July 06, 2019 00:47
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการย้ำคิดย้ำทำ มีสาเหตุหลักมาจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติทำให้เกิดความคิดผิดปกติ มีความวิตกกังวลมากเกินเหตุ ทั้งที่รู้ว่าสิ่งที่คิดนั้นไม่ควรจะคิด แต่หยุดคิดไม่ได้ เมื่อวิตกกังวลอย่างมากก็จะผลักดันให้เกิดพฤติกรรมซ้ำๆ เพื่อหวังที่จะลดความวิตกกังวลนั้นลง หากมีอาการต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือน และอาการทำให้รู้สึกเป็นทุกข์ใจ ควบคุมความคิดและพฤติกรรมนั้นไม่ได้จนเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน แบบนี้มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำได้สูงค่ะ
การรักษาจะมียาเพื่อช่วยลดความวิตกกังวล ร่วมกับการบำบัดปรับเปลี่ยนความคิดและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมค่ะ
ดังนั้นในกรณีนี้แนะนำพบจิตแพทย์ ปประเมินอาการอื่นๆเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมจะช่วยให้อาการดีขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (แพทย์ทั่วไป) (พญ.)
สวัสดีค่ะ จากประวัติชอบเช็คกลอนประตูว่าล็อกหรือยัง ล้างมือบ่อยเกินกว่าเหตุ เช็คข้อมูลที่กรอกอยู่ซ้ำๆ ชอบจัดเรียงจนมีผลกระทบกับชีวิต หมอคิดถึงโรคย้ำคิดย้ำทำค่ะ (Obsessive-Compulsive Disorder; OCD) โดยผู้ป่วยจะมีความคิดในเรื่องเดิม ๆซ้ำไปมา โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งเรียกว่าอาการย้ำคิด(Obsessions) เช่น กลัวเชื้อโรคมากเกินเหตุ คิดรุนแรงอยากทำร้ายร่างกาย คิดต้องห้ามเกี่ยวกับทางเพศและศาสนา คิดซ้ำๆเกี่ยวกับคำพูด ความถูกต้อง ลำดับ หรือตัวเลข เป็นต้น ส่วนพฤติกรรมที่เกิดจากความคิดซ้ำๆทำให้เกิดการกระทำซ้ำๆที่เรียกว่า อาการย้ำทำ (Compulsion) เพื่อป้องกันความไม่สบายใจที่เกิดจากความย้ำคิด เช่น ทำความสะอาดหรือล้างมือเกินเหตุ ตรวจสอบประตูบ้านหรือลูกบิดซ้ำๆ พูดซ้ำๆซึ่งมากเกินเหตุ เป็นต้น บางรายอาจทำให้มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หวาดกลัวได้ สำหรับสาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำอาจเกิดจากพันธุกรรม สารสื่อนำประสาทซีโรโทนิน (serotonin)ผิดปกติ จากสิ่งแวดล้อม เช่น มีบาดแผลในใจตอนเด็กๆ หรืออาจไม่ทราบสาเหตุ สำหรับการรักษาจะประกอบไปด้วยการทำจิตบำบัด(Psychotherapy) เพื่อให้ผู้ป่วยมีทักษะในการจัดการและลดอาการย้ำคิดย้ำ ส่วนยารักษาจะเป็นยาในกลุ่มยาคลายกังวล ยาแก้ซึมเศร้า หรือยาต้านโรคจิต นอกจากนี้ก็อาจให้หากิจกรรมผ่อนคลายบำบัด เช่น การนวดบำบัด การทำโยคะ การออกกำลังกาย เป็นต้นค่ะ ยังไงแนะนำให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการยืนยันการวินิจฉัยโรคและจะได้ทำการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
โรคย้ำคิด ย้ำทำ (OCD) เป็นหนึ่งในกลุ่มโรควิตกกังวล ซึ่งลักษณะอาการจะต้องมีในเรื่องของการย้ำคิดเรื่องบางเรื่องที่ไม่มีเหตุผลลองรับหรือการย้ำทำบางอย่าง เช่นการล้างมือ การปิดประตูบ้าน หรือการต้องเข้าไปเช็คกุญแจบ้านหลายๆครั้ง ซึ่งจากที่คุณได้เล่าอาการออกมา ก็ค่อนข้างเป็นไปในทิศทางเดียวกันนะครับ ซึ่งโรคย้ำคิด ย้ำทำตรงนี้ก็ควรที่จะเป็นสัญญาณให้คุณได้เข้ารับการปรึกษาจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยานะครับ
ในการดูแลตนเองอาจจะต้องฝืนตนเองไม่ให้ทำพฤติกรรมของเราซ้ำๆ และลองอยู่กับความไม่สบายใจตรงนั้นนะครับ นอกจากนั้นคุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความตึงเครียดและความวิตกกังวลในตัวคุณลดน้อยลงได้ การทำแบบนี้จะให้ผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการช่วยให้คุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความตึงเครียดและความแปรปรวนในตัวคุณลดน้อยลงได้ การทำแบบนี้จะให้ผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการช่วยให้คุณสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวอีกด้วยครับ สามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวอีกด้วยครับ
https://www.honestdocs.co/what-is-ocd
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
อยากทราบว่า ทำยังไงจะลดอาการย้ำคิดย้ำทำได้ บางทีก็เหนื่อยกะตัวเอง เช่น 1.ก่อนจะนอนทุกครั้ง จะเช็คกลอนประตูว่าล็อกหรือยัง เช็คเรียบร้อยปิดไฟนอนไปไม่ถึงนาที ลุกไปเช็คประตูเพื่อความมั่นใจอีกครั้งว่าล็อกดีแล้ว เป็นแบบนี้แทบทุกคืน 2.ล้างมือบ่อยมาก จับอะไรนิดหน่อยก็ล้าง มือไม่เลอะก็ล้าง 3.เวลากรอกข้อมูลอะไรก็แล้วแต่ จะเช็คว่ากรอกถูกมั้ยทีละตัวที่ละช่อง ไล่เช็คอยู่นั่นหลายรอบมาก รู้สึกเสียเวลาแต่ไม่สามารถหยุดเช็คได้จนกว่าจะมั่นใจจริงๆ 4.ชอบจัดเรียงอะไรไม่รู้ เรียงอยู่นั่น โดยเฉพาะเสื้อผ้า เรียงสี ความยาว และแขนเสื้อให้ไปในทิศทางเดียวกัน ที่หนักๆที่มีผลกระทบกับชีวิตก็ประมาณนี้ค่ะ อยากจะลดอาการนี้ลงมีวิธียังไงบ้างคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)