหตุ อาการ ของเด็กสมาธิสั้น ความผิดปกติที่เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สมาธิสั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่มีแนวทางปฏิบัติซึ่งทำให้เด็กอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้

อ่านเพิ่ม