การวินิจฉัยจากลิ้นในการแพทย์แผนจีน

เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การวินิจฉัยจากลิ้นในการแพทย์แผนจีน

การวินิจฉัยจากลิ้นเป็นการปฏิบัติที่มีมาอย่างยาวนานในแพทย์แผนจีน (การแพทย์ทางเลือกรูปแบบหนึ่งซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน) โดยหลักการของแพทย์แผนจีนได้กล่าวไว้ว่าลิ้นของแต่ละคนสามารถบ่งบอกสุขภาพโดยรวมของคนคนนั้นได้

เมื่อทำการวินิจฉัยจากลิ้นแล้วก็จะเป็นการประเมินสุขภาพด้านอื่นของผู้ป่วยเป็นลำดับถัดไป โดยแพทย์อาจแนะนำวิธีการรักษา เช่น การฝังเข็ม การใช้แรงกด ยาสมุนไพร การบำบัดด้วยอาหารและการนวด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทำไมถึงใช้การตรวจลิ้นเป็นวิธีประเมินสุขภาพ?

การแพทย์แผนจีนเชื่อว่าลิ้นแต่ละส่วนจะหมายถึงระบบ 5 ระบบของร่างกาย ได้แก่ ตับ, ปอด, ม้าม, หัวใจ และไต ทฤษฎีของการแพทย์แผนจีนนั้นมีรากฐานมาจากทฤษฎีที่ว่าอวัยวะทุกส่วนของร่างกายทำงานสนับสนุนซึ่งกันและกัน และอวัยวะเหล่านี้จะต้องอยู่ในภาวะสมดุลจึงจะทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่เหมาะสมที่สุด 

ถึงแม้ว่าการวินิจฉัยจากลิ้นจะปรากฏอยู่ในการแพทย์แผนจีนมานาน แต่ก็ไม่ได้มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างละเอียดรวมถึงประเมินความถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่จากงานวิจัยเบื้องต้นพบว่าการวินิจฉัยจากลิ้นนั้นอาจเป็นการประเมินค่าเฉพาะเกี่ยวกับสุขภาพในผู้ป่วยที่เป็นโรค เช่น โรคข้ออักเสบชนิดรูมาติกและมะเร็งเต้านม อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยจากลิ้นไม่สามารถนำมาทดแทนการรักษาตามมาตรฐานหรือนำมาเป็นการวินิจฉัยโรคได้ 

คาดหวังอะไรจากการตรวจลิ้น?

ระหว่างการตรวจลิ้น แพทย์แผนจีนมักจะประเมินลักษณะ รูปร่าง และสีของลิ้น นอกจากนี้ต้องพิจารณาลิ้นแต่ละส่วน ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่แพทย์แผนจีนใช้ประเมินเพื่อประกอบการวินิจฉัย 

1. สีของลิ้น

ลิ้นสีแดงเรื่อแสดงว่าพลังงานที่จำเป็นของร่างกายนั้นแข็งแรง (หรือที่เรียกว่าพลังงานชี่) หากสีของลิ้นเปลี่ยนไปมักจะหมายถึงมีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ตัวอย่างเช่น ลิ้นสีซีด แสดงถึงปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อนและ/หรือระบบย่อยอาหาร ในขณะที่สีม่วงจะหมายความว่ามีการอุดกั้นการไหลเวียนของพลังงานชี่

2. รูปร่างของลิ้น

ลิ้นปกติจะไม่หนาหรือบางจนเกินไป ต้องมีลักษณะเรียบไม่แตก โดยทั่วไปแล้วการเปลี่ยนแปลงของลักษณะลิ้นจะแสดงถึงความเจ็บป่วยเรื้อรังซึ่งส่งผลต่อเลือด สารน้ำในร่างกาย หรือชี่

การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของลิ้นที่เกิดขึ้นได้ เช่น ลิ้นบวม (เชื่อว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่แสดงถึงปัญหาเกี่ยวกับตับอ่อนและ/หรือระบบย่อยอาหาร), มีรอยแยกของลิ้น (อาจเป็นสัญญาณของหัวใจไม่สมดุล มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนไม่หลับและความจำ) และการที่ลิ้นม้วนเข้าทั้ง 2 ข้าง (เชื่อว่าแสดงว่ามีพลังงานชี่ที่ตับน้อย) 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

3. สารเคลือบลิ้น

ถึงแม้ว่าปกติแล้วลิ้นมักจะถูกเคลือบด้วยสีขาวบาง ๆ แต่สีเหลืองอ่อนและความหนาที่เพิ่มขึ้นบริเวณโคนลิ้นนั้นก็อาจเป็นเรื่องปกติเช่นกัน

สารเคลือบลิ้นนี้แสดงถึงม้ามและกระเพาะ นอกจากนี้ยังแสดงถึงการเจ็บป่วยแบบฉับพลัน (เช่น ไข้หวัด) ตัวอย่างเช่น หากไม่มีสารเคลือบลิ้นหรือว่าสารเคลือบลิ้นลอก อาจหมายถึงการขาดธาตุหยินที่ไตซึ่งอาจเกิดร่วมกับอาการปวดหลังส่วนล่างและหูอื้อ 

คำแนะนำสำหรับการเข้ารับการวินิจฉัยจากลิ้น

นี่เป็นหัวข้อหลักที่คุณจะต้องคิดถึงอยู่เสมอหากต้องการเข้ารับการวินิจฉัยจากลิ้น

  • มีความผิดปกติบางอย่างที่ไม่ปรากฏที่ลิ้น และแพทย์แผนจีนนั้นไม่ได้วินิจฉัยจากลิ้นเพียงอย่างเดียว
  • ในกรณีส่วนมากนั้นจะตรวจลิ้นไม่เกิน 15 วินาที การตรวจนานกว่านั้นอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างและสีของลิ้นได้ (ซึ่งเป็น 2 สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัยจากลิ้น)
  • ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจ คุณจะต้องหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่อาจเปลี่ยนสีของลิ้นคุณได้ (เช่น กาแฟและอาหารที่ทำจากสีผสมอาหาร) การรับประทานวิตามินซีก็อาจเปลี่ยนสีของลิ้นคุณได้เช่นกัน
  • หากคุณมีการแปรงลิ้นเป็นประจำ ควรหยุดแปรงอย่างน้อย 1 วันเต็มก่อนเข้ารับการตรวจ

หากคุณมีอาการหรือมีปัญหาทางสุขภาพที่กำลังกังวล ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวคุณทันที การเข้ารับการรักษาตามมาตรฐานที่ช้ากว่าปกติอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tongue Assessment in Traditional Chinese Medicine (TCM). Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/tongue-diagnosis-in-traditional-chinese-medicine-3867931)
Qi deficiency: What is it and can you treat it?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321841)
Tongue Diagnosis of Traditional Chinese Medicine for Rheumatoid Arthritis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3847431/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
แผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลและหน้าที่ของแต่ละแผนก
แผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลและหน้าที่ของแต่ละแผนก

รู้จักแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาล แผนกไหนทำอะไร เพื่อตัดสินใจเข้ารับการรักษาได้ถูกต้องและตรงจุดมากที่สุด

อ่านเพิ่ม