August 07, 2019 19:31
ตอบโดย
Shintai Thavonlun (นพ.)
อาจเป็นอาการของภาวะซึมเศร้าได้ครับ
เบื้องต้นแนะนำให้ หาเวลาออกกำลังกาย เช่น วิ่ง เต้นแอโรบิค, ดูภาพยนตร์ตลกหรืออ่านหนังสือการ์ตูนตลก, ระบายผ่อนคลายความเครียดบ้าง เช่น ตะโกน เขียนระบายความรู้สึก, พูดคุยกับคนที่ไว้ใจ จะทำให้ลดความเครียด ความกังวลได้ครับ และสุดท้ายคือ มองโลกในแง่ดี คิดว่าทุกปัญหามีทางแก้ครับ ส่วนโทรปรึกษาเบื้องต้นจะมีสายด่วนสุขภาพจิต โทร. 1323 ได้ครับ
โดยแบบประเมินโรคซึมเศร้ามีดังนี้ครับ
จะมีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการขึ้นไป โดยอาการมีดังนี้
1. อารมณ์ซึมเศร้า (เด็กและวัยรุ่นอาจจะเป็นอารมณ์หงุดหงิดแทนได้ครับ)
2. มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงมาก
3. นํ้าหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (โดยเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากขึ้น
4. กระวนกระวาย หรือดูเชื่องช้าลง
5.นอนไม่หลับ/หลับมากไป
6. อ่อนเพลีย ไม่มีแรงแรง
7. มีสมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจ
8.รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
9. มีความคิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย
จะต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ และมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป และควรมีอาการเหล่านี้แทบจะตลอดเวลาครับ
ดีที่สุดน่าจะไปพบแพทย์เฉพาะทาง ทางด้านจิตใจ(จิตแพทย์)โดยเฉพาะครับ เพราะจะได้วินิจฉัยแยกโรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายกัน เช่น ภาวะเศร้าการปรับตัวไม่ได้จากปัญหาที่มากระทบจิตใจ หรือ ภาวะวิตกกังวลครับ และคุณหมอจิตแพทย์จะชำนาญในการรักษาและให้ยา อีกทั้งจะได้ให้คำแนะนำและติดตามอาการครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การร้องไห้บ่อย มีการทำร้ายตัวเอง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุนะคะ ได้แก่
1.การมีความเครียดความกดดัน แล้วไม่สามารถจัดการกับความเครียดนั้นได้
2.มีปัญหาทางด้านบุคลิกภาพและการปรับตัว ขาดทักษะในการจัดการปัญหา
3.จากภาวะซึมเศร้า
ในกรณีที่มีอารมณ์เศร้า โดยที่ไม่มีสาเหตุ อาจต้องพึงระวังเรื่องของภาวะซึมเศร้าด้วยนะคะ
ซึมเศร้ามีสาเหตุหลักจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ ทำให้การรับรู้ ความคิด การแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไปจากเดิม หากเจอปัญหาหรือมีเหตุการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ จะทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
อาการของโรคซึมเศร้า จะมีอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 7 ข้อ ต่อเนื่องเกือบทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย
4.นอนไม่หลับ/หลับมากเกินปกติ
5.เบื่ออาหาร/ทานได้เยอะกว่าปกติ
6.ขาดสมาธิ
7.หงุดหงิดง่าย
8.ขี้น้อยใจ รู้สึกไร้ค่า
9.อยากตาย /อยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเข้าข่ายซึมเศร้าควรพบจิตแพทย์ทันที ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
การรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลดี คือการรักษาด้วยยา ยาจะช่วยปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ทำให้ควบคุมความคิดอารมณ์และพฤติกรรมต่างๆได้เหมาะสม ร่วมกับการทำจิตบำบัด จะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจทำให้ปรับตัวต่อปัญหาต่างๆได้ดีขึ้นค่ะ
ในระหว่างทำการรักษา ควรทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ งดสารเสพติดทุกชนิด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งจะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
จากที่เล่ามาช่วงนี้ค่อนข้างรู้สึกเปราะบาง และมีความเศร้าเข้ามาพอสมควรใช่ไหมครับ การรับมือกับเรื่องที่ไม่ถูกใจทำได้ไม่ค่อยดี อาการใจเต็นเร็วหรือว่ามวนท้องนี้สามารถเป็นผลมาจากความเครียดและความรู้สึกเศร้าที่เกิดขึ้นได้ครับ ในเบื้องต้นอาจจะลองทบทวนตนเองดูว่าอะไรเป็นสิ่งที่เราไม่พอใจในชีวิต พูดคุยกับครอบครัวหรือคนที่เราไว้ใจ นอกจากนั้นการเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและการช่วยเหลือที่เหมาะสมก็เป็นทางเลือกที่สามารถทำได้นะครับ
นอกจากการเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญแล้ว การหันกลับมาดูแลตนเองให้มากขึ้นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยคุณสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาให้ตนเองรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือสนุกผ่อนคลาย และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเศร้าลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งจะเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของอารมณ์ที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ และหากมีคำถามอืนๆก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
1.หนูเป็นคนที่ร้องไห้ง่ายมาก อะไรนิดอะไรหน่อยก็ร้อง อะไรไม่ได้ดั่งใจก็ร้อง บางทีอยู่เฉยๆก็อยากจะร้องไห้ 2.บางครั้งก็มีอาการใจเต้นเร็ว มวนท้อง แล้วก็จะร้องไห้ บางครั้งรุนแรกถึงทำร้ายตัวเอง หนูเป็นอะไรหรอคะ?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)