May 03, 2019 12:18
ตอบโดย
กันตณัฏฐ์
อยู่ตรีรักษ์ (แพทย์ทั่วไป)
(นพ.)
General physician
สวัสดีครับ
อารมณ์เศร้านั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เป็นปกติเมื่อมีความเครียด แต่ถ้าหากอารมณ์เศร้าเป็นติดต่อกันนานเกินไปหรือมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านต่างๆก็อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าได้ครับ
อาการของโรคซึมเศร้านั้นจะประกอบด้วยการมีอารมณ์เศร้าหดหู่หรือเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไรต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ร่วมกับมีอาการ
- นอนไม่หลับหรืออยากนอนมากขึ้น
- เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากขึ้น
- อ่อนเพลียไม่มีแรง
- ไม่มีสมาธิ ความคิด ความจำแย่ลง
- คิดช้าทำช้าลงหรือกระสับกระส่ายมากขึ้น
- มีความคิดในแง่ลบ คิดโทษตัวเองบ่อยๆ หรือเห็นคุณค่าในตนเองลดลง
- เคยคิดหรือลงมือทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย
ถ้าหากมีอาการในลักษณะนี้หลายๆข้อ ร่วมกับอาการที่เป็นส่งผลรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก็จะมีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้นครับ
ในเบื้องต้นนั้นอาจลองทำแบบทดสอบตามลิงค์นี้เพื่อประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วยตนเองก่อนได้ครับ
http://www.prdmh.com/แบบประเมินโรคซึมเศร้า-9-คำถาม-9q.html
ถ้าหากทำได้ตั้งแต่ 7 คะแนนขึ้นไปก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากขึ้น
ถ้าหากรู้สึกว่าอารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้นเป็นมากเกินไป หมอก็แนะนำให้ไปพบจิตแพทย์เพื่อตรวจประเมินอาการก่อน เพื่อที่จะได้ให้การรักษาหรือความช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไปครับ
ในระหว่างนี้หมอแนะนำให้พยายามหากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ หาเพื่อนมาพูดคุยด้วยบ้างก็จะมีส่วนช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้บ้างครับ
และถ้าหากต้องการคำปรึกษาในเบื้องต้นเพิ่มเติมก่อนไปพบแพทย์ก็สามารถโทรไปที่สายด่วนสุขภาพจิตเบอร์ 1323 ได้อีก 1 ช่องทางครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตอบโดย
ศิรินทิพย์ ผอมน้อย (นักจิตวิทยาคลินิก)
การมีความเครียดความกดดันสะสมนานๆ และไม่สามารถจัดการกับความเครียดนั้นได้ด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้นะคะ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า ดังนั้นในกรณีที่อาการไม่รุนแรงมากแนะนำให้หาที่ปรึกษาพูดคุยระบายความรู้สึก หรือ ออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย แต่หากมีอาการรุนแรง ได้แก่ เบื่อหน่าย ท้อแท้ เศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ หรือ อยากนอนทั้งวัน เบื่ออาหาร หรือทานได้มากเกินปกติ รู้สึกไร้ค่า อยากตาย/อยากทำร้ายตัวเอง โดยมีอาการเกิน 7 อาการ และมีอาการต่อเนื่องนานเกิน 2 สัปดาห์ แบบนี้อาจบ่งถึงอาการของโรคซึมเศร้า ซึ่งควรพบจิตแพทย์ ประเมินอาการเพิ่มเติม วินิจฉัยโรคให้แน่ชัด แล้วรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม วิธีการรักษามีทั้งการใช้ยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมอง ช่วยให้ควบคุมความคิด อารมณ์และพฤติกรรมได้ดีขึ้น ร่วมกับการทำจิตบำบัดเพื่อช่วยให้ปรับตัวกับปัยหาได้เหมาะสม และสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นปกตินะคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ตอบโดย
ฉัตรดนัย
ศรชัย
(นักจิตวิทยาการปรึกษา)
Rehabilitation in Mental Health & Addiction
สวัสดีครับ
ความเครียดในเรื่องการเรียนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับเด็กในวัยเรียนโดยทั่วไป แต่สิ่งที่สำคัญก็คือความเครียดเหล่านี้ควรถูกจัดการอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนของแต่ละบุคคล ซึ่งจากที่หนูเล่ามาเล็กน้อยก็จะพบว่าคุณแม่ค่อนข้างกดดันและเป็นคนที่ทำให้หนูเครียด
ดังนั้นส่งสำคัญนอกจากการพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาก็คือการลองพูดคุยกับคุณแม่ในสิ่งที่เกิดขึ้นและพยายามให้ท่านยอมรับในความต้องกาหรือรูปแบบของหนู อย่างน้อยๆอาจจะต้องทำให้เขาตระหนักว่าคำพูดบางอย่างของเขาเองที่เป็นตัวทำร้ายจิตใจของเรา อย่างไรก็ตามวิธีการพูดคุยาอจจะแตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะของแต่ละครอบครัว
นอกจากนั้น หนูสามารถลองทำกิจกรรมที่เคยสนใจหรือทำแล้วรู้สึกว่าทำให้ผ่อนคลายหรือทำให้รู้สึกดีขึ้นได้บ้าง หาเวลาที่ตนเองจะรู้สึกสงบ รู้สึกดี หรือรู้สึกสนุกผ่อนคลายให้ และแบ่งเวลาไปอยู่กับสิ่งๆนั่นครับ นอกจากนั้นอาจจะลองมองดูกิจกรรมที่สามารถทำเป็นประจำได้เช่น การออกกำลังกาย การฟังเพลง หรือการทำงานอดิเรกบางอย่าง ทานอาหารให้ครบหมู่ ออกไปทานของอร่อยๆบ้าง ซึ่งตรงนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้ความเครียดสะสมลดลง และอารมณ์ของหนูมั่นอาจจะมั่งคงมากขึ้น
สุดท้ายนี้หากมีคำถามเพิ่มเติมก็สามารถสอบถามเข้ามาได้นะครับ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต คำตอบของแพทย์เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา คุณควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อให้แพทย์ตรวจทุกครั้ง หากคุณมีเหตุฉุกเฉินกรุณาโทรแจ้ง 1669
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท ลดสูงสุด 35%!!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ตอนนี้อายุ 18 ค่ะ แต่เครียดเรื่องเรียนแม่พูดอะไรหนูก็ร้องไห้ รู้สึกกดดัน ควรทำอย่างไรหรือมียาอะไรแนะนำไหมคะ
ตอบโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรคหรือการรักษา คุณควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการน่ากังวล)