กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

แผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลและหน้าที่ของแต่ละแผนก

รู้จักแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาล แผนกไหนทำอะไร เพื่อตัดสินใจเข้ารับการรักษาได้ถูกต้องและตรงจุดมากที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 19 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 5 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 27 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
แผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลและหน้าที่ของแต่ละแผนก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ปัจจุบันโรงพยาบาลทุกแห่งจะมีแผนกตรวจโรคต่างๆ มากมาย เพื่อคัดกรองและให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาผู้ป่วยได้ตรงจุดมากที่สุด 
  • แผนกฉุกเฉินและอุบัติเหตุประกอบด้วยห้องตรวจโรคทั่วไปและเวชปฏิบัติ รวมถึงห้องผ่าตัดขนาดเล็กที่จะรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุต่างๆ
  • แผนกผู้ป่วยนอก เป็นแผนกที่ใช้สำหรับรองรับผู้ป่วยทั่วไปที่มาพบแพทย์ในแต่ละวัน มีห้องตรวจแยกตามลักษณะของโรค เช่น ห้องตรวจโรคทั่วไป ห้องตรวจแผนกจักษุ ห้องตรวจแผนกหู คอ จมูก ห้องตรวจแผนกกระดูกและข้อ ห้องตรวจแผนกอายุรกรรมโรคหัวใจ 
  • แผนกผู้ป่วยในและแผนกผู้ป่วยหนักเป็นแผนกที่ใช้สำหรับรองรับผู้ป่วยซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า ควรได้รับการรักษาและสังเกตอาการในโรงพยาบาลจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นแล้ว และสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้
  • หากต้องการตรวจสุขภาพ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ แต่ไม่แน่ใจว่า ควรติดต่อแผนกไหนดี สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ กับทางโรงพยาบาลก่อน เพื่อที่คุณจะได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ตรงตามอาการมากที่สุด 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

“อโรคยา ปรมาลาภา การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” สุภาษิตนี้ยังคงใช้ได้ดีเสมอกับทุกยุคสมัย เพราะไม่มีใครย่อมต้องการความเจ็บป่วยอย่างแน่นอน แต่ความเจ็บป่วยก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หรืออาจเกิดขึ้นจากพันธุกรรมก็เป็นได้ 

ด้วยเหตุนี้ในโรงพยาบาลจึงมีแผนกตรวจโรคต่างๆ มากมายเพื่อคัดกรองผู้ป่วยและแพทย์ให้ตรงกับโรคนั้นๆ ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่า แผนกหลักๆ ในโรงพยาบาลทำหน้าที่อะไรกันบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แผนกผู้ป่วยใน (Inpatient Department)

เป็นแผนกที่ใช้สำหรับรองรับผู้ป่วยซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่า ควรได้รับการรักษาและสังเกตอาการในโรงพยาบาลจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นแล้ว และสามารถกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้

แผนกผู้ป่วยนอก (Outpatient Department)

เป็นแผนกที่ใช้สำหรับรองรับผู้ป่วยทั่วไปที่มาพบแพทย์ในแต่ละวัน สามารถแยกประเภทตามลักษณะของโรค ดังนี้

  • ห้องตรวจโรคทั่วไป 
  • ห้องตรวจแผนกกระดูกและข้อ
  • ห้องตรวจกุมารเวช
  • ห้องตรวจแผนกอายุรกรรมโรคหัวใจ
  • ห้องตรวจแผนกจักษุกรรม 
  • ห้องตรวจแผนกหู คอ จมูก   
  • ห้องตรวจแผนกสูตินรีเวช

จึงอาจกล่าวได้ว่า แผนกผู้ป่วยนอกเป็นแผนกในโรงพยาบาลที่มีคนจำนวนมากที่สุดก็ว่าได้

แผนกฉุกเฉินและอุบัติเหตุ (Emergency Room)

ประกอบไปด้วยห้องตรวจโรคทั่วไปและเวชปฏิบัติรวมถึงห้องผ่าตัดขนาดเล็ก ที่จะรองรับผู้ป่วยฉุกเฉินจากอุบัติเหตุต่างๆ หรืออาการจากโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

แผนกจิตเวช (Psychology Department)

เป็นแผนกในโรงพยาบาลอีกแผนกหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการรักษาโรคทางกาย โดยจิตแพทย์จะให้การดูแลและคำปรึกษา รวมทั้งการวินิจฉัยโรคทางจิตเวช หรือปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติและมีความสุข

แผนกผู้ป่วยหนัก (Intensive Care Unit) หรือ ICU

เป็นแผนกในโรงพยาบาลอีกแผนกหนึ่งที่รองรับผู้ป่วยใน แต่เป็นผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยและพิจารณาแล้วว่า ควรได้รับการรักษาและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดโดยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทั้งนี้เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยรุนแรงสุดวิสัยที่อาจจะเกิดขึ้นและผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนทันที

แผนกรังสี (Radiology Department)

เป็นแผนกที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งมีเครื่องเอ็กซเรย์ทั่วไปที่ใช้รังสีเอ็กซเรย์พลังงานต่ำเพื่อถ่ายภาพอวัยวะส่วนต่างๆ ของผู้ป่วย เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เครื่องอัลตร้าซาวด์ 

เครื่องมือเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากเพราะจะช่วยให้แพทย์สาขาต่างๆ สามารถวินิจฉัยโรคต่างๆ ได้อย่างละเอียดและชัดเจนมากขึ้น

แผนกเภสัชกรรม (Pharmaceutical Department)

เป็นแผนกที่ดูแลเกี่ยวกับการผลิตยา จัดซื้อหรือจัดหายาและเวชภัณฑ์ที่ใช้ในโรงพยาบาล พร้อมกับบริการจ่ายยาและเวชภัณฑ์ให้กับผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ โดยให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาอย่างถูกวิธี

แผนกห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Laboratory Department)

เป็นแผนกที่ให้บริการตรวจวิเคราะห์และรายงานผลเลือด ปัสสาวะ อุจจาระ ชิ้นเนื้อ หรือสารคัดหลั่งอื่นๆ จากผู้ป่วย เพื่อช่วยในการวินิจฉัยของแพทย์เกี่ยวกับอาการ ความรุนแรง และการพยากรณ์โรค รวมถึงมีส่วนช่วยในการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันโรคต่างๆ อีกด้วย

แผนกศัลยกรรม (Surgical Department)

เป็นแผนกที่ใช้สำหรับตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่เกี่ยวกับด้านศัลยกรรม ช่น อาการปวดท้องรุนแรงเฉียบพลัน ท้องอืดแน่น กลืนอาหารลำบาก คลำเจอก้อนที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แผนกวิสัญญี (Department of Anesthesia)

เป็นแผนกที่ให้บริการด้านการแพทย์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดมยาสลบ หรือการระงับความเจ็บปวดของผู้ป่วยระหว่างทำการผ่าตัด และเป็นการเพิ่มความปลอดภัยระหว่างการรักษา จัดเป็นแผนกในโรงพยาบาลที่มีความสำคัญมากเช่นกัน

แผนกสูตินรีเวช (Obstretric - Gynecology Department)

เป็นแผนกที่ให้บริการดูแลผู้หญิงตั้งแต่วัยเจริญพันธุ์จนกระทั่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน สามารถแบ่งได้เป็นด้านสูติกรรมที่จะดูแลตั้งแต่การวางแผนครอบครัว ปัญหามีบุตรยากและการดูแลรับฝากครรภ์ 

ส่วนด้านนรีเวชจะดูแลเกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง

แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู (Physical Therapy Department)

เป็นแผนกที่ให้บริการรักษาโรคด้วยกายภาพบำบัด ทั้งในด้านส่งเสริมการรักษา การป้องกัน และการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัด และผู้พิการ เพื่อให้สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หรือช่วยเหลือตัวเองได้มากที่สุด

แผนกกุมารเวช (Pediatrics Department)

เป็นแผนกที่ให้บริการดูแลและส่งเสริมสุขภาพเด็กตั้งแต่แรกคลอดจนกระทั่งเข้าสู่วัยรุ่น โดยให้การรักษาเกี่ยวกับโรคของเด็กทั้งหมด รวมถึงการให้วัคซีนและดูแลพัฒนาการ หรือพฤติกรรมของเด็กให้เป็นไปตามวัยอย่างเหมาะสม

แผนกอายุรกรรม (Medicine Department)

เป็นแผนกในโรงพยาบาลที่ประกอบไปด้วยทีมอายุรแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยโรค ทำการรักษาด้วยการใช้ยา ตั้งแต่การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง พร้อมกับช่วยส่งเสริม หรือป้องกันทางด้านสุขภาพ

แผนกจักษุ (Ophthalmology Department)

เป็นแผนกที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่เกี่ยวกับดวงตา หรือการมองเห็น เช่น จอประสาทตา ความโค้งของกระจกตา การตรวจและล้างท่อน้ำตา โรคต้อ และอาการตาบอดสี รวมถึงการให้คำแนะนำและการรักษาแก่ผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา

แผนกหู คอ จมูก (Ear nose and throat Department)

เป็นแผนกที่ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่เกี่ยวกับหู คอ จมูก ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์พิเศษ เพื่อช่วยให้การวินิจฉัย หรือค้นหาสาเหตุของโรคได้อย่างละเอียดมากขึ้น เช่น กระจกส่องคอ อุปกรณ์ที่ช่วยให้เห็นภายในจมูก หรือหลังโพรงจมูก รวมถึงในช่องหูและลำคอ เพื่อให้เห็นชัดเจนแล้ววินิจฉัยโรคได้แม่นยำ

จะเห็นได้ว่า การทำงานของแต่ละแผนกในโรงพยาบาลนั้น ส่วนใหญ่มักจะเป็นการทำงานร่วมกันของหลายๆ แผนก เพื่อให้การวินิจฉัยโรคได้รับความแม่นยำและทำการรักษาโรคได้ตรงจุดที่สุด

อย่างไรก็ตาม หากต้องการตรวจสุขภาพ มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ หรือจิตใจ แต่ไม่แน่ใจว่า ควรไปติดต่อแผนกไหนดี สามารถติดต่อสอบถาม ปรึกษาพยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลก่อน เพื่อจะได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ตรงตามอาการมากที่สุด

รวมทั้งการสอบถามอัตราค่ารักษาพยาบาลและค่าบริการต่างๆ ก่อนตัดสินใจเข้ารับการตรวจ ในกรณีของโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิก

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Outpatients appointment scheduling with multi-doctor sharing resources, (https://www.researchgate.net/publication/224209065_Outpatients_appointment_scheduling_with_multi-doctor_sharing_resources#pf2), 11 April 2020.
NetDoctor, A to Z of NHS hospital departments in the UK (https://www.netdoctor.co.uk/health-services/nhs/a4502/a-to-z-of-hospital-departments/), 5 March 2020.
L. G. Bell, The Importance of an Outpatient Department in a Teaching Hospital (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1830034/), 11 April 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป