โรคย้ำคิด ย้ำทำ กับอาการทางสุขภาพจิตที่น่าเป็นห่วง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
โรคย้ำคิด ย้ำทำ กับอาการทางสุขภาพจิตที่น่าเป็นห่วง

โรคจิตโรคประสาท เป็นอาการเจ็บป่วยทางจิต ที่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ แม้ว่าผู้ป่วยมีสภาพร่างกายแบบคนปกติ แต่จะรู้สึกทรมานจิตใจเมื่อมีเกิดอาการแสดงขึ้น และโรคย้ำคิดย้ำทำก็เป็นหนึ่งในโรคประสาท ที่สร้างปัญหากับคนไทยในขณะนี้ไม่น้อย

อาการย้ำคิด ย้ำทำ

ผู้ป่วยจะมีความคิดในเรื่องเดิม ๆ เกิดขึ้นในจิตใจ แบบซ้ำไป ซ้ำมา ไม่จบสิ้น อย่างที่ผู้ป่วยเองก็ไม่ทราบสาเหตุ เรียกว่า ย้ำคิด ส่วนพฤติกรรมที่แสดงออกมาเนื่องจากความคิดให้เกิด การกระทำ ซ้ำ ๆ คือเรียกว่า ย้ำทำ เมื่อมีการกระทำแล้วแต่การย้ำคิดแบบเดิมจะเกิดในใจผู้ป่วยอีก ทำให้เกิดความรู้สึกทรมาน เมื่อเกิดอาการดังกล่าว บางรายจะมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล หวาดกลัว และเหนื่อยล้าจากการกระทำซ้ำๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ป่วยบางรายมีอาการกลัวในสิ่งที่ไม่น่ากลัวเป็นต้นว่า กลัวเชื้อโรค จนต้องล้างมือหลายครั้ง ๆ กลัวคนร้ายจนต้องเดินไปกดลงกลอนประตูบ่อย ๆ

อาการเหล่านี้จะส่งผลเสียด้านสุขภาพจิต แก่ผู้ป่วย กล่าวคือทุกข์ทรมานใจ คุณภาพชีวิตลดลง และเสียเวลาในการกระทำย้ำทำจนเป็นกิจวัตร

สาเหตุ

โรคย้ำคิด ย้ำทำ มีสาเหตุจากความผิดปกติของสารเคมีบางตัวในสมองชื่อ ซีโรโตนิน หลั่งออกมามากเกินไป จนทำให้เกิดอาการหวาดกลัว วิตกกังวล ในเรื่องที่ยังไม่เกิด บางรายอาจเกิดประสบการณ์ที่เลวร้ายในชีวิต จนเกิดความหวาดกลัว จนกระทั่งเกิดความคิดซ้ำ ๆ และทำซ้ำ ๆเพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นอีก

สาเหตุนอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับการเลี้ยงดูให้มีพฤติกรรมเจ้าระเบียบ ตั้งแต่เด็กจนโต จึงอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคนี้ได้

การรักษา

เนื่องจากสาเหตุของโรคย้ำคิด ย้ำทำคือความผิดปกติของสารเคมีในสมอง การรักษาที่ดีที่สุดและได้ผลดีคือ พบจิตแพทย์ เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้จิตแพทย์ฟัง เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง ของผู้ป่วยแต่ละรายตามอาการและรับยา ยาจะช่วยลดสารซีโรโตนินลง จนกระทั่งอยู่ในสภาวะสมดุลย์

วิธีการรักษายังมีพฤติกรรมบำบัด เป็นวิธีที่ใช้กันมากคือ จะให้ผู้ป่วยอยู่ในที่ที่เกิดเป็นเหตุให้เกิดอาการหวาดกลัวจนมีอาการย้ำคิดย้ำทำ จนกระทั่ง อาการหวาดกลัวดังกล่าวลดน้อยลง

ออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสารอดีนาริน ออกมากระตุ้นให้เกิดความสดชื่นลดอาการซึมเศร้า วิตกกังวลลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้อาการย้ำคิดย้ำทำลดลงตาม

อย่างไรก็ตาม อาการย้ำคิดย้ำทำลดลงได้ ผู้ป่วยจะต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับยาและพบจิตแพทย์เป็นประจำเพื่อรับคำแนะนำอย่าได้ขาด เพราะการรักษาในระยะยาวเท่านั้น จึงจะทำให้อาการของโรคนี้ทุเลาลงได้

บทความที่เกี่ยวข้อง
เมื่อไหร่ควรไปปรึกษาจิตแพทย์


23 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mental disorders. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/mental_health/management/en/)
Even minor distress puts you at risk of chronic disease. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322464)
The effects of psychological distress and its interaction with socioeconomic position on risk of developing four chronic diseases. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5959313/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป