August 18, 2017 11:42
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
ถ้าคิดแล้วทำให้ชีวิตเแ็นทุกข์หรือทำให้การใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป หรือมีอาการผิดปกติอื่นร่วมเช่น มีปัญหาการนอน ใจสั่น กังวลจนเกินเหตุก็ควรไปพบแพทย์ แต่ถ้าสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ นอนหลับได้ อารมณ์ปกติ ทำงานได้ปกติ ก็อาจเป็นแค่ความกังวลชั่วขณะ อาจใช้วิธีเบี่ยงเบนความคิดไปทำในสิ่งอื่นให้เพลินๆจะได้ไม่หมกมุ่นกับประตู หากอาการไม่ดีขึ้น ไม่สามารถหยุดความคิดนั้นได้เลยก็ควรรักษาค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
สารินทร์ สีหมากสุก (นพ.)
สวัสดีครับ สำหรับอาการย้ำคิด เป็นความคิด ความรู้สึก แรงขับดันจากภายใน หรือจินตนาการ ที่มักผุดขึ้นมาซ้ำ ๆ โดยผู้ป่วยเองก็ทราบว่า เป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล เช่น มีความคิดซ้ำๆว่ามือตนเองสกปรก, คิดว่าลืมปิดแก๊สหรือลืมล็อคประตู, จินตนาการเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ หรือการกระทำสิ่งไม่ดีอย่างซ้ำๆ, คิดซ้ำๆ ว่าตนลบหลู่หรือด่าว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งความคิดดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวลใจ ความไม่สบายใจอย่างมาก และรู้สึกรำคาญต่อความคิดนี้ ส่วนอาการย้ำทำ (compulsion) เป็นพฤติกรรมซ้ำๆ ที่ผู้ป่วยทำขึ้น โดยเป็นการตอบสนองต่อความย้ำคิด หรือตามกฎเกณฑ์บางอย่างที่ตนกำหนดไว้ เพื่อป้องกันหรือลดความไม่สบายใจที่เกิดจากความย้ำคิด หรือป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายๆตามที่ตนหวั่นเกรง เช่น ต้องล้างมือซ้ำๆ, ตรวจสอบลูกบิดประตูหรือหัวแก๊สซ้ำๆ , พูดขอโทษซ้ำๆ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มากเกินปกติ และไม่สมเหตุสมผล ซึ่งโรคย้ำคิดย้ำทำ มักเริ่มมีอาการโดยเฉลี่ยที่อายุ 20 ปี นอกจากนี้ ยังพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่นๆได้ เช่น โรคซึมเศร้า หรืออาจมีโรคร่วมได้เช่น โรคกลัวสังคม, โรควิตกกังวลทั่วไป, โรควิตกกังวลแพนิค รวมทั้งการดื่มเหล้าจนก่อให้เกิดปัญหาได้ ซึ่งหากอาการดังกล่างส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันแนะนให้ไปปรึกษาแพทย์ดูก่อนครับ จะมียาที่ใช้ในการรักษา รวมถึงวิธีการอื่นๆ ด้วยครับ เช่น พฤติกรรมบำบดเปนต้น
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำตอบและถ้าเราเป็นอาการย้ำคิดย้ำทำแต่เป็นไม่มากโรคนี้ไม่ต้องกินยาได้ไหมค่ะและถ้าไม่กินอาการมันจะรุนแรงขึ้นไหมค่ะและโรคนี้สามรถรักษาให้หายขาดได้ไหมค่ะอย่างที่หนูเป็นกลัวประตูหนีบตอนแรกหนูก็จะย้ำคิดไปเปิดปิดประตูหลายรอบสงสัยว่าโดนได้ไงแต่ตอนนี้ก็ย้ำคิดอยู่แต่ก็ไม่ได้เดินไปเปิดปิดและค่ะพยายามทำให้มันเป็นปกติคือจะปิดเฉพาะจำเป็นเท่านั้น
เพราะก่อนหน้านี้หนูเคยเป็นย้ำคิดย้ำทำมาแล้วหมอให้กินยาและหยุดยา
มาได้2เดือนอาการเป็นปกติแต่พอมีเรื่องเครียดเข้ามารุมเร้าอีกจังหวะที่หนูโดยประตูหนีบและคิดว่ากับมาเป็นอีกไหมค่ะกลัวโรคนี้มันทรมานมากค่ะคุณหมอ
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
สารินทร์ สีหมากสุก (นพ.)
ถ้าหากว่าส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันก็อาจจะต้องรับประทานยาเพื่อรักษาอาการครับ หากอาการดีขึ้นแพทย์จะค่อยๆลดขนาดหรือหยุดยาให้ครับ ส่วนความรุนแรงนัน้ขึ้นกับแต่ละคนเลยครับ ว่าสามารถควบคุมตนเองหรือการัรกษาได้ดีแค่ไหน และโรคนี้สามารถหายขาดได้ครับ เพียงแต่มันสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ แนะนำว่าพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นทั้งหลาย ต้องลองสำรวจตัวเองครับว่าอะไรคือสิ่งกระตุ้น ไม่ต้องกังวลนะครับ หากมีเวลาว่างๆ แนะนำไปพบกับจิตแพทย์เหมือนเดิมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ขอบคุณมากๆเลยค่ะคุณหมอ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
กลัวประตูหนีบนิ้วเท้าค่ะเพราะก่อนหน้านี้โดนหนีบเท้ามาอย่างแรงอาการแบบนี้ใช่อาการย้ำคิดย้ำทำป่าวค่ะคิดทั้งวันว่าหนีบได้ยังไงบางทีลองปิดเปิดประตูดูก็ไม่หนีบแต่จะคอยระวังตอนปิดประตูมากขึ้น กลัวโดนอีกค่ะเป็นมา4วันแล้วผิดปกติต้องไปหาหมอเอายากินไหมค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)