March 13, 2017 14:41
ตอบโดย
ชัยวัฒน์ จิรานันท์สกุล (หมอเปี๊ยก) (นพ.)
ต้องเรียนถามก่อนว่า ทำไมจึงทราบว่าตัวเอง หัวใจพองโต และมีอาการใด ๆ หรือไม่
หัวใจโต (Enlarged heart หรือ Cardiomegaly) คือ ภาวะที่หัวใจมีขนาดโตเกินกว่าปกติ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้ ซึ่งการวินิจฉัยภาวะหัวใจโต มักวินิจฉัยได้ครั้งแรกจากการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอด เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคของปอด และในการตรวจสุขภาพประจำปี
หัวใจโต ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจากโรคต่างๆ ทั้งของหัวใจเอง ของปอด และ/หรือของหลอดเลือด
โดยทั่วไป การเกิดหัวใจโตพบได้ 2 ลักษณะ คือ
หัวใจโตจากมีกล้ามเนื้อ หรือผนังห้องหัวใจหนาผิดปกติ (Hypertrophy)
หรือจากห้องต่างๆของหัวใจขยายขนาดโตขึ้นผิดปกติ (Dilatation)
หัวใจโตพบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุจากการเสื่อมของเซลล์ต่างๆของหัวใจตามธรรมชาติ และโอกาสเกิดหัวใจโต ใกล้เคียงกันทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย
ทั้งนี้สถิติการเกิดที่แท้จริงของ หัวใจโต ยังไม่ทราบ แต่มีการศึกษาพบว่าในผู้ที่ดื่มแอล กอฮอล์ต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ปี พบมีภาวะหัวใจโต ซึ่งวินิจฉัยได้จากภาพเอกซเรย์ปอดประ มาณ 17% และอีกการศึกษาพบภาวะหัวใจโตในผู้สูงอายุทั้งเพศหญิงและเพศชายได้ 23% จากการถ่ายภาพเอกซเรย์ปอดประจำปี
หัวใจโตมีสาเหตุจากอะไร?
หัวใจโตเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อย คือ
สูงอายุ เพราะเซลล์หัวใจเสื่อมตามอายุ
ผลข้างเคียงจากการมีโรคความดันโลหิตสูง จึงส่งผลให้หัวใจต้องออกแรงสูบฉีดโลหิตเข้าหลอดเลือดเพิ่มขึ้น และเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม) จึงส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจโตได้
ผลข้างเคียงจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง จึงส่งผลให้เกิดหัวใจโตด้วยเหตุผลเดียวกับโรคความดันโลหิตสูง
โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม
โรคลิ้นหัวใจ ส่งผลให้มีเลือดคั่งในหัวใจเพิ่มขึ้น
โรคของต่อมไทรอยด์ ทั้งชนิด ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินปกติ (โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ) และภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
ภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Arrhythmia) คือ หัวใจเต้นผิดปกติ อาจเร็ว หรือ ช้า หรือ ไม่เป็นจังหวะ ซึ่งเกิดจากสัญญาณไฟฟ้าที่ควบคุมการเต้นของหัวใจผิดปกติ ภาวะนี้จึงส่งผลให้หัวใจต้องทำงานเพิ่มขึ้น และอาจมีเลือดคั่งในหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจจึงโตขึ้น
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย จึงส่งผลให้ผนังหัวใจยืดขยาย เกิดภาวะหัวใจโต
โรคความดันโลหิตในปอดสูง จึงส่งผลให้หัวใจต้องเพิ่มแรงสูบฉีดเลือดเข้าปอด หัวใจจึงมีขนาดโตขึ้น
ภาวะซีด โลหิตจาง จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพราะอวัยวะต่างๆต้องการออกซิ เจนจากเลือดอย่างเพียงพอ หัวใจจึงต้องทำงานเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้หัวใจโต
ร่างกายได้รับสารพิษที่เป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น สารปรอท และสารตะกั่ว
ติดสุรา จากพิษของสุราต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
ยาเสพติด เช่น โคเคน เพราะเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคอ้วน เพราะจะมีไขมันไปจับที่รอบๆและในเนื้อเยื่อหัวใจ
โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง เพราะส่งผลให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ
โรคหัวใจแต่กำเนิด
โรคตับแข็ง เพราะส่งผลให้มีโปรตีนในเลือดต่ำ การไหลเวียนโลหิตไม่ดี หัวใจจึงทำงานเพิ่มขึ้น
โรคไตเรื้อรัง เพราะมักร่วมกับการมีความดันโลหิตสูง และการมีน้ำคั่งในร่างกาย จึงเพิ่มการทำงานของหัวใจ
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาไทรอยด์ฮอร์โมน ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะ เร็งบางชนิด
โรคอื่นๆที่พบได้น้อย เช่น ภาวะมีโปรตีนผิดปกติจับในกล้ามเนื้อหัวใจ (Amyloido sis) ภาวะมีธาตุเหล็กจับในอวัยวะต่างๆทั่วร่างกายซึ่งรวมทั้งกล้ามเนื้อหัวใจ (Hemochromatosis) และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจติดเชื้อ
ใครมีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจโต?
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจโต คือ
ผู้สูงอายุ
สูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่เรื้อรัง (สูบบุหรี่มือสอง/Secondary smoke)
โรคอ้วน
ติดสุรา ติดยาเสพติด
กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในการใช้พลังงานของร่างกาย (Metabolic syndrome, กลุ่มอาการเมตาโบลิก) คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง
มีประวัติคนในครอบครัว โดยเฉพาะญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ท้องเดียวกัน) เป็นโรคหัวใจ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจ
หัวใจโตมีอาการอย่างไร?
อาการของ หัวใจโตในระยะเริ่มแรก มักไม่มีอาการ มักเป็นการตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจภาพเอกซเรย์ปอด แต่เมื่อหัวใจโตมากขึ้น หรือกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมมากขึ้น อาการที่พบได้ คือ
เหนื่อยง่ายกว่าปกติ โดยเฉพาะเมื่อต้องออกแรง
วิงเวียน คล้ายเป็นลม ง่าย
หัวใจเต้นผิดปกติ อาจ เบา เร็ว ช้า หรือ ไม่สม่ำเสมอ
อาจมีอาการไอผิดปกติโดยไม่รู้สาเหตุ
หายใจลำบาก
อาจบวม เท้า แขน ขา ใบหน้า
อาจเจ็บหน้าอก
อาจนอนราบไม่ได้ นอนราบแล้วจะหายใจลำบาก
แพทย์วินิจฉัยหัวใจโตได้อย่างไร?
เริ่มแรก แพทย์มักวินิจฉัยภาวะหัวใจโตได้จากการเห็นภาพหัวใจจากการถ่ายเอกซเรย์ปอด ทั้งนี้หัวใจปกติจะมีขนาดโต (ความกว้างของหัวใจ) ไม่เกิน ครึ่งหนึ่ง (50%) ของความกว้างของช่องอก นอกจากนั้น การวินิจฉัยหาสาเหตุ จะได้จากสัญญาณชีพ (ชีพจร ความดันโลหิต อัตราการหายใจ อุณหภูมิร่างกาย) อายุ ประวัติอาการ ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและในปัจจุบัน ประวัติการใช้ยาต่างๆ การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การตรวจเลือดดูโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุ ตามดุลพินิจของแพทย์ เช่น อัลตราซาวด์หัวใจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หัวใจ เป็นต้น
รักษาหัวใจโตอย่างไร?
แนวทางการรักษาภาวะหัวใจโต คือ การรักษาสาเหตุ และการรักษาตามอาการ
การรักษาสาเหตุ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละสาเหตุ เช่น
การใช้ยาต่างๆ และการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเมื่อสาเหตุเกิดจาก โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน
หรือการผ่าตัด เมื่อสาเหตุเกิดจากโรคลิ้นหัวใจ
หรือ การใส่เครื่องคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ (Pacemaker) เมื่อสาเหตุเกิดจากภาวะหัวใจเสียจังหวะ เป็นต้น
การรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาขับน้ำเมื่อมีอาการบวม การให้ออกซิเจนเมื่อมีอาการทางการหายใจ การให้ยาบรรเทาอาการไอ และการพักผ่อน การปรับการทำงาน และการออกแรง เป็นต้น
หัวใจโตรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงอย่างไร?
ความรุนแรงของภาวะหัวใจโตขึ้นกับ สาเหตุ การรักษา (ถ้าได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ โอ กาสควบคุมโรคได้ก็สูงขึ้น) ระยะเวลาที่เกิดอาการ (ถ้าเป็นมานานเรื้อรัง ความรุนแรงของโรคก็สูงขึ้น) และการลดปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น เลิกบุหรี่ สุรา สารเสพติด และการปรับพฤติ กรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อสุขภาพ
ผลข้างเคียงจากภาวะหัวใจโต ที่อาจพบได้ คือ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
การเกิดลิ่มเลือดในหัวใจจากการมีเลือดคั่งในหัวใจจากภาวะหัวใจโต ซึ่งจะอัน ตรายมาก เพราะลิ่มเลือดอาจหลุดเป็นก้อนเล็กๆกระจายไปตามกระแสโลหิต แล้วไปก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดต่างๆได้ทั่วร่างกาย และเป็นสาเหตุให้เสีย ชีวิตได้ เช่น อุดตันหลอดเลือดของสมอง และ/หรือหลอดเลือดของปอด
ภาวะหัวใจเสียจังหวะ ซึ่งเป็นได้ทั้งสาเหตุ และผลข้างเคียงของหัวใจโต
หัวใจหยุดเต้นทันที ซึ่งมักเสียชีวิต
ดูแลตนเองอย่างไร? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลตนเองที่สำคัญที่สุด คือ เมื่อมีอาการผิดปกติต่างๆเกิดขึ้น เมื่อดูแลตนเองแล้วอาการต่างๆไม่ดีขึ้น หรืออาการต่างๆเลวลง ควรรีบพบแพทย์เสมอ
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจโต การดูแลตนเอง คือ
ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาล แนะนำ กินยาต่างๆที่แพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่สำคัญ คือ
เลิกบุหรี่
ค่อยๆปรับลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้เหลือดื่มน้อยที่สุด และในที่สุดไม่ดื่ม เลย
กินอาหารป้องกันโรคหัวใจ (อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง)
เคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ออกกำลังกายตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
รักษา ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ และปัจจัยเสี่ยง ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อสาเหตุและหัวข้อปัจจัยเสี่ยง
พักผ่อนให้เพียงพอ
พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบก่อนนัดเมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือมีอาการผิด ปกติไปจากเดิม หรือเมื่อกังวลในอาการ
ไปโรงพยาบาลฉุกเฉินเมื่อ
เจ็บหน้าอกมาก
นอนราบไม่ได้ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก
เป็นลม
หมดสติ โคม่า
ป้องกันหัวใจโตได้อย่างไร?
การป้องกันภาวะหัวใจโต คือการป้องกันสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุและหัวข้อปัจจัยเสี่ยง ซึ่งที่สำคัญที่สุด คือ
การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการสูบุหรี่มือสอง ที่เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง และโรคหลอดเลือดสมอง
และการกินอาหารมีประโยชน์ (อาหารป้องกันโรคหัวใจ อาหารป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง )
ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตามควรกับสุขภาพ
และการควบคุมอาหารเพื่อป้องกันการเกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน นอกจากนั้น คือ
ป้องกัน รักษา ควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง
เมื่อมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ควรมีการตรวจหัวใจประจำปีสม่ำเสมอ เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 15-18 ปี
มีการตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 15-18 ปี
จำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด โดยในแต่ละวัน ผู้ชายไม่ควรดื่มเบียร์เกิน 350 มิลลิลิตร (มล.) ไวน์ไม่เกิน 150 มล. และสุรา ไม่เกิน 50 มล. ในผู้หญิงลด ลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ชาย เพราะมีรูปร่างและน้ำหนักตัวน้อยกว่าผู้ชาย
ข้อมูลจาก... หาหมอ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
หัวใจโต ออกกำลังโดยการวิ่งได้ไหมครับ
ผมเป็น กล้ามเนื้อหัวใจล่างซ้ายโต สามารถวิ่ง Mini 10 Km ได้ไหมครับ จะเป็นอันตราย หรือ ทำให้หัวใจโตขึ้นไหมครับ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
เหนื่อยง่าย วิงเวียน หายใจไม่สุด แน่นหน้าอกซีกขวา หลับไม่รู้ตัวระหว่างวัน แต่กลางคืนหลับไม่สนิท ปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน ตอนนี้ทานยาลดความดันสูงทุกเช้า เป็นโรคอะไร
เหนื่อยง่าย วิงเวียน หายใจไม่สุด แน่นหน้าอกซีกขวา หลับไม่รู้ตัวระหว่างวัน แต่กลางคืนหลับไม่สนิท ปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน ตอนนี้ทานยาลดความดันสูงทุกเช้า เป็นโรคอะไร
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เหนื่อยง่าย วิงเวียน หายใจไม่สุด แน่นหน้าอกซีกขวา หลับไม่รู้ตัวระหว่างวัน แต่กลางคืนหลับไม่สนิท ปัสสาวะบ่อยช่วงกลางคืน ตอนนี้ทานยาลดความดันสูงทุกเช้า เป็นโรคอะไร
พอดีป้าของดิฉันเป็นโรคหัวใจโต ถ้าอาการที่กล่าวมาข้างต้นมีครบทุกอย่างแต่ไม่ยอมไปหาหมอจะเสี่ยงต่อกัวใจวายไหมคะ
หัวใจโตเกิดจากความดันโลหิตสูงควรปฏิบัติตัวอย่างไรครับ
แม่ผมเป็นโรคหัวใจโตน่ากลัวไหมครับต้องทำยังไงครับ
ให้ผมทำยังไงดีครับ
ตอนนี้แฟนของหนูเป็นโรคหัวใจโตหนูตอนทำยังถึงจะให้แฟนหนูหายจากโรคนี้หนูเห็นแฟนหนูเจ็บปวดใม่ไหวแร้วคะเดือนหนึ่งต้องดข้าโรงบาลสองรอบแร้วทำใมเค้าต้องฉีดยาลดไขมันหน้าท้องทำใมคะ
ตอนนี้แฟนของหนูเป็นโรคหัวใจโตหนูตอนทำยังถึงจะให้แฟนหนูหายจากโรคนี้หนูเห็นแฟนหนูเจ็บปวดใม่ไหวแร้วคะเดือนหนึ่งต้องดข้าโรงบาลสองรอบแร้วทำใมเค้าต้องฉีดยาลดไขมันหน้าท้องทำใมคะ
โรคหัวใจอันตรายใหมคะ
แน่นหน้าอกเวลากลางคืนนอนไม่หลับ
เป็นโรคหัวใจโตควรดูแลตัวเองยังไงค่ะ
เป็นโรคหัวใจโตควรดูแลตัวเองยังไงค่ะ
เปนโรคนี้ควรดูแลตัวเองอย่างไรครับ
ควรทำอย่างไรครับ
ตรวจสุขภาพประจำปีทา คุณหมอบอกหัวใจโต ให้เช็คกับ รพ.ประกันสังคมต่อ ตอนนี้ความดันปกติ ไม่ดื่มเหล้าไม่สูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำอาทิตย์ละ 5 วัน คลอเรสตอรอลก็ปกติ และไม่มีโรคประจำตัว จะเกิดจากสาเหุใดได้อีกไหมครับ?
ตอนนี่แฟนนู๋ก้เป็นโรคหัวใจโตค่ะเพิ่งผ่าตัดใส่กล่องกระตุ้นหัวใจได้อาทิตย์นึงแต่แฟนนู๋โชคร้ายหัวใจบีบตัวแค่20%และ
มีลิ่มเลือดในหัวใจต้องกินยาละลายลิ่มเลือดทุกวันด้วยนู๋อยากรุ้ว่าโรคนี้มันจะหายขาดมั้ยค่ะ
ตอนนี่แฟนนู๋ก้เป็นโรคหัวใจโตค่ะเพิ่งผ่าตัดใส่กล่องกระตุ้นหัวใจได้อาทิตย์นึงแต่แฟนนู๋โชคร้ายหัวใจบีบตัวแค่20%และ
มีลิ่มเลือดในหัวใจต้องกินยาละลายลิ่มเลือดทุกวันด้วยนู๋อยากรุ้ว่าโรคนี้มันจะหายขาดมั้ยค่ะ
แฟนหนูนอนแล้วหายใจไม่ได้เหนื่อยเจ็บหน้าอกจนทนไม่ไหวไปโรงบาลหมอไห้นอนตรวจพบว่าเปนโรคหัวใจโตมีน้ำท่วมปอดเล็กน้อยไห้นอน3วันก้อไห้กลับบ้านค่ะ แต่อาการแฟนไม่ดีขึ้นเลยระหว่างอยุ่โรงบาลหมอก้อไห้กลับกลับมาบ้าน3วันอาการหนักมากนอนนั่งทรมารมากค่ะไม่รุ้จะทำไงแล้วค่ะ
แฟนหนูนอนแล้วหายใจไม่ได้เหนื่อยเจ็บหน้าอกจนทนไม่ไหวไปโรงบาลหมอไห้นอนตรวจพบว่าเปนโรคหัวใจโตมีน้ำท่วมปอดเล็กน้อยไห้นอน3วันก้อไห้กลับบ้านค่ะ แต่อาการแฟนไม่ดีขึ้นเลยระหว่างอยุ่โรงบาลหมอก้อไห้กลับกลับมาบ้าน3วันอาการหนักมากนอนนั่งทรมารมากค่ะไม่รุ้จะทำไงแล้วค่ะ
โรคหัวใจพองโตเป็นอันตรายมากไหมค่ะแล้วควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)