โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

เผยแพร่ครั้งแรก 6 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)

โรคย้ำคิดย้ำทำทำให้เกิดอะไรบ้าง

โรคย้ำคิดย้ำทำนั้นทำให้สมองมีการสร้างความกังวลและความกลัวขึ้นมาซ้ำๆ และกำจัดออกไปได้ยาก

ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถหยุดคิดถึงเรื่องความกังวลดังต่อไปนี้

  • อาจมีคนป่วย ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต
  • สิ่งต่างๆ อาจจะมีเชื้อโรคหรือสกปรก
  • บางอย่างนั้นไม่ตรง ไม่เท่ากัน หรือไม่ถูกต้องเป๊ะๆ
  • บางอย่างนั้นอาจจะโชคดีหรือไม่โชคดี แย่หรือดี ปลอดภัยหรือเป็นอันตราย
  • ความคิดร้ายๆ นั้นอาจกลายเป็นจริง

โรคนี้ยังอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าต้องทำพฤติกรรมบางอย่างเพื่อให้ตัวเองรู้สึกปลอดภัยจากความกังวลและความกลัวดังกล่าว เช่น

  • ล้างมือและทำความสะอาดมากเกินไป
  • ลบหรือเขียนใหม่ หรือทำสิ่งต่างๆ ใหม่
  • พูดซ้ำๆ หรือตั้งคำถามบ่อยกว่าปกติ
  • ตรวจสอบหรือตรวจสอบซ้ำอีกครั้งว่าได้ปิดหรือล็อคบางอย่างแล้ว
  • แตะหรือเดินในวิธีที่ไม่ปกติ
  • วางสิ่งต่างๆ ในจำแหน่งที่ต้องถูกต้องเป๊ะๆ 

ผู้ป่วยโรคนี้อาจจะมีพฤติกรรมเหล่านี้ซ้ำๆ หลายๆ ครั้งซึ่งการทำพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยหยุดความคิดแย่ๆ เหล่านั้นได้ชั่วคราว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สมองจะเกิดการเรียนรู้ว่าการทำพฤติกรรมเหล่านั้นจะช่วยบรรเทาความคิดได้ ทำให้ต่อมาผู้ป่วยก็จะทำพฤติกรรมเหล่านั้นโดยอัตโนมัติและรู้สึกว่าไม่สามารถหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นได้ แต่มันจะทำให้เกิดโรคย้ำคิดย้ำทำต่อไปเรื่อยๆ

โรคนี้เกิดจากอะไร?

โรคนี้เกิดจากการมีปัญหาในระบบการส่งสารภายในสมอง ทำให้เกิดข้อมูลเกี่ยวกับความกังวลและความกลัว และอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกรุนแรงที่จะต้องทำพฤติกรรมเหล่านั้นเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกปลอดภัย

นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าอะไรทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้น แต่โรคนี้มักจะพบในผู้ที่มีประวัติครอบครัว และอาจจะได้รับผ่านพันธุกรรมหรืออาจจะเคยมีการติดเชื้อ สมองของพวกเขาอาจจะแตกต่างจากคนปกติตั้งแต่แรกก็ได้ แต่โรคนี้ไม่ได้เกิดจากสิ่งที่พวกเขา (หรือผู้ปกครอง) ทำ

ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำเป็นอย่างไร

วัยรุ่นที่เป็นโรคนี้มักจะมีอาการมาสักระยะหนึ่งก่อนที่คนรอบข้างจะเริ่มสังเกตได้ พวกเขาอาจจะรู้ว่าความกังวลและพฤติกรรมต่างๆ นั้นไม่สมเหตุสมผล อยากจะหยุดแต่รู้สึกว่าทำไม่ได้

ความกังวลและพฤติกรรมเหล่านี้จะเริ่มเพิ่มมากขึ้นและเริ่มใช้เวลาและพลังงานมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถทำการบ้านหรือมีความสุขกับเพื่อนได้ และมักทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเครียด เหนื่อยและเศร้า

ผู้ป่วยโรคนี้ไม่จำเป็นต้องเผชิญกับโรคด้วยตัวคนเดียว วิธีที่ดีที่สุดก็คือการบอกผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่เพื่อที่จะได้ไปพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วิธีการวินิจฉัยและรักษาโรคนี้

ในการวินิจฉัย แพทย์จะรู้อาการของโรคได้จากการถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น และอาจจะมีการตรวจร่างกาย หากแพทย์วินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคนี้ คุณอาจจะรู้สึกดีที่ในที่สุดก็รู้ว่าอาการเหล่านี้เกิดจากอะไร และต่อไปก็คือการเรียนรู้ที่จะเอาชนะมัน

โรคนี้สามารถดีขึ้นได้ด้วยการบำบัด แพทย์อาจจะมีการให้ยาเพื่อใช้รักษาโรคแต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะต้องได้รับยา

นักบำบัดและจิตแพทย์มักจะทำการบำบัดผ่านการพูดคุย ในระหว่างการรักษานี้ คุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับโรคมากขึ้น และรู้ว่าการที่ทำพฤติกรรมเหล่านั้นจะยิ่งทำให้โรคนั้นรุนแรงขึ้นแต่การหยุดทำนั้นจะทำให้โรคมีอาการน้อยลง คุณจะได้เรียนรู้ถึงวิธีที่จะเผชิญหน้ากับความกลัวและการไม่สนใจความกังวลที่เกิดขึ้นจากโรค รวมถึงวิธีการต่อต้านพฤติกรรมเหล่านั้น

คุณจะต้องใช้เวลาพูดคุยและฝึกฝนทักษะใหม่ๆ เหล่านี้ ซึ่งมันต้องใช้เวลาขึ้นกับแต่ละบุคคล แต่การเรียนรู้และการฝึกฝนทักษะเหล่านั้นสามารถหยุดวงโคจรของโรคได้และทำให้การส่งสารในสมองนั้นทำงานได้ดีขึ้นอีกครั้ง

ผู้ปกครองจะช่วยได้อย่างไร

หากคุณกำลังเป็นโรคนี้ ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่คนอื่นนั้นสามารถเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้

นักบำบัดจะสอนผู้ปกครองถึงวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยให้คุณหายจากโรคนี้ สมาชิกในครอบครัวอาจจะช่วยคุณฝึกทักษะต่างๆ ที่คุณได้เรียนรู้ เช่นการจัดการกับความกลัวและพฤติกรรม และสามารถช่วยเรื่องการบ้านหากคุณมีปัญหาในการทำการบ้าน พวกเขาสามารถช่วยพูดกับครูหากคุณต้องการความช่วยเหลือมากขึ้นในระหว่างที่เป็นโรค ผู้ปกครองและผู้ใหญ่ในชีวิตคุณนั้นสามารถอยู่กับคุณและให้ความรักและการสนับสนุนคุณได้ พวกเขาสามารถหันเหความสนใจของคุณอาจจะโรคโดยการทำกิจกรรมที่สนุกหรือผ่อนคลายร่วมกัน และคอยเตือนว่าโรคของคุณนั้นสามารถดีขึ้นได้เพียงแต่ต้องใช้เวลาและการฝึกฝน


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Obsessive-Compulsive Disorder Symptoms, Treatment, OCD Causes. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/obsessive_compulsive_disorder_ocd/article.htm)
Obsessive-Compulsive Disorder Symptoms in Huntington’s Disease: A Case Report. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2788954/)
OCD: Types, Symptoms, Causes, Diagnosis, Treatment, and Related Conditions. WebMD. (https://www.webmd.com/mental-health/obsessive-compulsive-disorder#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป