โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

a13.gif ในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้น และผู้ป่วยเหล่านี้เริ่มพบในกลุ่มผู้มีอายุไม่มากนัก จากผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า ร่างกายมีการสะสมไขมันตั้งแต่ช่วงอายุ 5-8 ปี เป็นต้นไป ในผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี จะมีการสะสมไขมันในเส้นเลือดหัวใจประมาณ 10% ส่วนผู้ที่มีอายุ 30-34 ปี มีการสะสมไขมันในเส้นเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นอีก 30% เนื่องจากเมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็มีตัวเร่งปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย กล่าวคือ การสะสมไขมันในร่างกายจะมีความสัมพันธ์กับโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้ง่าย



 

a13.gif หัวใจเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และรับเลือดที่ผ่านการใช้งานแล้วไปสู่ปอด เพื่อขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป และรับก๊าซออกซิเจนเข้ามาแทนที่ การดำเนินกิจกรรมเช่นนี้ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าหากในร่างกายมีไขมัน หรือคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดจำนวนมาก ก็จะไปพอกเกาะที่ผนังเส้นเลือด ถ้าเป็นเช่นนี้ไปนาน ๆ จะทำให้เส้นเลือดตีบ หรือแคบ เป็นผลให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติไป จึงเป็นสาเหตุของโรคเกี่ยวกับหัวใจขึ้นมา โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะเกิดจากการมีลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เพราะมีไขมัน หรือคอเลสเตอรอลสะสม หรือพอกเกาะที่ผนังของเส้นเลือดดังกล่าว โดยในระยะแรกที่เริ่มมีไขมัน หรือคอเลสเตอรอลไปพอกเกาะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ โรคจะยังไม่ปรากฏอาการผิดปกติ แต่เมื่อมีการพอกเกาะของไขมัน หรือคอเลสเตอรอลมากกว่า 50-70% จะเริ่มปรากฏอาการขึ้นมา ถ้าหากมีลิ่มเลือดไปอุดตันที่เส้นเลือดนี้จะทำให้หัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ถ้าเป็นเช่นนี้นานกว่า 4 ชั่วโมง จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และเสียชีวิตในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน

a13.gif ส่วนใหญ่มาจากด้านพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อมในด้านพันธุกรรมนั้น ถ้าหากมีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โดยเฉพาะพ่อแม่จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคนี้เช่นกัน ส่วนผู้ชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้เช่นกัน สำหรับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนส่งเสริมให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ได้แก่ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน เพราะจะทำให้มีไขมันในเลือดสูง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Coronary Heart Disease, Myocardial Infarction, and Stroke — A Public Health Issue. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/aging/publications/coronary-heart-disease-brief.html)
Myocardial Infarction (Heart Attack) Causes and Warning Signs. WebMD. (https://www.webmd.com/heart-disease/understanding-heart-attack-basics#1)
Heart Attack (Myocardial Infarction). Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16818-heart-attack-myocardial-infarction)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)