July 04, 2019 14:54
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
จากอาการตามที่เล่ามานั้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นอาการของโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ในกรณีนี้หมอแนะนำว่าควรไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการเพิ่มเติมยืนยันสาเหตุให้แน่ชัดก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาได้อย่างเหมาะสมครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
จากอาการอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นอาการของซึมเศร้าก็เป็นไปได้นะคะ
ซึมเศร้ามีสาเหตุหลักมาจากสารเคมีในสมองหลั่งผิดปกติ และหากต้องเจอกับปัญหาต่างๆในชีวิตก็จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น
อาการของโรคซึมเศร้า จะต้องมีอาการต่อไปนี้ อย่างน้อย 7 ข้อ และมีอาการเกือบทุกวัน นานเกิน 2 สัปดาห์
1.เบื่อหน่าย ไม่มีความสุข
2.ท้อแท้ เศร้า
3.อ่อนเพลีย
4.ขาดสมาธิ
5.มีปัญหาการนอนหลับ
6.มีปัญหาการกิน
7.หงุดหงิด กระสับกระส่าย
8.รู้สึกไร้ค่า ขี้น้อยใจ
9.อยากตาย หรืออยากทำร้ายตัวเอง
หากมีอาการเข้าข่ายควรไปพบจิตแพทย์นะคะ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ในกรณีที่คนในครอบครัวไม่เข้าใจ หนูสามารถไปพบจิตแพทย์ได้ด้วยตัวเองนะคะ
วิธีการรักษาซ฿มเศร้าที่ได้ผลดีคือ การรักษาด้วยยาร่วมกับการทำจิตบำบัด ยาจะปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ช่วยให้ควบคุมความคิด อารมณ์ พฤติกรรมต่างๆได้ดีขึ้น และการทำจิตบำบัดจะช่วยให้ปรับตัวกับปัญหาต่างๆได้เหมาะสมมากขึ้นค่ะ
ในระหว่างทำการรักษาควรทานยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นให้ไปพบแพทยืก่อนนัดทันที นอกจากนั้นควรพักผ่อนให้เพียงพอ หมั่นออกกำลังกาย งดสารเสพติดทุกชนิด และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง จะช่วยให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้นนะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
อยากจะทราบนะครับว่าอะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้หนูมีอาการแบบนี้ เพราะว่าจากที่เล่ามาดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องของภาวะโรคซึมเศร้าเข้ามาอยู่ ซึ่งการอยากทานอาหารที่ลดน้อยลง หรือการนอนหลับพักผ่อนที่น้อยลงนี้ ก็เป็นตัวบ่งชี้ที่ค่อนข้างชัดเจนในประเด็นดังกล่าว หากรู้สึกว่าอยากจะลองเรียนรู้ในเรื่องภาวะโรคซึมเศร้ามากขึ้นสามารถอ่านได้ที่บทความด้านล่างนี้ได้เลยครับ
https://www.honestdocs.co/most-common-psychiatric-disorders
ซึ่งอย่างที่คุณหมอและพี่นักจิตวิทยาได้แจ้งไว้ว่าหากมีอาการที่บ่งชี้ในเรื่องของโรคซึมเศร้ามากกว่า 2 สัปดาห์ ก็ควรที่จะเข้าพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการประเมินและการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปครับ สำหรับผมอาจจะเสนอเพิ่มเติมว่าการให้คุณพ่อคุณแม่เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการพาไปหาหมอ หรือค่าใช้จ่ายและอื่นๆ จะเป็นสิ่งที่น่าจะช่วยให้หนูรู้สึกว่าไม่ได้ต่อสู้อยู่กับภาวะตรงนี้เพียงลำพัง แต่หากรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะพูดคุยกับคุณพ่อ คุณแม่ได้เลย ลองปรึกษาครูที่โรงเรียนหรือเพื่อนสนิทที่เราไว้ใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ดูได้ครับ สิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกหนูไว้ก็คือ อายุอาจะไม่เกี่ยวกับเรื่องของภาวะโรคซึมเศร้าดังนั้นอาจจะต้องลองพูดคุยกับคุณพ่อและคุณแม่อยากจริงจังเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นกับเรานะครับ
นอกจากการเข้าพบผู้เชี่ยวชาญแล้ว หนูสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความรู้สึกเศร้าหรือความกดดันนี้ลดน้อยลงได้ คล้ายๆกับการพักฟื้นให้สภาพจิตใจของตนเองค่อยๆมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการดูแลตนเองควบคู่กันไปด้วยกับการรับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต จะเป็นการช่วยให้หนูสามารถรับมือกับเรื่องต่างๆที่เข้ามาในชีวิตได้ในระยะยาวอีกด้วยครับ
สุดท้ายนี้หากรู้สึกว่าต้องการจะพูดคุยกับใครซักคนหนึ่งในเรื่องของความเศร้าหรือความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หนูจะสามารถโทรเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ได้ซึ่ง ข้อเสียคืออาจจะต้องมีการรอสายที่นานในบางช่วงเวลาครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เครียดค่ะ เวลามีอะไรชอบโทษตัวเอง ต้องเถียงกับเสียงในหัวจลอด บางครั้งก็กดดันมากจนอยากจะหายๆไปจากโลกนี้ กินข้าวน้อยลงแล้วก็นอนไม่ค่อยหลับ รู้สึกเบื่อกับการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่อยากออหไปพบใครเลย อยากอยู่คนเดียว ไม่กล้าบอกพ่อแม่ค่ะ เพราะพ่อแม่มองว่าเป็นเรื่องไร้สาระ อายุแค่14ปี มีอาการแบบนี้มานาน จะส่งผลอะไรไหมคะ?
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)