April 02, 2017 15:20
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
อาการแบบนี้คือความผิดปกติทางอารมณ์ค่ะ ลองสำรวจตัวเองดูนะคะ ว่ามีอาการนี้มาจากอะไร และมีอาการมานานหรือยัง..
สำรวจดูว่ามีอาการเหล่านี้บ่อยแค่ไหน ภายใน15วันที่ผ่านมา เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไรเลย, ท้อแท้อยากร้องไห้ , เบื่ออาหาร /กินได้มากเกินปกติ ,หลับไม่สนิท หลับๆตื่นๆ หลับมากเกินไป , ปวดตึงกล้ามเนื้อ หลัง ไหล่ ศีรษะ , รู้สึกไร้ค่า เป็นภาระคนรอบข้าง, ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อ ,คิดอยากตาย/คิดจะทำร้ายตัวเอง ถ้ามีอาการเกือบทุกวัน ควรไปพบจิตแพทย์ค่ะ
ระหว่างนี้ก็จัดการตัวเองโดยการ นอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารมีประโยชน์ ยิ้ม หัวเราะบ่อยๆ หลีกหนีจากสิ่งที่ทำให้หงุดหงิดรำคาญ ออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ ค่ะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ชยากร พงษ์พยัคเลิศ (นพ.)
ต้องระวังกลุ่มอาการโรคซึมเศร้านะครับ
โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder: MDD) มีอาการสำคัญ คือ อารมณ์เศร้า ผู้ป่วยจะซึมเศร้าหดหู่ สะเทือนใจ ร้องไห้ง่าย ในผู้ป่วยไทยอาจไม่บอกว่าเศร้า แต่จะบอกว่ารู้สึกเบื่อหน่ายไปหมด จิตใจไม่สดชื่นเหมือนเดิม อารมณ์เศร้าหรือเบื่อหน่ายนี้จะเป็นเกือบทั้งวัน และเป็นติดต่อกันเกือบทุกวันนานหว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป อารมณ์หงุดหงิดพบได้บ่อยเช่นกัน ผู้ป่วยรู้สึกทนเสียงดังหรือมีคนรบกวนไม่ได้ มักอยากอยู่คนเดียวเงียบๆ
มีอาการภดถอยทางด้านอารมณ์ ได้แก่ เชื่องช้า เฉื่อยชาลง พูดน้อย คิดนาน ซึม อยู่เฉยๆ ได้นานๆ ผู้ป่วยบางคนอาจมี psychomotor agitation ได้แก่ กระสับกระส่าย อยู่เฉยไม่ได้ นั่งได้สักครู่ก็ต้องลุกเดินไปมา พบบ่อยในผู้ป่วยช่วงวัยต่อ
พบบ่อยว่าสมาธิของผู้ป่วยเสื่อมลงจากเดิม เหม่อลอย หลงลืมง่าย ความคิดอ่านเชื่องช้าลง ลังเล ตัดสินใจไม่แน่นอน ไม่มั่นใจตัวเอง ผู้ป่วยจะมองโลกภายนอก มองชีวิตของตนเองในแง่ลบ รู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า ไม่มีความหมายต่อใคร บางคนมีความรู้สึกผิดหรือกล่าวโทษตำหนิตนเองต่อสิ่งที่ได้กระทำลงไป แม้เป็นการกระทำที่ผู้อื่นเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย
ความคิดอยากตายพบได้ถึงร้อยละ 60 และพบฆ่าตัวตายร้อยละ 15 ในช่วงแรกผู้ป่วยอาจแค่รู้สึกเบื่อชีวิตไม่ทราบจะมีชีวิตอยู่ต่อไปทำไม เมื่ออาการเป็นมากขึ้นจะรู้สึกอยากตาย อยากวิ่งให้รถชน ต่อมาจะคิดถึงการฆ่าตัวตาย เริ่มมีการคิดถึงวิธีการ มีการวางแผน จนถึงการกระทำการฆ่าตัวตายในที่สุด
ในผู้ป่วยไทยพบไม่น้อยที่มาหาแพทย์ด้วยอาการทางร่างกายมีอาการเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย ปวดเรื้อรังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อซักประวัติเพิ่มเติมจะพบว่ามีอาการอื่นๆ ของโรคซึมเศร้าร่วมด้วย
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
หงุดหงิดเบื่อไปหมดไม่อยากคุยกับไครบางทีอยากร้องไห้ตัวร้อนวูบวาบๆจนรู้สึกได้ ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับการเลิกยาด้วยหรือเปล่านะคะ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
มีอาการหงุดหงิด ไม่อยากคุยกะใครค่ะ บางทีก็อยากร้องไห้ มีวิธีแก้ไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)